ตำรวจรถไฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตำรวจรถไฟ (อังกฤษ: Railway police , Railroad police) เป็นกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่ตรวจตราความเรียบร้อย, ความปลอดภัย และทรัพย์สินส่วนบุคคลในบริเวณสถานีรถไฟ รวมถึงทรัพย์สินภายในตู้บรรทุกของรถไฟ ตำรวจรถไฟมีอำนาจเต็มในการรักษาความปลอดภัยภายในสถานีรถไฟ ซึ่งในส่วนนี้ก็ต้องเป็นไปตามแต่ละประเทศ ในบางประเทศตำรวจรถไฟไม่ได้มีหน้าที่โดดเด่นกว่าตำรวจท้องที่ โดยตำรวจรถไฟจะมีหน้าที่เหมือนตำรวจรักษาความปลอดภัยทั่วไป แต่บางแห่งตำรวจรถไฟได้รับอำนาจเต็มในการรักษาความปลอดภัยมากกว่าตำรวจหน่วยอื่น ๆ

ในสหรัฐ และประเทศแคนาดา ตำรวจรถไฟจะมีหน้าที่ดูแลในส่วนของรถไฟชั้นที่หนึ่ง จนถึงระดับที่ลดลงตามลำดับชั้น ในบางประเทศหน่วยงานนี้จะเป็นลักษณะกองกำลังตำรวจภาคพื้นดินมากกว่าที่จะแยกตัวเป็นหน่วยงานอิสระ ในสหราชอาณาจักร อำนาจในการรักษาความปลอดภัยของสถานีรถไฟจะขึ้นอยู่กับสำนักงานตำรวจขนส่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นตำรวจขนส่งในส่วนของภูมิภาคสหราชอาณาจักร มีหน้าที่รับผิดชอบรักษาความปลอดภัยทางรถไฟและสถานีรถไฟ พร้อมทั้งระบบขนส่งมวลชนทั่วทั้งสหราชอาณาจักร

แต่ละประเทศ[แก้]

ไทย[แก้]

กองบังคับการตำรวจรถไฟ เป็นหน่วยงานที่ดูแลพื้นที่ในส่วนบริเวณรถไฟของประเทศไทย มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยของผู้ใช้บริการรถไฟทั่วประเทศ และจับกุมบุคคลที่มีหมายจับตามกฎหมายที่ใช้รถไฟเป็นพาหนะ ก่อตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีทั้งหมด 5 กองบังคับการ ผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจรถไฟคนสุดท้าย คือ พลตำรวจตรี ชัยรพ จุณณวัตต์

สหรัฐอเมริกา[แก้]

เยอรมนี[แก้]

Bahnpolizei เป็นอดีตนามของสำนักงานตำรวจรถไฟเยอรมนีตะวันตก และอยู่ภายใต้การควบคุมของ Deutsche Bundesbahn บริษัทรถไฟของรัฐบาลกลาง เจ้าหน้าที่ของ Bahnpolizei มีหน้าที่รับผิดชอบในการสืบสวนในเขตอำนาจของตน, อาชญากรรมของผู้โดยสาร, การก่อการร้าย, การข่มขู่, การพ่นสีบนสถานที่ในเขตอำนาจของตน เช่น สถานีรถไฟ และรถไฟ, การก่อกวนทางสัญญาณ, การโกงตั๋ว, เหตุโจรกรรม, และการขโมยทรัพย์สินส่วนบุคคล, กระเป๋า หรือ สัมภาระ และยังมีการตรวจสอบเหตุรถไฟชนกัน / ยานพาหนะในสังกัด และการปล่อยสารพิษต่อมนุษย์

ใน ค.ศ. 1992 ต่อมา ภารกิจการรักษาความปลอดภัยในสถานีรถไฟถูกควบคุมโดย Bundesgrenzschutz (หน่วยพิทักษ์ชายแดนสหพันธ์) เกิดจากการรวมของหน่วยงาน Bahnpolizei กับหน่วยยามชายแดนสหพันธ์ เข้ารวมกัน ในส่วนของเยอรมนีตะวันออกนั้นได้มีหน่วยงานที่ชื่อว่า Transportpolizei คอยดูแลเหมือนกับตำรวจรถไฟในเยอรมนีตะวันตก ตั้งแต่ ค.ศ. 1990 Bundesgrenzschutz ได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น Bundespolizei (ตำรวจสหพันธ์) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 และหน่วยงานนี้มีเขตอำนาจเต็มในการจัดการ หรือรักษาความปลอดภัยสถานีรถไฟเยอรมนีอย่างสมบูรณ์

บราซิล[แก้]

สำนักตำรวจรถไฟกลางแห่งบราซิล ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1852 ตามพระบรมราชโองการของจักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทำให้สำนักตำรวจรถไฟกลางเป็นหน่วยงานตำรวจที่เก่าแก่ที่สุดของหน่วยตำรวจบังคับใช้กฎหมายของประเทศบราซิล มีการเรียกร้องจากข้อเสนอของวุฒิสมาชิกบราซิลในการปฏิรูปองค์การใหม่เนื่องจากการเสื่อมอำนาจขององค์การ โดยวุฒิสมาชิกเสนอด้วยเหตุผลว่าสำนักงานมีความจำเป็นต่อความมั่นคงแห่งชาติ

อินเดีย[แก้]

ตรากองป้องกันรถไฟอินเดีย (RPF)

เวียดนาม[แก้]

มีหน่วยงานที่รับผิดชอบในประเทศเวียดนาม คือ กรมตำรวจจราจรเวียดนาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงรักษาความปลอดภัยสาธารณะ ร่วมกับสำนักงานควบคุมและรักษาความปลอดภัยของรถไฟ สำนักงานมีหน้าที่รักษาทางรถไฟ, ตรวจสอบมาตรฐานรถไฟ และรักษาความปลอดภัยในบริเวณสถานีรถไฟ[1]

อิตาลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]