ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ
[[File:‎|frameless|upright=1]]
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 มีนาคม พ.ศ. 2513 (54 ปี)
อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2554—2561)
พลังประชารัฐ (2561—2565)
ภูมิใจไทย (2565—ปัจจุบัน)
คู่สมรสลดาพิมพ์ โพธิพิพิธธนากร

ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ (ชื่อเดิม พินิจ โพธิพิพิธ)[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคพลังประชารัฐ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตเลขาธิการสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้าน จังหวัดกาญจนบุรี

ประวัติ[แก้]

ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ เกิดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2513 เป็นบุตรของนายประชา โพธิพิพิธ[2] (กำนันเซี้ยะ) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี กับนางทวี โพธิพิพิธ และเป็นน้องชายของ นายอัฏฐพล โพธิพิพิธ

ธรรมวิชญ์ เข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเทคนิคตลิ่งชันพณิชยการ กรุงเทพมหานคร จากนั้นได้เข้าศึกษาจนสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

งานการเมือง[แก้]

ธรรมวิชญ์ หรือ ผู้ใหญ่แหลม เริ่มต้นงานการเมืองท้องถิ่น โดยการเป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 14 บ้านตะคร่ำเอน ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะคร่ำเอน ในปี พ.ศ. 2542 เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านจังหวัดกาญจนบุรี ในระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542 และเคยเป็นกรรมการพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล (ก.อบต.) จังหวัดกาญจนบุรี

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 นายธรรมวิชญ์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[3][4] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก

ในปี พ.ศ. 2561 เขาและนายอัฏฐพล โพธิพิพิธ ได้ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ[5] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ nacc
  2. "42 ตระกูล 89 คน"ยกครัว"เข้าสภาฯ พ่อแม่ลูก-พี่น้อง-ผัวเมีย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-06. สืบค้นเมื่อ 2012-01-26.
  3. เผยโฉมหน้า 125 ปาร์ตี้ลิสต์ปชป. เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก ข่าวสด
  4. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  5. พลังประชารัฐ ดูดลูกชายกำนันเซี้ยะ ประชาธิปัตย์อ่วม 'เสียอีก2'
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔