ทะเลสาบโลนาร์

พิกัด: 19°58′30″N 76°30′27″E / 19.97500°N 76.50750°E / 19.97500; 76.50750
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทะเลสาบโลนาร์
ทะเลสาบโลนาร์
ทะเลสาบโลนาร์ตั้งอยู่ในรัฐมหาราษฏระ
ทะเลสาบโลนาร์
ทะเลสาบโลนาร์
ทะเลสาบโลนาร์ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
ทะเลสาบโลนาร์
ทะเลสาบโลนาร์
ที่ตั้งอำเภอพุลธนา รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย
พิกัด19°58′30″N 76°30′27″E / 19.97500°N 76.50750°E / 19.97500; 76.50750
ชนิดทะเลสาบหลุมอุกกาบาต, น้ำเกลือ
ประเทศในลุ่มน้ำประเทศอินเดีย
ช่วงยาวที่สุด1,830 เมตร (6,000 ฟุต)
พื้นที่พื้นน้ำ1.13 ตารางกิโลเมตร (0.44 ตารางไมล์)
ความลึกโดยเฉลี่ย137 เมตร (449 ฟุต)
ความลึกสูงสุด150 เมตร (490 ฟุต)
เวลาพักน้ำIST
อ้างอิงearthobservatory.nasa.gov/images/8654/lonar-crater-india
ขึ้นเมื่อ22 กรกฎาคม 2020
เลขอ้างอิง2441[1]

ทะเลสาบโลนาร์ (อังกฤษ: Lonar Lake) หรือ หลุมอุกกาบาตโลนาร์ เป็นทะเลสาบน้ำเค็มและแอลคาไลน์ตั้งอยู่ในหมู่บ้านโลนาร์ อำเภอพุลธนา รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย และเป็นแหล่งมรดกทางภูมิศาสตร์แห่งชาติ[2][3][4] ทะเลสาบโลนาร์เกิดขึ้นจากอุกกาบาตที่ตกลงมาเกิดเป็นหลุมบนพื้นโลกในสมัยไพลสโตซีน[5][6] เป็นหนึ่งในสี่หลุมอุกกาบาตที่เกิดจากการพุ่งชนความเร็วสูงพิเศษและชนิดหินบะซอลต์ทั่วโลกที่เป็นที่ค้นพบแล้ว อีกสามแห่งที่เหลืออยู่ในประเทศบราซิลตอนใต้[7] เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของทะเลสาบอยู่ที่ 1.2 กิโลเมตร (3,900 ฟุต) ขอบหลุมอุกกาบาตมีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 1.8 กิโลเมตร (5,900 ฟุต) โดยเฉลี่ย[8] ทะเลสาบโลนาร์ถือเป็นหลุมจากอุกกาบาตแห่งเดียวที่ค้นพบในเขตเดกกันแทรปส์ พื้นที่หินบะซอลต์ภูเขาไฟของอินเดีย[9]

สถาบันสมิธโซเนียน, กรมสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ, สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งอินเดีย, มหาวิทยาลัยสาคร และฟิซิเคิลรีเสิร์ชแลบอราทอรี (อะห์มดาบาด) ล้วนเคยทำการวิจัยอย่างละเอียดเกี่ยวกับทะเลสาบแห่งนี้[10][11] ในปี 2007 มีการค้นพบการตรึงไนโตรเจนภายในทะเลสาบ[12]

ในงานวิจัยปี 2019 ของไอไอทีบอมเบย์พบว่าแร่ธาตุที่พบในน้ำของทะเลสาบมีความใกล้เคียงกันมากกับหินดวงจันทร์ที่นำกลับมาในระหว่างโครงการอะพอลโล[13] ในปี 2020 ทะเลสาบได้รับการคุ้มครองเป็นแหล่งแรมซาร์[14]

นอกจากนี้ บริเวณโดยรอบของทะเลสาบยังเป็นที่ตั้งของศาสนสถานจำนวนหนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นซากปรักหักพัง ในบรรดาศาสนสถานมีไทตยสุทันมนเทียร (Daitya Sudan temple) ซึ่งยังคงใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน เป็นมนเทียรสร้างขึ้นเพื่อเถลิงเกียรติพระวิษณุซึ่งมีชัยต่ออสูรขื่อ โลนาสูร (Lonasur) สร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมฮินดูยุคแรก[15] อายุราวราชวงศ์จาลุกยะ และจัดเป็นมนเทียรระดับเหมัทปันฐิ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Lonar Lake". Ramsar Sites Information Service. สืบค้นเมื่อ 14 November 2020.
  2. "National Geological Monument, from Geological Survey of India website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2017. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
  3. "Geo-Heritage Sites". pib.nic.in.
  4. national geo-heritage of India เก็บถาวร 2017-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, INTACH
  5. "Geology". Government of Maharashtra. Gazetteers Department. สืบค้นเมื่อ 8 September 2008.
  6. "Lonar Lake, Buldana District, Maharashtra". Geological Survey of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2009. สืบค้นเมื่อ 8 September 2008.
  7. Crósta, A.P.; Reimold, W.U.; Vasconcelos, M.A.R.; Hauser, N.; Oliveira, G.J.G.; Maziviero, M.V.; Góes, A.M. (April 2019). "Impact cratering: The South American record – Part 1". Geochemistry. 79 (1): 1–61. Bibcode:2019ChEG...79....1C. doi:10.1016/j.chemer.2018.06.001.
  8. Deshpande, Rashmi (3 December 2014). "The Meteor Mystery Behind Lonar Lake". National Geographic Traveller Idia. National Geographic Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2015. สืบค้นเมื่อ 27 July 2015.
  9. Pittarello, L., A. P. Crosta, C. Kazzuo-Vieira, C. Koeberl, and T. Kenkmann (2010) Geology and impact features of Vargeao Dome, southern Brazil. Meteoritics & Planetary Science. vol. 47, no. 1, pp. 51–71.
  10. "Lonar". The Planetary and Space Science Center. University of New Brunswick. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 8 September 2008.
  11. Babar, Rohit. "Lonar, A Gem of Craters". Office of Space Science Education. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-05-19. สืบค้นเมื่อ 8 September 2008.
  12. Avinash A. Raut and Shyam S. Bajekal; Nitrogen Fixing Bacteria from Hypervelocity meteorite impact Lonar Crater; in Special Issue of Research Journal of Biotechnology; December 2008 and Avinash A. Raut and Shyam S. Bajekal; Nitrogen Fixing Actinomycetes from Saline Alkaline Environment of Lonar Lake: A Meteorite Impact Crater, in Journal of Environmental Research and Development, Vol. 3, No. 3, January–March 2009.
  13. "Mineral contents of Buldhana's Lonar lake similar to moon rocks: IIT-Bombay study". Hindustan Times. สืบค้นเมื่อ 25 March 2019.
  14. Vivek Deshpande (13 November 2020). "Lonar's meteor lake declared Ramsar site". The Indian Express.
  15. [1] Central Provinces Buldana district Gazetteer

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]