ซันเซตไรเดอส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซันเซตไรเดอส์
ใบปลิวเวอร์ชันอาร์เขดญี่ปุ่น
ผู้พัฒนาโคนามิ
ผู้จัดจำหน่ายโคนามิ
กำกับฮิเดยูกิ สึจิโมโตะ
แต่งเพลงโมโตอากิ ฟูรูกาวะ
เครื่องเล่นอาร์เขด
เมกาไดร์ฟ/เจเนซิส
ซูเปอร์แฟมิคอม
วางจำหน่ายอาร์เคด:
กันยายน ค.ศ. 1991
เมกาไดร์ฟ/เจเนซิส:
ธันวาคม ค.ศ. 1992
ซูเปอร์แฟมิคอม:
8 มิถุนายน ค.ศ. 1993
แนวรันแอนด์กัน
รูปแบบอาร์เขด
ผู้เล่นคนเดียว, 2–4 ผู้เล่น (ร่วมมือ)
เมกาไดร์ฟ/เจเนซิส
1–2 ผู้เล่น (ร่วมมือ, โหมดปะทะ)
ซูเปอร์แฟมิคอม
1–2 ผู้เล่น (ร่วมมือ)
ระบบอาร์เคดฐานทีเอ็มเอ็นที โคนามิ

ซันเซตไรเดอส์ (ญี่ปุ่น: サンセットライダーズ; อังกฤษ: Sunset Riders) เป็นวิดีโอเกมแนวรันแอนด์กันแบบฉายด้านข้างที่ได้รับการพัฒนาและเผยแพร่โดยโคนามิในฐานะเกมหยอดเหรียญบนแพลตฟอร์มอาร์เขดของสมาคมเครื่องนันทนาการและการตลาดแห่งประเทศญี่ปุ่น เกมมีฉากในแบบตะวันตกเก่าอเมริกัน ที่ผู้เล่นใช้การควบคุมนักล่าเงินรางวัลที่กำลังมองหาผลตอบแทนที่นำเสนอสำหรับอาชญากรต่าง ๆ

เวอร์ชันร่วมมือได้รับการเปิดตัวในสองสาย ได้แก่ เวอร์ชันสองผู้เล่นและเวอร์ชันสี่ผู้เล่น ส่วนเวอร์ชันคอนโซลของซันเซตไรเดอส์ได้รับการเปิดตัวสำหรับเซกาเมกาไดร์ฟ (เจเนซิส) ใน ค.ศ. 1992 และสำหรับซูเปอร์แฟมิคอมใน ค.ศ. 1993 โดยได้รับการตอบรับในเกณฑ์ที่ดี

รูปแบบการเล่น[แก้]

ภาพหน้าจอที่แสดงถึงสตีฟในด่านที่สามของเกม

เกมซึ่งมีฉากในเวอร์ชันที่เพ้อฝันของตะวันตกเก่าอเมริกัน เกี่ยวกับการตะลุยของสี่นักล่าเงินรางวัลชื่อสตีฟ, บิลลี, บ็อบ และกอร์มาโน ผู้ที่ออกไปล่ารางวัลที่นำเสนอสำหรับการกำจัดพวกคนที่ทำผิดกฎหมายซึ่งเป็นที่ต้องการมากที่สุดในตะวันตก ที่จุดเริ่มต้นของแต่ละด่าน ผู้เล่นจะได้เห็นใบประกาศจับคนที่ทำผิดกฎหมายซึ่งพวกเขาต้องเผชิญในตอนท้าย

ซันเซตไรเดอส์สามารถเล่นได้ถึงสองหรือสี่ผู้เล่นโดยขึ้นอยู่กับเวอร์ชันของเกม ในเวอร์ชันผู้เล่นสองคนผู้เล่นแต่ละคนสามารถเลือกนักล่าเงินรางวัลได้ทั้งสี่รายในตอนเริ่มของเกม ในขณะที่เวอร์ชันผู้เล่นสี่คนแต่ละตัวละครจะถูกกำหนดไว้กับแต่ละแผงควบคุม สตีฟ และบิลลีควงปืนพกลูกโม่, บ็อบถือปืนเล็กยาว และกอร์มาโนใช้ปืนลูกซอง ตัวควบคุมประกอบด้วยก้านควบคุมแปดทิศทางสำหรับการเคลื่อนย้ายและเล็ง รวมทั้งปุ่มสองปุ่มสำหรับยิงและกระโดด ผู้เล่นสามารถกระโดดสูง/ต่ำได้ และสไลด์เพื่อหลีกเลี่ยงการโจมตีของศัตรู[1]

วัตถุประสงค์ของเกมคือการปราบแก๊งโจรกรรมในแปดด่าน กับการต่อสู้กับบอสที่แข็งแกร่งในตอนท้ายของแต่ละด่าน เมื่อมีผู้เล่นสองคนหรือมากกว่า ผู้ที่สร้างความเสียหายมากที่สุดกับหัวหน้าด่านจะได้รับโบนัสทั้งหมดสำหรับการเอาชนะ มีห้าด่านที่เล่นด้วยการเดินเท้า, สองด่านที่ขี่ม้า และหนึ่งด่านบนรถไฟที่กำลังเคลื่อนที่ ส่วนมินิเกมโบนัสได้เล่นหลังจากด่านที่สองและห้า ซึ่งผู้เล่นสามารถได้รับคะแนนเพิ่มเติมโดยการยิงคนร้ายตามที่ปรากฏขึ้น หลังจากจบทั้งแปดด่านแล้ว เกมจะเริ่มต้นใหม่ด้วยความยากที่เพิ่มขึ้น

ไอเทมพาวเวอร์อัพและโบนัสสามารถได้โดยการเข้าไปในประตู, การเอาชนะโจรที่ถือถุงบางราย หรือเปิดกระสอบที่วางอยู่บนพื้น ไอเทมพาวเวอร์อัพสองแบบที่สามารถหาได้ ได้แก่ เครื่องหมายนายอำเภอสีทองที่ได้จะทำให้มีการยิงเต็มรูปแบบโดยอัตโนมัติ และเครื่องหมายของนายอำเภอสีเงินจะทำให้ผู้เล่นมีปืนกระบอกที่สอง ซึ่งไอเทมพาวเวอร์อัพทั้งสองสามารถติดตั้งได้พร้อมกัน อาวุธอื่น ๆ ที่สามารถใช้โดยผู้เล่นรวมถึงระเบิดที่ถือมาโดยโจรผู้หญิง (ซึ่งต้องโยนกลับก่อนที่จะระเบิด), หินที่แขวนอยู่/ถังไม้/คบเพลิงสามารถทำให้ตกใส่ศัตรู และปืนแก็ตลิงที่ติดตั้งอยู่จะใช้ได้เฉพาะในด่านสุดท้าย ส่วนความลับในเกมที่เกี่ยวข้องกับความพ่ายแพ้ของบอสในด่านที่ห้า หากมีการใช้กอร์มาโน ณ จุดนี้ เขาจะคว้าซอมเบรโรของบอสและสวมใส่ตลอดส่วนที่เหลือของเกม

หนึ่งชีวิตจะสูญหายไปเมื่อผู้เล่นถูกโจมตีจากศัตรู, เหยียบย่ำโดยวัว, โดนไฟหรือระเบิด หรือโดนก้อนหินหรือเครื่องกีดขวางมาปะทะ แล้วพาวเวอร์อัพที่ผู้เล่นได้มาก็หายไปด้วย หลังจากจำนวนชีวิตหมดไป ผู้เล่นสามารถเล่นเกมต่อได้โดยการทำให้จำนวนเครดิตมากขึ้น

การเปิดตัว[แก้]

แผ่นวงจรพิมพ์ของซันเซตไรเดอส์ เวอร์ชันอาร์เขด

เดมทีซันเซตไรเดอส์ได้รับการเปิดตัวในเดือนกันยายน ค.ศ. 1991 สองปีต่อมา เวอร์ชันอาร์เขดได้รับการเขียนโปรแกรมใหม่สู่ระบบคอนโซลสองเวอร์ชัน โดยเวอร์ชันสำหรับเล่นตามบ้านได้รับการเผยแพร่เฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป

เมกาไดร์ฟ[แก้]

ซันเซตไรเดอส์เวอร์ชันเมกาไดร์ฟ/เจเนซิส มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในเกมระหว่างสองเวอร์ชันประจำบ้าน โดยสี่ตัวละครหลักจากเกมอาร์เขด จะมีเพียงบิลลีและกอร์มาโนเท่านั้น สองตัวละครในเวอร์ชันเมกาไดร์ฟจะมีการเพิ่มนามสกุลซึ่งเดิมไม่มีในเวอร์ชันอาร์เคด (ได้แก่ บิลลี คูล และกอร์มาโน ไวลด์)[2][3] การควบคุมจะเหมือนกับรุ่นอาร์เคดนอกเหนือจากการเพิ่มปุ่มยิงสองปุ่มแทนที่จะเป็นปุ่มเดียว ปุ่มหนึ่งช่วยให้ผู้เล่นสามารถเดินและยิงได้ในเวลาเดียวกัน ขณะที่ปุ่มยิงอื่น ๆ ยังช่วยให้ตัวละครยังคงยิงเมื่อกดลง เพื่อให้ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนจุดเล็งได้เท่านั้น[4]

มีบอสเพียงสี่ในแปดตัวจากเวอร์ชันอาร์เคดเท่านั้น (ไซมอน กรีดเวล, ปาโก โลโก, ชีฟ สกัลเปม, และเซอร์ ริชาร์ด โรส) และแต่ละสี่ด่านจะแบ่งออกเป็นสองช่วง บทสนทนาของหัวหน้าแต่ละคนจะมีการออกเสียงในฟองอากาศแบบข้อความแทนการเปล่งเสียง ไอคอนพาวเวอร์อัพยังถูกแทนที่ด้วยเช่นกัน ไม่เหมือนกับเวอร์ชันอื่น ๆ ที่ผู้เล่นสามารถทำให้แท่งไดนาไมต์ระเบิดโดยการยิงได้ ในการเข้าด่านโบนัส ผู้เล่นต้องเก็บไอเทมรูปดาวที่มีอยู่ในแต่ละด่านของแต่ละช่วง ด่านโบนัสยังแตกต่างจากที่อยู่ในเวอร์ชันอาร์เคด โดยผู้เล่นบนหลังม้าจะไล่ตามเกวียนที่เคลื่อนที่ ในขณะที่หญิงสาวในเกวียนจะโยนเหรียญโบนัสและชีวิตพิเศษไปบนเส้นทาง[5][6][7]

นอกจากโหมดเกมมาตรฐานแล้ว เวอร์ชันเมกาไดร์ฟ/เจเนซิสมีโหมดผู้เล่นสองคนปะทะกันเอง ผู้เล่นต้องยิงกันและกันจนกว่าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งจะหมดพลัง[8]

ซูเปอร์แฟมิคอม[แก้]

เมื่อเปรียบเทียบกับเวอร์ชันเมกาไดร์ฟ เวอร์ชันซูเปอร์แฟมิคอมของซันเซตไรเดอส์มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย สาวบาร์ที่จูบผู้เล่นในด่านที่ 1 รวมทั้งนักเต้นในห้องขายเครื่องดื่มจากด่านที่ 4 จะสวมใส่ชุดมิดชิดมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเวอร์ชันอาร์เคด ส่วนสุนัขล่าสัตว์ ซึ่งมีอยู่ในส่วนแรกของด่านสุดท้ายในเวอร์ชันเมกาไดร์ฟ ได้ถูกลบออกไป ตัวละครที่เป็นข้าศึกอเมริกันพื้นเมืองของด่านที่ 6 ถูกลบออกและถูกแทนที่ด้วยโจรปกติ เหลือเพียงชีฟ สกัลเปม (ซึ่งถูกเปลี่ยนชื่อเป็นชีฟ วิกแวม และทำเสียงใหม่ในเกมซูเปอร์แฟมิคอม) ผู้เป็นหัวหน้าด่าน ส่วนโจรเพศหญิงที่โยนไดนาไมต์ได้ถูกแทนที่ด้วยโจรเพศชาย

ทุกบทสนทนาของบอสและบทคัตซีนมีคำบรรยาย แม้ว่าคลิปเสียงส่วนใหญ่จะได้รับการนำมาจากระบบอาร์เคด แต่ไลน์เสียงบางส่วนก็มีคำพูดที่ทำใหม่หรือแทนที่ด้วยไลน์ที่ไม่เหมาะสมน้อยลงเพื่อวัตถุประสงค์ในการเซ็นเซอร์

การตอบรับ[แก้]

ซันเซตไรเดอส์ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากสื่อวิดีโอเกม นิตยสารซินแคลร์ยูสเซอร์ให้คะแนนเกมอาร์เขดนี้ที่ 82 เต็ม 100 โดยมีความคิดเห็นว่า "เล่นได้ดีมาก และควรจะพิสูจน์ความท้าทายที่น่าสนใจสำหรับทักษะการเล่นอาร์เคดที่ประณีตของคุณ"[9] ในการวิจารณืเพิ่มเติม นิตยสารซีโรได้ประเมินถึงระบบอาร์เขดต้นฉบับที่ 3 คะแนนเต็ม 5 โดยกล่าวถึงเกมนี้ว่า "เป็นเกมยิงที่เร็วพอสมควร ร่วมกับการมีอารมณ์ขัน"[10] ส่วนเวอร์ชันซูเปอร์แฟมิคอมที่ "ค่อนข้างน่าทึ่ง" ได้รับคะแนนรวม 87 เปอร์เซ็นต์จากแดน เจวอนส์ ของนิตยสารซูเปอร์เพลย์ ผู้พรรณนาถึงเกมนี้ว่าเป็น "ผู้มีชัยอีกรายจากคอกม้าของโคนามิ"[11] เกมเวอร์ชันดังกล่าวยังได้รับคะแนน 88 เปอร์เซ็นต์และ 89 เปอร์เซ็นต์จากผู้ตรวจสอบในนิตยสารเอสเอ็นอีเอส ฟอร์ซ[12] ส่วนนิตยสารฮอบบีกอนโซลัส ให้คะแนน 86 เปอร์เซ็นต์สำหรับเวอร์ชันซูเปอร์แฟมิคอมและ 78 เปอร์เซ็นต์สำหรับเวอร์ชันเซกาเมกาไดร์ฟ/เจเนซิส[13][14] ในขณะที่นิตยสารมีนแมชชีนเซกาได้ให้คะแนนตอนหลังที่ 84 เปอร์เซ็นต์ โดยระบุว่า "ตื่นตาตื่นใจดี"[15]

จากการระลึกถึงความหลัง เจมี โอนีลล์ จากเว็บไซต์นินเทนโดไลฟ์ ได้มอบดาวให้แก่เวอร์ชันซูเปอร์แฟมิคอมที่แปดเต็มสิบ โดยเขียนถึงเกมนี้ว่า "มีสีสันสดใส, มีชีวิตชีวา และน่าอัศจรรย์ ด้วยดนตรีและเสียงที่เยี่ยมยอด มันเข้าใจถึงสถานที่ในฐานะเกมที่มีฉากแบบตะวันตกและอยู่ในประเภทรันแอนด์กัน โดยการผสมผสานลักษณะความคิดสร้างสรรค์และอารมณ์ขัน ด้วยการลำดับฉากแอคชันที่ดี รวมทั้งความหลากหลายในการเล่นเกม"[16] ด้านเว็บไซต์รีโทรเกมเอจให้คะแนนเช่นเดียวกัน โดยมีความคิดเห็นว่า "ซันเซตไรเดอส์ยังคงเล่นได้อย่างครื้นเครง ที่แสดงความท้าทายบางอย่างที่จะได้รับผ่านเกม และมีความสนุกแม้จะเล่นตอนนี้ในฐานะเกมเกือบ 20 ปีก่อน"[17] ส่วนเว็บไซต์ไอจีเอ็นได้จัดอันดับให้เป็นเกมที่ดีที่สุดอันดับที่ 88 ของซูเปอร์แฟมิคอม[18] และนิค กิบสัน จากเว็บไซต์เซกา-16 ได้ให้คะแนนสำหรับเวอร์ชันเซกาเมกาไดร์ฟ/เจเนซิสที่ 7 เต็ม 10[19] ในขณะที่เวอร์ชันอาร์เขดต้นฉบับได้รับคะแนนที่ 80 เปอร์เซ็นต์จากเว็บไซต์อาร์เขดแอทแทค[20]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Konami. Sunset Riders (Arcade). Level/area: Operator's manual, page 2.
  2. Konami. Sunset Riders (Sega Genesis). Level/area: Instruction manual, page 3.
  3. Konami. Sunset Riders (Sega Genesis). Level/area: Instruction manual, page 4.
  4. Konami. Sunset Riders (Sega Genesis). Level/area: Instruction manual, page 7.
  5. Konami. Sunset Riders (Sega Genesis). Level/area: Instruction manual, page 8.
  6. Konami. Sunset Riders (Sega Genesis). Level/area: Instruction manual, page 9.
  7. Konami. Sunset Riders (Sega Genesis). Level/area: Instruction manual, page 10.
  8. Konami. Sunset Riders (Sega Genesis). Level/area: Instruction manual, page 05.
  9. Sunset Riders review. Sinclair User. December 1991. p. 62
  10. "Zero Magazine Issue 26". สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.
  11. "Out-of-Print Archive • Super Nintendo reviews • Sunset Riders". สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.
  12. "SNES N-Force Magazine Issue 06". สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.
  13. "Hobby Consolas 028". สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.
  14. "Hobby Consolas 018". สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.
  15. "Mean Machines Sega Magazine Issue 07". สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.
  16. Nintendo Life. "Sunset Riders Review - SNES - Nintendo Life". Nintendo Life. สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.
  17. "Sunset Riders (SNES)". Retro Game Age. 4 February 2011. สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.
  18. "Sunset Riders". IGN. สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.[ลิงก์เสีย]
  19. "Sega-16 – Sunset Riders". สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.
  20. "Sunset Riders (Mega Drive Review)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-28. สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]