นารถ ถาวรบุตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นารถ ถาวรบุตร
เกิด16 ตุลาคม พ.ศ. 2448
นารถ ถาวรบุตร
เสียชีวิต26 มกราคม พ.ศ. 2524 (อายุ 75 ปี)
กรุงเทพมหานคร
อาชีพนักดนตรี นักแต่งเพลง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2468 -

นารถ ถาวรบุตร (16 ตุลาคม พ.ศ. 2448 - 26 มกราคม พ.ศ. 2524) นักดนตรี และนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะเพลงที่แต่งคู่กับครูแก้ว อัจฉริยกุล

ประวัติ[แก้]

วัยต้น[แก้]

เกิดที่จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของนายจู และนางเอี่ยม ถาวรบุตร เข้าเป็นนักเรียนประจำที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนจนถึงชั้นมัธยม 8 ในระหว่างนั้นได้เรียนเปียโนและอ่านโน้ตเพลง จากครูชาวต่างชาติชื่อ มิสแอนนาเบล คอลส์ (แหม่มกอ) เมื่ออายุ 18 ปี ได้ออกจากโรงเรียนไปเป็นนักดนตรีตามบาร์ฝรั่งแถบถนนเจริญกรุง ถนนสีลม ถนนสาทร

วัยหนุ่ม[แก้]

พ.ศ. 2468 เมื่ออายุ 20 ปี ได้เข้าเป็นนักดนตรีวงเครื่องสายฝรั่งหลวงของพระเจนดุริยางค์ แล้วสมัครเข้าทำงานที่โรงเรียนพลตำรวจ พร้อมกับเล่นดนตรีตอนกลางคืน และแต่งเพลงให้กับละครร้อง คณะละครปรีดาลัย ของพระนางเธอลักษมีลาวัณ

พ.ศ. 2478 ได้เป็นหัวหน้าวงดนตรีของภาพยนตร์เสียงศรีกรุง กับแต่งเพลงประกอบหนังพูดไว้จำนวนมาก เช่น "ข้างบ้านเรือนเคียง" "เพลินเพลงรัก" "ฉันฝันไป" "เธอกับฉันคือเพลง" "ใจสนองใจ" "หนึ่งทิวา" "เธอใกล้หรือไกล" เพลงหนึ่งที่มีชื่อเสียง คือ สยามานุสติ นำพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มาใส่ทำนองประกอบเรื่อง "ค่ายบางระจัน " ของศรีกรุง พ.ศ. 2482

วัยกลางคน[แก้]

ต่อมา สมัครเข้ารับราชการกรมโฆษณาการในปี พ.ศ. 2484 เป็นนักแต่งเพลงให้กับวงดนตรีกรมโฆษณาการ ที่มีครูเอื้อ สุนทรสนานเป็นหัวหน้าวง แต่เกิดข้อขัดแย้งกันจึงลาออกไปเป็นหัวหน้าวงดนตรีของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

วัยเกษียน[แก้]

พ.ศ. 2495 เป็นหัวหน้าวงดนตรีของโรงงานยาสูบ จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2508 จากนั้นเป็นครูสอนดนตรี และแต่งเพลงให้กับโรงเรียนเซนต์จอห์น จนเสียชีวิต เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2524

ผลงานเด่น[แก้]

  • ทำนองเพลงประกอบภาพยนตร์เสียงศรีกรุง หลายเรื่อง พ.ศ. 2478-2482 เช่น "ฉันหาหวานใจ" "พบเธอแล้ว" "ความรักของฉัน" "ใจสนองใจ" "ชื่นชีวิต" "แสนอาลัย" ฯลฯ[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. แผ่นเสียงครั่งเพลงภาพยนตร์ ตราศรีกรุง
  • ไพบูลย์ สำราญภูติ. เพลงลูกกรุง, TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, พ.ศ. 2550. 168 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-8218-82-3