ชามะลิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชามะลิ
ใบชามะลิที่ทำเป็นรูปร่างต่าง ๆ 3 แบบ
ภาษาจีน茉莉花茶

ชามะลิ (จีน: 茉莉花茶; พินอิน: mòlìhuāchá[1]) เป็นชาประเภทหนึ่งที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศจีน[2]

ชามะลิถูกจัดอยู่ในประเภท ชาดอกไม้ (花茶, huāchá[1]) ซึ่งเป็นกลุ่มของชาที่แยกต่างหากจากกลุ่มชาหกชนิดทั่วไปของจีน และในบางกรณีก็รวมชาดอกไม้เป็นชนิดที่เจ็ดของชาจีน

การผลิตทำโดยดูดซับกลิ่นหอมของดอก มะลิลา ซึ่งเป็นดอกไม้ในวงศ์มะลิ เข้าไปในใบชา ทำให้มีกลิ่นดอกไม้แรงแต่ไม่รบกวนรสชาติของชา โดยทั่วไปจะใช้ชาเขียว แต่ก็ยังอาจใช้ชาขาว ชาอูหลง หรือ ชาผูเอ่อร์ ด้วย

ที่ประเทศจีน เมืองฝูโจวในมณฑลฝูเจี้ยน เป็นที่รู้จักในฐานะพื้นที่การผลิตที่สำคัญของชาชนิดนี พื้นที่การผลิต กระบวนการผลิต และวัฒนธรรมชาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น มรดกทางการเกษตรโลก โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ในชื่อ "ชามะลิและระบบวัฒนธรรมแห่งเมืองฝูโจว" ที่ภาพเหนือของจีนถือเป็นเรื่องปกติที่จะถวายชามะลิเพื่อเป็นการต้อนรับผู้มาเยือน[2]

ซัมปินจะ[แก้]

ซัมปินจะเป็นชามะลิแบบโอกินาวะ

ที่จังหวัดโอกินาวะของญี่ปุ่น ได้นำชามะลิมาทำเป็นแบบโอกินาวะ เรียกว่า ซัมปินจะ (ญี่ปุ่น: さんぴん茶โรมาจิsanpincha)[3] ที่มาของชื่อมาจากภาษาจีนว่า เซียงเพี่ยนฉา (香片茶) ซึ่งเป็นอีกคำที่หมายถึงชามะลิ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 布目潮渢 (1998). 中国茶文化と日本. 汲古選書. 汲古書院. ISBN 4762950211.
  2. 2.0 2.1 Gong, Wen. Lifestyle in China. 五洲传播出版社, 2007. Retrieved October 23, 2010, from
  3. 沖縄のお茶はさんぴん茶だけじゃない デイリーポータルZ:@nifty