ดาวมวลอัดแน่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนบิวลาเอสกิโมมีดาวแคระขาวซึ่งเป็นดาวมวลอัดแน่นอยู่ที่ใจกลาง

ดาวมวลอัดแน่น (compact star) เป็นชื่อที่ใช้ในฟิสิกส์ดาราศาสตร์สำหรับเรียกดาวแคระขาว ดาวนิวตรอน และ หลุมดำ[1] วัตถุเหล่านี้มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับขนาดต่อมวลของดาวฤกษ์ปกติ

ดาวแคระขาวและดาวนิวตรอนเรียกอีกอย่างว่า ดาวสถานะเสื่อม (degenerate star) เพราะดาวแคระขาวได้รับแรงค้ำจุนจากความดันสถานะเสื่อมของอิเล็กตรอน ส่วนดาวนิวตรอนได้รับแรงค้ำจุนจากความดันสถานะเสื่อมของนิวตรอน[2] นอกจากนี้แล้ว ยังมีการเสนอทฤษฎีความเป็นไปได้เกี่ยวกับการมีอยู่ของ ดาวควาร์ก ซึ่งเป็นดาวที่ได้รับแรงค้ำจุนจากความดันสถานะเสื่อมของควาร์กด้วย[2]

จุดสิ้นสุดของวิวัฒนาการของดาวฤกษ์[แก้]

ดาวมวลอัดแน่นถือเป็นช่วงสุดท้ายของวิวัฒนาการของดาวฤกษ์

เมื่อดาวฤกษ์ส่องแสง มันจะสูญเสียพลังงานในตัวเองไปเรื่อย ๆ พลังงานที่สูญเสียไปจากพื้นผิวที่แผ่รังสีจะสมดุลกับพลังงานที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันภายในดาวฤกษ์ แต่การตายของดาวฤกษ์จะเริ่มขึ้นเมื่อดาวฤกษ์หมดพลังงาน ก๊าซร้อนภายในไม่สามารถรองรับน้ำหนักของดาวฤกษ์ได้ และถูกอัดเข้าไปภายในจนกลายเป็นดาวที่มีความหนาแน่นสูง นั่นก็คือดาวมวลอัดแน่น

ความแตกต่างระหว่างดาวแคระขาวหรือดาวนิวตรอนกับดาวฤกษ์เดิมนั้นอาจสามารถอธิบายได้โดยการเปรียบเทียบกับความแตกต่างระหว่างความหนาแน่นของแข็งและก๊าซ

เวลาที่ดาวแคระขาวต้องใช้เวลาในการเย็นตัวเพื่อกลายเป็นดาวแคระดำนั้นยาวนานกว่าอายุของเอกภพในปัจจุบันมาก

อ้างอิง[แก้]

  1. 谷口義明 (2005). 暗黒宇宙の謎. ブルーバックス. 講談社. p. 71. ISBN 4-06-257496-9.
  2. 2.0 2.1 シリーズ現代の天文学別巻 天文学辞典 (第I版第I刷 ed.). 日本評論社. p. 131、177頁. ISBN 978-4-535-60738-5.