ฆาตกรรมบนรถด่วนโอเรียนท์เอกซ์เพรส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฆาตกรรมบนรถด่วนโอเรียนท์เอกซ์เพรส
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับเคนเนธ บรานาห์
บทภาพยนตร์ไมเคิล กรีน
สร้างจากMurder on the Orient Express
โดย อกาธา คริสตี
อำนวยการสร้าง
นักแสดงนำ
กำกับภาพแฮริส แซมบาร์ลูคอส
ตัดต่อมิก ออดส์ลีย์
ดนตรีประกอบแพทริก ดอยล์
บริษัทผู้สร้าง
  • Kinberg Genre
  • The Mark Gordon Company
  • Scott Free Productions
ผู้จัดจำหน่าย20th Century Fox
วันฉาย
  • 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017
    (สหราชอาณาจักร)
  • 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017
    (สหรัฐอเมริกา)
  • 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017 (ไทย)[1]
ความยาว114 นาที[2]
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]
ทำเงิน352.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

ฆาตกรรมบนรถด่วนโอเรียนท์เอกซ์เพรส (อังกฤษ: Murder on the Orient Express) เป็นภาพยนตร์ลึกลับ/ระทึกขวัญ กำกับและร่วมอำนวยการสร้างโดยเคนเนธ บรานาห์ เขียนบทโดยไมเคิล กรีน โดยอิงจากนวนิยายเรื่อง Murder on the Orient Express ของอกาธา คริสตี นำแสดงโดยเคนเนธ บรานาห์, เปเนโลเป กรุซ, วิลเลม เดโฟ, จูดี้ เดนช์, จอห์นนี เดปป์, จอช แกด, เดเรก แจโคบี, เลสลี โอดอม จูเนียร์, มิเชลล์ ไฟฟ์เฟอร์และเดซี ริดลีย์ ภาพยนตร์เข้าฉายในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017

เรื่องย่อ[แก้]

ภาพยนตร์เปิดเรื่องในช่วงฤดูหนาว ปี ค.ศ. 1934 แอร์กูล ปัวโร นักสืบชาวเบลเยียมไขคดีโจรกรรมในกรุงเยรูซาเลมได้สำเร็จ ก่อนจะเดินทางไปพักผ่อนที่อิสตันบูล แต่เขากลับได้รับโทรเลขเกี่ยวกับคดีจากลอนดอนทำให้เขาต้องรีบเดินทางกลับด้วยรถด่วนโอเรียนท์เอกซ์เพรส โดยได้รับความอนุเคราะห์จากบุค เพื่อนของเขา ขณะอยู่บนรถไฟ ปัวโรพบกับแรตเช็ตต์ นักธุรกิจชาวอเมริกันผู้เชื่อว่าตนกำลังถูกปองร้าย เขาเสนอให้ปัวโรเป็นบอดี้การ์ดของเขา แต่ปัวโรปฏิเสธ ในคืนนั้น ปัวโรได้ยินเสียงแปลก ๆ มาจากห้องของแรตเช็ตต์และเห็นผู้หญิงสวมชุดกิโมโนสีแดงวิ่งหายไปจากทางเดิน ขณะเดียวกัน หิมะถล่มทำให้รถไฟตกราง

เช้าวันต่อมา ปัวโรพบว่าแรตเช็ตต์ถูกฆ่าตาย มีบาดแผลถูกแทง 12 แผล เขากับบุคจึงร่วมกันสืบคดี ทั้งสองพบหลักฐานหลายอย่างที่บ่งชี้ว่าฆาตกรลงมือคนเดียว ด้านคุณนายฮับบาร์ดซึ่งห้องติดกับแรตเช็ตต์บอกปัวโรว่าเมื่อคืน เธอเห็นผู้ชายอยู่ในห้องของเธอ ต่อมาปัวโรพบเบาะแสที่เชื่อมโยงแรตเช็ตต์กับคดีลักพาตัวเดซี อาร์มสตรอง โดยตัวตนที่แท้จริงของแรตเช็ตต์คือคาสเซตติ โจรลักพาตัวที่จับเดซี ลูกสาวของผู้พันจอห์นและโซเนีย อาร์มสตรองไปเรียกค่าไถ่ เมื่อครอบครัวอาร์มสตรองยอมจ่ายเงินค่าไถ่ พวกเขากลับพบว่าเดซีถูกฆ่าตาย ทำให้โซเนียเสียใจมากจนแท้งลูกและเสียชีวิต ส่วนจอห์นตัดสินใจยิงตัวตาย ด้านซูซาน คนรับใช้ของครอบครัวอาร์มสตรองถูกจับกุม แต่เธอฆ่าตัวตาย ก่อนที่ผลการสืบสวนจะพบว่าเธอเป็นผู้บริสุทธิ์

ปัวโรพบหลักฐานสำคัญ เช่น ผ้าเช็ดหน้าที่ปักตัวอักษร "H", ชุดกิโมโนสีแดงและเครื่องแบบพนักงานรถไฟ หลังสอบปากคำผู้โดยสารทุกคน ปัวโรพบว่าทั้งหมดมีความเชื่อมโยงกับคดีลักพาตัวอาร์มสตรอง ขณะปัวโรคุยกับแมรี เดเบแนม เขาถูกดร. อาร์บุธนอตยิงก่อนที่บุคจะมาช่วยไว้ได้

ปัวโรรวบรวมข้อมูลทั้งหมดแล้วเสนอออกมาเป็น 2 ทฤษฎี หนึ่งคือมีฆาตกรปลอมตัวเป็นพนักงานรถไฟเข้ามาฆ่าแรตเช็ตต์ก่อนจะหลบหนีไป สองคือผู้โดยสารทุกคนเป็นฆาตกร เพราะต่างได้รับผลกระทบจากคดีลักพาตัวอาร์มสตรองทั้งสิ้น โดยมาสเตอร์แมนเคยร่วมรบกับจอห์นก่อนจะมาเป็นพ่อบ้านตระกูลอาร์มสตรอง, ดร. อาร์บุธนอตเคยเป็นพลแม่นปืนใต้บังคับบัญชาของจอห์น เขาจงใจยิงให้ปัวโรบาดเจ็บเพื่อปกป้องแมรี คนรักของเขาให้พ้นจากข้อกล่าวหา, เคาน์เตสอันเดรนยี (ชื่อเดิม เฮเลนา โกลเดนเบิร์ก) ภรรยาของเคานต์อันเดรนยีเป็นน้องสาวของโซเนียและน้าของเดซี, เจ้าหญิงดราโกมิรอฟฟ์เป็นแม่ทูนหัวของโซเนีย, แมรีเคยเป็นผู้ดูแลเดซีและเธอคือผู้หญิงที่สวมชุดกิโมโนสีแดง, ชมิดท์เคยเป็นแม่ครัวตระกูลอาร์มสตรอง, มาร์เกซเป็นหนี้บุญคุณจอห์น เพราะเขาช่วยเหลือธุรกิจของมาร์เกซ, พีลาร์เคยเป็นพยาบาลของเดซี, บิดาของแม็คควีนเคยเป็นอัยการเขตที่ทำผิดพลาดด้วยการสั่งฟ้องซูซานในข้อหาฆ่าคนตาย, มิเชลเป็นพี่ชายของซูซาน, ฮาร์ดแมนเคยเป็นตำรวจที่คบหากับซูซานและตัวตนที่แท้จริงของคุณนายฮับบาร์ดคือ ลินดา อาร์เดน นักแสดงยอดฝีมือซึ่งเป็นแม่ของโซเนียและยายของเดซี เธอเป็นคนวางแผนทั้งหมด โดยให้ผู้โดยสารทุกคนยกเว้นเคาน์เตสอันเดรนยีซึ่งป่วยแทงแรตเช็ตต์จนตายแล้วทิ้งหลักฐานต่าง ๆ ไว้เพื่อให้ดูเหมือนว่ามีฆาตกรเพียงคนเดียว

เมื่อรถไฟกลับมาเดินทางอีกครั้ง ปัวโรตัดสินใจบอก "ทฤษฎีแรก" แก่ตำรวจด้วยเห็นว่าแรตเช็ตต์สมควรได้รับผลกรรมที่เขาก่อ ภาพยนตร์จบลงเมื่อปัวโรลงจากรถไฟที่สถานี ก่อนจะพบว่ามีผู้แจ้งข่าวว่าต้องการให้เขาไปสืบคดีฆาตกรรมบนเรือในแม่น้ำไนล์

นักแสดง[แก้]

การผลิต[แก้]

เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2013 ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ประกาศจะสร้างภาพยนตร์เรื่อง Murder on the Orient Express อีกครั้ง หลังเคยมีการสร้างมาแล้วในปี ค.ศ. 1974 และ ค.ศ. 2001[4][5] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2015 ฟอกซ์วางตัวให้เคนเนธ บรานาห์ทำหน้าที่ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้[6] ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน มีการเปิดเผยว่าบรานาห์จะรับบทแอร์กูล ปัวโร นักสืบผู้เป็นตัวละครนำในเรื่อง[7] และได้ไมเคิล กรีนมาทำหน้าที่ผู้เขียนบทภาพยนตร์ การถ่ายทำเริ่มในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2016 ในสหราชอาณาจักร[8][9] และในประเทศมอลตา[10] การถ่ายทำเสร็จสิ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2017

ภาคต่อ[แก้]

เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2017 เคนเนธ บรานาห์แสดงความสนใจในการสร้างภาคต่อหาก ฆาตกรรมบนรถด่วนโอเรียนท์เอกซ์เพรส ประสบความสำเร็จ[11] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2017 ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ประกาศว่ากำลังพัฒนาภาคต่อซึ่งดัดแปลงจากนวนิยาย Death on the Nile โดยมีไมเคิล กรีนกลับมารับหน้าที่เขียนบท ร่วมกับบรานาห์ที่กลับมารับหน้าที่กำกับและแสดงบทปัวโร[12] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2020 มีการประกาศวันเข้าฉายของ Death on the Nile เป็นวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2020[13] แต่ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2021 ดิสนีย์ได้ประกาศเลื่อนวันฉาย Death on the Nile ออกไปเป็นวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022[14]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Murder on the Orient Express". Movie Kapook. สืบค้นเมื่อ November 15, 2017.
  2. "Murder on the Orient Express". British Board of Film Classification. สืบค้นเมื่อ October 22, 2017.
  3. 3.0 3.1 "Murder on the Orient Express (2017)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ June 15, 2018.
  4. McNary, Dave (December 12, 2013). "Fox Remaking 'Murder on the Orient Express' (EXCLUSIVE)". Variety. สืบค้นเมื่อ November 25, 2015.
  5. "Murder on the Orient Express: watch Johnny Depp and Kenneth Branagh in first trailer". The Guardian. June 1, 2017. สืบค้นเมื่อ August 22, 2017.
  6. Geier, Thom (June 16, 2015). "Kenneth Branagh in Talks to Direct Agatha Christie's 'Murder on the Orient Express' (Exclusive)". TheWrap. สืบค้นเมื่อ July 11, 2015.
  7. McNary, Dave (November 20, 2015). "Kenneth Branagh to Direct, Star in 'Murder on the Orient Express' Remake". Variety. สืบค้นเมื่อ November 25, 2015.
  8. Daniels, Nia (November 22, 2016). "Murder on the Orient Express starts filming". The Knowledge. สืบค้นเมื่อ November 22, 2016.
  9. Daniels, Nia (November 15, 2016). "Murder on the Orient Express sets up UK shoot". KFTV. สืบค้นเมื่อ November 22, 2016.
  10. "Filming of 'Murder on The Orient Express' begins in Valletta". TVM News. March 4, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-10. สืบค้นเมื่อ August 22, 2017.
  11. "'Murder on the Orient Express' Star Kenneth Branagh Wants to Make More Poirot Movies". Entertainment Weekly. May 4, 2017. สืบค้นเมื่อ May 31, 2017.
  12. Kit, Borys (November 20, 2017). "'Murder on the Orient Express' Sequel in the Works (Exclusive)". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ November 30, 2017.
  13. Rubin, Rebecca (July 23, 2020). "'Star Wars' Films, 'Avatar' Sequels Pushed Back a Year in Disney Release Calendar Shakeup". Variety. สืบค้นเมื่อ July 23, 2020.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. D'Alessandro, Anthony (March 23, 2021). "Disney Shifts 'Black Widow' & 'Cruella' To Day & Date Release In Theaters And Disney+, Jarring Summer Box Office". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 23, 2021. สืบค้นเมื่อ March 23, 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]