ชล อภิชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชล อภิชาติ
ชล อภิชาติ ขณะแสดงบนเวทีคอนเสิร์ต มหกรรมลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 8 (2549)
ชล อภิชาติ ขณะแสดงบนเวทีคอนเสิร์ต มหกรรมลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 8 (2549)
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด25 เมษายน พ.ศ. 2520 (47 ปี)
ชนสรณ์ กุลศิริวุฒิชัย
บิดาลักษณ์ อภิชาติ (ลักษณ์ กุลศิริวุฒิชัย)
มารดานันทนา กุลศิริวุฒิชัย (วันทนา บุญบันเทิง)
อาชีพนักร้อง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน
สังกัดนพพร ซิลเวอร์โกลด์

ชนสรณ์ กุลศิริวุฒิชัย หรือ ชล อภิชาติ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่เมื่อ 25 เมษายน พ.ศ. 2520 เป็นชาวกรุงเทพฯ มีชื่อเล่นว่า ปุ้ย เป็นบุตรนายลักษณ์ กุลศิริวุฒิชัย หรือ ลักษณ์ อภิชาติ อดีตพระเอก และนักแสดงภาพยนตร์แนวบู๊ชื่อดังผู้ล่วงลับ กับนางนันทนา กุลศิริวุฒิชัย หรือ วันทนา หรือ นันทนา บุญบันเทิง อดีตนางเอกชื่อดัง[1]

ประวัติ[แก้]

เขามีพี่น้อง 3 คน โดยเป็นลูกคนโต แต่เดิมครอบครัวมีฐานะปานกลาง ไม่เดือดร้อนอะไรนัก เพราะพ่อมีงานแสดงอยู่เรื่อย ๆ ในด้านการศึกษา เขาเรียนชั้นประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล

ชล อภิชาติชื่นชอบการร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก และทางครอบครัวก็ให้การสนับสนุนโดยการพาไปสมัครเรียนร้องเพลง แต่ในช่วงนั้นเขาสนใจเพลงแนวสตริง และเรียนร้องเพลงอยู่ราว 2 เดือนก็จบระดับขั้นพื้นฐานทั่วไป

แต่หลังจากงานแสดงของผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวซาลงไป ครอบครัวก็หันมาเปิดร้านขายข้าวแกง จากนั้นไม่นาน ลักษณ์ อภิชาต ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นนักแสดงจอมทุ่มเท และมักได้รับบาดเจ็บจากการแสดงเป็นประจำ การกระทบกระเทือนที่สะสมก็เริ่มทำให้เขาล้มป่วยเป็นอัมพาต ทำให้ทุกคนในครอบครัวเริ่มประสบกับความลำบาก เงินทองที่พอมีเก็บไว้ก็ถูกนำมาใช้ในการรักษาผู้เป็นหัวหน้าครอบครัว จนร้านข้าวแกงก็ต้องปิดตัวลง แต่ท้ายที่สุดก็ไม่อาจจะยื้อชีวิตดาราดังเอาไว้ได้ ลักษณ์ อภิชาติเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2547

จากนั้น หน้าที่หัวหน้าครอบครัวก็ตกเป็นของผู้เป็นแม่ และในฐานะลูกชายคนโต ชล อภิชาติ ก็อยากที่จะทำอะไรเพื่อเป็นการช่วยเหลือครอบครัวบ้าง แต่ระหว่างนั้น พนม นพพร อดีตนักร้องลูกทุ่งชื่อดัง ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทนพพรซิลเวอร์โกลด์ ที่สร้างนักร้องประดับวงการลูกทุ่งมากมายหลายคน และเคยเป็นเพื่อนรักและสนิทชิดเชื้อกับลักษณ์ อภิชาติอย่างมาก ก็ได้พยายามช่วยเหลือครอบครัวของเพื่อนสนิทที่ล่วงลับด้วยการให้โอกาสชล อภิชาติได้แสดงในภาพยนตร์วีซีดีของบริษัทชื่อ "เพลงรักแผ่นดินเพลิง" และมิวสิควีดีโอเพลง"สงสารแฟนพี่" ของ ณิชา ดารินทร์ เนื่องจากเห็นว่าหน้าตาและหน่วยก้านดีใช้ได้

ต่อมา พนม นพพร ลองให้เขาร้องเพลงลูกทุ่งให้ฟัง ก่อนที่จะสรุปว่า พอที่จะฝึกได้ แล้วก็ส่งเขาไปฝึกร้องเพลงลูกทุ่งอย่างเป็นกิจจะลักษณะ และหลังจากฝึกร้องอยู่ระยะหนึ่ง พนม นพพร ก็หาเพลงใหม่มาให้เขาฝึกร้อง ก่อนที่จะส่งเข้าห้องอัดเสียงในที่สุด และ ก็คลอดผลงานเพลงชุดแรกในชีวิตออกมา ชื่อ "ขอเป็นแฟนส่วนตัว" ก่อนที่จะทยอยผลิตทั้งผลงานเพลง และภาพยนตร์วีซีดีออกมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

เพลงดังสร้างชื่อ[แก้]

  • ขอเป็นแฟนส่วนตัว
  • หนุ่ม อบต.
  • หัวใจพี่ส่ง EMS
  • ป้ายแดงแย่งรัก
  • เบอร์โทรไม่ต้อง เบอร์ห้องมีไหม
  • หนุ่มใต้ใจซื่อ
  • ตุ๊กตาหน้ารถ

ผลงาน[แก้]

อัลบั้มเดี่ยว[แก้]

อัลบั้มที่ 1 ขอเป็นแฟนส่วนตัว (กุมภาพันธ์ 2548)[แก้]

  • ขอเป็นแฟนส่วนตัว
  • ครึ่งทางรัก
  • หนุ่ม อบต.
  • ฟอกใจด้วยไฮเตอร์
  • หัวใจไม้ขีด
  • มีไหมใครอกหัก
  • สายด่วนความรัก
  • 4 ปีรวยแน่
  • แก่เกินแกง
  • เลือกไม่ถูก

อัลบั้มที่ 2 หัวใจพี่ส่ง EMS (สิงหาคม 2549)[แก้]

  • หัวใจพี่ส่ง EMS
  • ป้ายแดงแย่งรัก
  • บุหงาบ้านพอน
  • ร้อยตรียังตรม
  • รักคุณหมอ
  • ตามคำขอ
  • เย็นนี้เจอกัน
  • ช่างไฟเปิดใจรอ
  • กดกริ่งถามข่าว
  • บอดี้การ์ดหัวใจ

อัลบั้มที่ 3 เบอร์โทรไม่ต้อง เบอร์ห้องมีไหม (ธันวาคม 2550)[แก้]

  • เบอร์โทรไม่ต้อง เบอร์ห้องมีไหม
  • หนุ่มใต้ใจซื่อ
  • เห็นต่ายหายเหนื่อย
  • ยุคจิ้มยิ้มแต้
  • วิวาห์ในฝัน
  • ฝากใจไว้กับสาว
  • สาวถูกสเปก
  • รักสาวโรงงาน
  • ตุ๊กตาหน้ารถ
  • พ่อสั่งไว้

อัลบั้มพิเศษ[แก้]

อัลบั้ม คู่แท้เพลงทอง (คู่ แมงปอ ชลธิชา) (มิถุนายน 2548)[แก้]

  • ทุยอ้อนเอี้ยง
  • ข้าวประดับนา
  • อย่าคิดมาก
  • ผ่อนรถผ่อนรัก
  • หนุ่มอ้อนสาวออด
  • หูอื้อ
  • เสียแล้วหาใหม่
  • ฝากใจไว้เมืองจันท์
  • สิบล้อฝากรัก
  • ตื๊อครองโลก

อัลบั้ม เทศกาลงานบุญ 12 เพลงดัง (2548)[แก้]

  • โชคดีปีใหม่
  • พรชัยตรุษจีน
  • สงกรานต์ทั่วไทย
  • สุขสันต์วันเกิด
  • วันลอยกระทง
  • ประเพณีงานบุญ
  • งานบวชนาค
  • พรวันแต่งงาน
  • พรขึ้นบ้านใหม่
  • วันแรงงาน
  • ดวงใจประชา (วันพ่อ)
  • พระแม่สยาม (วันแม่)

อัลบั้ม พ่อปลาไหล แม่ปลาหลด (คู่ แมงปอ ชลธิชา) (2550)[แก้]

  • พ่อปลาไหล แม่ปลาหลด
  • ลูกไม้ไปรษณีย์
  • ขอซ้อมหอมแก้ม
  • ไปไม่กี่วัน
  • แฟนผมหน้าเหมือนคุณ
  • รักน้องอย่าสองใจ
  • มาค่ำ ๆ
  • คนรับสายมีแฟนหรือยัง
  • หูอื้อ
  • ตื๊อครองโลก

ภาพยนตร์วีซีดี[แก้]

  • 2546 เพลงรักแผ่นดินเพลิง
  • 2549 แม่ครัวหัวไข่
  • 2550 ยุทธการกล้วยไม้ป่า

ละครโทรทัศน์[แก้]

ละครจักรๆ วงศ์ๆ[แก้]

โฆษณา[แก้]

  • 2564 รีเจนซี่ บรั่นดีไทย

อ้างอิง[แก้]