ดาร์จีลิง

พิกัด: 27°3′N 88°16′E / 27.050°N 88.267°E / 27.050; 88.267
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดาร์จีลิง
เมือง
สมญา: 
ราชินีแห่งขุนเขา
ดาร์จีลิงตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
ดาร์จีลิง
ดาร์จีลิง
พิกัด: 27°3′N 88°16′E / 27.050°N 88.267°E / 27.050; 88.267
ประเทศ อินเดีย
รัฐเบงกอลตะวันตก
อำเภอดาร์จีลิง
ก่อตั้งค.ศ. 1815: สนธิสัญญาสุเคาลี
ผู้ก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออก
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาล
 • องค์กรเทศบาลดาร์จีลิง
 • นายกเทศมนตรีประติภา ราย[1]
 • รองนายกเทศมนตรีสาคาร ตามาง
พื้นที่
 • ทั้งหมด10.57 ตร.กม. (4.08 ตร.ไมล์)
ความสูง[2]2,042.16 เมตร (6,700.00 ฟุต)
ประชากร
 (2011)
 • ทั้งหมด132,016 คน
 • ความหนาแน่น12,000 คน/ตร.กม. (32,000 คน/ตร.ไมล์)
ภาษา
 • ราชการเบงกอลและเนปาล[3]
เขตเวลาUTC+5:30 (IST)
รหัสไปรษณีย์734101
รหัสโทรศัพท์0354
ทะเบียนพาหนะWB-76 WB-77
เขตเลือกตั้งโลกสภาดาร์จีลิง
เขตเลือกตั้งวิธานสภาดาร์จีลิง
เว็บไซต์www.darjeelingmunicipality.in

ดาร์จีลิง (เนปาล: दार्जीलिङ्ग; เบงกอล: দার্জিলিং; ทิเบต: རྡོ་རྗེ་གླིང༌།) เป็นเมืองและเทศบาลแห่งหนึ่งในรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยน้อยบนความสูง 6,700 ฟุต (2,042.2 เมตร) มีชื่อเสียงด้านอุตสาหกรรมผลิตชา จากตัวเมืองสามารถมองเห็นยอดเขากันเจนชุงคาซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดเป็นอันดับที่สามของโลก รวมทั้งเป็นที่ตั้งของทางรถไฟสายดาร์จีลิงหิมาลัยซึ่งได้รับการจดบันทึกให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก ถือเป็นรถจักรไอน้ำเพียงไม่กี่สายที่ยังให้บริการในประเทศอินเดีย

ชื่อเมืองมาจากคำทิเบตสองคำคือ "ดอร์เจ" แปลว่า "วัชระ – อาวุธของพระอินทร์" กับคำว่า "ลิง" แปลว่า "สถานที่หรือดินแดน"[4]

เมืองถูกก่อตั้งช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในยุคอาณานิคมบริติชราช มีการตั้งสถานพักฟื้นผู้ป่วยและค่ายทหารในพื้นที่ ต่อมาได้พัฒนาพื้นที่สำหรับปลูกชา โดยเกษตรกรได้พัฒนาชาแดงลูกผสมและใช้เทคนิคการบ่มชาแบบใหม่ จนชาแดงดาร์จีลิงกลายเป็นชาที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลและเป็นหนึ่งในชาแดงที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลก[5]

นอกจากนี้ดาร์จีลิงยังมีชื่อเสียงจากการเป็นที่ตั้งของโรงเรียนแบบอังกฤษหลายแห่ง ซึ่งดึงดูดนักเรียนทั้งจากในและต่างประเทศเข้าไปร่ำเรียน และเมืองนี้เป็นสังคมพหุลักษณ์มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ร่วมกันได้แก่ เลปชา คามปา กุรข่า เนวาร เศรปา ภูเตีย และเบงกอล[6]

ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม[แก้]

ภูมิอากาศ[แก้]

ดาร์จีลิงมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน: Cwb)[7] ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีในดาร์จีลิงอยู่ที่ประมาณ 3,100 มม. (120 นิ้ว)[a] ร้อยละแปดสิบของปริมาณน้ำฝนประจำปีเกิดขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายนและกันยายน เนื่องจากลมมรสุมของเอเชียใต้[9] "อัตราส่วนเดือนมิถุนายน–พฤษภาคม" หรืออัตราที่ฝนจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนคือ 2.6 หรือ 260%[9] ในทางตรงกันข้าม ปริมาณน้ำฝนประจำปีเกิดขึ้นเพียง 3% ระหว่างเดือนธันวาคมถึงมีนาคม[9] ระดับความสูงของดาร์จีลิ่ง มีความสูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของเทือกเขาหิมาลัยตะวันออกเช่น เทือกเขาอัสสัม ที่อยู่ในเขตละติจูดเดียวกัน (27° เหนือ) อากาศที่เบาบางทำให้มีระดับรังสีอัลตราไวโอเลตที่สูงกว่า ค่ารังสีอัลตราไวโอเลตอยู่ที่ประมาณ 4,500 ไมโครวัตต์/ตารางซม./วัน ในช่วงเดือนพฤษภาคม มิถุนายน และกรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีนักท่องเที่ยวสูงสุด ค่ารังสีสูงกว่าที่วัดได้บริเวณเทือกเขาอัสสัมทางทิศตะวันออกซึ่งมีความสูง 170 เมตร (560 ฟุต) กว่า 50%[10]

ข้อมูลภูมิอากาศของดาร์จีลิง (ค.ศ. 1981–2010, สุดขีด 1901–2012)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 19.0
(66.2)
19.2
(66.6)
24.0
(75.2)
27.0
(80.6)
25.7
(78.3)
27.7
(81.9)
28.0
(82.4)
28.5
(83.3)
27.5
(81.5)
26.0
(78.8)
24.5
(76.1)
20.0
(68)
28.5
(83.3)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 10.7
(51.3)
12.4
(54.3)
15.6
(60.1)
18.5
(65.3)
19.3
(66.7)
19.8
(67.6)
19.6
(67.3)
20.0
(68)
19.8
(67.6)
19.5
(67.1)
17.1
(62.8)
14.0
(57.2)
17.2
(63)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 6.1
(43)
7.7
(45.9)
10.6
(51.1)
13.7
(56.7)
14.9
(58.8)
16.3
(61.3)
16.5
(61.7)
16.7
(62.1)
16.1
(61)
15.0
(59)
11.7
(53.1)
8.9
(48)
12.85
(55.13)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 1.5
(34.7)
2.9
(37.2)
5.7
(42.3)
8.8
(47.8)
10.6
(51.1)
12.8
(55)
13.4
(56.1)
13.4
(56.1)
12.4
(54.3)
10.5
(50.9)
6.3
(43.3)
3.8
(38.8)
8.5
(47.3)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -7.2
(19)
-6.4
(20.5)
-4.8
(23.4)
0.0
(32)
1.4
(34.5)
6.6
(43.9)
3.9
(39)
8.0
(46.4)
6.2
(43.2)
3.2
(37.8)
-4.4
(24.1)
-4.6
(23.7)
−7.2
(19)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 13.5
(0.531)
14.0
(0.551)
30.8
(1.213)
76.9
(3.028)
137.9
(5.429)
466.0
(18.346)
656.7
(25.854)
528.2
(20.795)
379.7
(14.949)
59.1
(2.327)
14.4
(0.567)
2.9
(0.114)
2,380.0
(93.701)
ความชื้นร้อยละ 81 78 75 78 88 93 94 92 90 84 75 74 84
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 1.1 1.5 2.8 6.8 10.5 18.8 22.9 21.7 14.9 2.9 0.6 0.7 105.3
แหล่งที่มา 1: กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย[11][12] ดัชนีรังสียูวี[13]
แหล่งที่มา 2: สำนักงานอุตุนิยมวิทยาเยอรมัน (ดวงอาทิตย์ 1891–1990)[14]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. 3,122 มิลลิเมตร (122.9 นิ้ว) จากแหล่งอ้างอิง[8] และ 3,082 มิลลิเมตร (121.3 นิ้ว) จากอีกแหล่งอ้างอิง[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Pratibha Rai Takes Over As Chairperson Of Darjeeling Municipal Corporation". Siliguri Times. 17 มกราคม 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2018. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2018.
  2. "District Profile". Official webpage. Darjeeling district. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 สิงหาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2015.
  3. "Report of the Commissioner for Linguistic Minorities in India: 50th report (delivered to the Lokh Sabha in 2014)" (PDF). National Commissioner for Linguistic Minorities, Ministry of Minority Affairs, Government of India. p. 95. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 กรกฎาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2015.
  4. "Pre-Independence [Darjeeling]". Government of Darjeeling. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2015.
  5. Srivastava 2003, p. 4024.
  6. "People And Culture". Official webpage of Darjeeling District. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ธันวาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2009.
  7. "Climate graph, Temperature graph, Climate table". Climate-Data.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2015.
  8. Zurick & Pacheco 2006, p. 55.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Barry 2008, p. 369.
  10. Mandi, Swati Sen (2016). Natural UV Radiation in Enhancing Survival Value and Quality of Plants. Springer Nature. pp. 9–10. ISBN 978-81-322-2765-6.
  11. "Station: Darjeeling Climatological Table 1981–2010" (PDF). Climatological Normals 1981–2010. India Meteorological Department. มกราคม 2015. pp. 227–228. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2020.
  12. "Extremes of Temperature & Rainfall for Indian Stations (Up to 2012)" (PDF). India Meteorological Department. ธันวาคม 2016. p. M233. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2020.
  13. "UV Index, Darjeeling". Weather Online India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 สิงหาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2020.
  14. "Klimatafel von Darjeeling, West Bengal / Indische Union" [Climate table of Darjeeling, West Bengal / Indian Union] (PDF). Baseline climate means (1961–1990) from stations all over the world (ภาษาเยอรมัน). Deutscher Wetterdienst (German Meteorological Service). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 30 พฤษภาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2020.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Barry, Roger G. (2008). Mountain Weather and Climate (3rd ed.). Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-86295-0.
  • Srivastava, Suresh C. (2003). "Geographical Indications and Legal Framework in India". Economic and Political Weekly. 38 (38): 4022–4033. JSTOR 4414050.
  • Zurick, David; Pacheco, Julsun (2006). Illustrated Atlas of the Himalaya. Basanta Shrestha & Birendra Bajracharya. Lexington: University Press of Kentucky. ISBN 978-0-8131-7384-9. OCLC 704517519.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]