คุยกับผู้ใช้:N nattee

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ N nattee สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello N nattee! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- 21:58, 11 กันยายน 2554 (ICT)

การมอบหมายให้นิสิตทำงานในวิกิพีเดีย[แก้]

จาก วิกิพีเดีย:ศาลาชุมชน/อภิปราย/บทความวิทยาการคอมพิวเตอร์ ผมขอสรุปคร่าวๆ คือ

อยากทราบเป็นข้อมูลเบื้องต้น
  1. จำนวนนักศึกษาทั้งหมด
  2. กำหนดส่งงาน/เวลาที่อาจารย์จะประเมินผล
  3. รายชื่อผู้ใช้ในวิกิพีเดียที่ใช้แก้ไขทั้งหมด (ถ้าสะดวกเปิดเผย ผมจะอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ที่มีชื่อในรายชื่อดังกล่าว)
  4. รายชื่อบทความที่แก้ไข (ถ้าสะดวกเปิดเผย ผมจะพยายามช่วยเหลือในบทความที่แจ้งมา)
  5. วิธีการติดต่ออาจารย์ผู้สอน (ถ้าสะดวกเปิดเผย จะได้คุยปรึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นกันได้โดยตรง ส่งมาให้ผมเป็นการส่วนตัวได้โดยกดปุ่ม "ส่งอีเมลหาผู้ใช้รายนี้" หรือแจ้งชื่อผู้ใช้ของอาจารย์ในวิกิพีเดียก็ได้)
อยากแนะนำให้ทำทีละขั้น
  1. ขอให้เริ่มที่การใช้ วิกิพีเดีย:กระบะทราย นะครับ โดยเฉพาะถ้าท่านที่ยังไม่เคยเขียนบทความในวิกิพีเดียมาก่อน
  2. สร้างบทความชั่วคราวที่เป็นหน้าย่อยของตัวเอง เช่น ผู้ใช้:N nattee/กระบะทราย เพื่อเขียนบทความฉบับร่าง
  3. รบกวนดูหลักเกณฑ์ต่างๆ
  4. เมื่อพร้อมให้คนอื่นดูได้ค่อยเปลี่ยนชื่อจาก ผู้ใช้:N nattee/กระบะทราย เป็นชื่อบทความที่ต้องการ
  5. เมื่อเปลี่ยนชื่อเข้าสู่ระบบหลักแล้ว ทุกคนจะแก้ไขได้ทันที อาจมีการอภิปรายเรื่อง source code และแก้ไขส่วนอื่นๆ ซึ่งต้องพิจารณาเป็นกรณีไปตามความจำเป็นและเหมาะสมนะครับ - ให้ใช้หน้าอภิปรายของบทความนั้นในการถกเถียงกัน โดยอย่าลืม WP:AGF

ยินดีอย่างมากที่จะให้นิสิตช่วยกันเขียนงานในวิกิพีเดีย แต่อยากให้อธิบายหลักการต่างๆ ไปในคราวเดียว อธิบายทีละคนคงลำบากมาก (อาสาสมัครที่มีในปัจจุบันอาจน้อยกว่านิสิต)

(เพิ่มเติมครับ เมื่อกี้ยังพิมพ์ไม่หมด) ศัพท์ส่วนใหญ่เรายึดตามราชบัณฑิต แต่ก็มีข้อยกเว้นกันได้ครับ เดิมบทความทาง computer science ทางทีม CPE/KU เป็นคนเริ่ม ศัพท์แสงต่างๆ ก็จะใช้ตามทีมแรกเป็นส่วนใหญ่ แต่ตอนนี้ทีมนั้นไม่อยู่แล้ว มีแต่คุณ octahedron80 ซึ่งไม่สังกัดค่ายไหน active อยู่คนเดียว ดังนั้นหากจะต่อรองการใช้ศัพท์ในทางวิชาการก็คุยโดยตรงกันได้เลยครับ

ป.ล. ทุกคนที่วิกิพีเดียไทยเป็นอาสาสมัคร ไม่ได้รับเงินเดือนและมีเวลาจำกัด อยากให้นิสิตเข้าใจและเห็นคุณค่าของอาสาสมัครท่านอื่นด้วย บางคนไม่ได้ดั่งใจแล้วก็ใช้อารมณ์ว่ากล่าวกันโดยไม่ใช้เหตุใช้ผล ถ้าเป็นไปได้อยากให้ย้ำเตือนนิสิตด้วยครับ วิกิพีเดียมีประวัติทุกหน้าและไม่มีการลบถ้าไม่มีเหตุจำเป็น เขียนอะไรไปแล้วจึงไม่อาจถอนคืนออกได้ง่ายๆ

--taweethaも 23:27, 11 กันยายน 2554 (ICT)


# จำนวนนักศึกษาทั้งหมด
ราว ๆ 120 คนครับ
# กำหนดส่งงาน/เวลาที่อาจารย์จะประเมินผล
สิ้นเดือนกันยายนครับ
# รายชื่อผู้ใช้ในวิกิพีเดียที่ใช้แก้ไขทั้งหมด (ถ้าสะดวกเปิดเผย ผมจะอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ที่มีชื่อในรายชื่อดังกล่าว)
ยังไม่ทราบครับ
# รายชื่อบทความที่แก้ไข (ถ้าสะดวกเปิดเผย ผมจะพยายามช่วยเหลือในบทความที่แจ้งมา)
ยังไม่ทราบครับ
# วิธีการติดต่ออาจารย์ผู้สอน (ถ้าสะดวกเปิดเผย จะได้คุยปรึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นกันได้โดยตรง ส่งมาให้ผมเป็นการส่วนตัวได้โดยกดปุ่ม "ส่งอีเมลหาผู้ใช้รายนี้" หรือแจ้งชื่อผู้ใช้ของอาจารย์ในวิกิพีเดียก็ได้)
อาจารย์ผู้สอนมีหลายท่านครับ ผมเป็นหนึ่งในนั้น
ตอนนี้ปัญหาคืออะไรครับ? เท่าทีผมเข้าใจคือนิสิตของผมหลายคนไม่ได้เขียนตาม WP:MOS และไม่ได้ใช้การตั้งชื่อแบบ WP:NAME และทับศัพท์ไม่ถูกต้อง ถ้าปัญหาคือเรื่องดังกล่าว ผมจะกำชับให้นิสิตยึดตามหลักดังกล่าว
สิ่งที่ผมต้องการคือ 1. อยากให้นิสิตได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยเฉพาะสังคมเสรี 2. อยากจะให้มีบทความทาง comp sci มากกว่านี้ ถ้าปัญหาของทางผู้ดูแลคือกำลังคิดว่าจะมี noise ปริมาณมากเข้ามาสู่ระบบ ผมยินดีที่จะช่วย tag งานของนิสิตที่ผมคิดว่าไม่เหมาะสมให้ แต่ถ้าทางผู้ดูแลคิดว่าไม่สมควร ผมจะได้ปรึกษาอาจารย์ท่านอื่นเพื่อโยกย้ายให้นิสิตส่งบทความทางอื่นแทนครับ
--N nattee 23:38, 11 กันยายน 2554 (ICT)

ปัญหาในขณะนี้คือ
  1. มีการสร้างบทความใหม่ในหน้าบทความหลักที่ไม่ได้มาตรฐานจำนวนมาก เกินกว่ากำลังของอาสาสมัครในปัจจุบันจะจัดการไหว
  2. เมื่ออาสาสมัครเข้าไปแก้ไข ก็พบปัญหาการสื่อสารกับนิสิต ซึ่งบางคนยังไม่เข้าใจหลักการของวิกิพีเดีย
แนวทางแก้ไข
  1. ผมคิดว่าการใช้กระบะทรายส่วนตัวลดผลกระทบต่อวิกิพีเดียไทยได้มากครับ เพราะระหว่างที่เขียนบทความอยู่ในกระบะทราย ตามมารยาทแล้วคนอื่นจะไม่ยุ่ง
  2. มีสองโมเดลที่คิดว่าน่าจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อวิกิพีเดียไทย
    • นักศึกษาเขียนงานในกระบะทราย --> อาจารย์ตรวจ --> ถ้าผ่านก็ย้ายมาเป็นบทความจริง ไม่ผ่านก็ลบ โดยมีวันกำหนดที่ตายตัวในการพิจารณา
    • นักศึกษาเขียนงานโดยไม่ใช้วิกิพีเดียไทย --> อาจารย์ตรวจ --> ถ้าผ่านค่อยย้ายข้อมูลลงวิกิพีเดียไทย ไม่ผ่านก็ไม่ต้องนำข้อมูลเข้าวิกิพีเดียไทย
  3. จำนวนนับร้อยบทความ มองในแง่หนึ่งอาสาสมัครปัจจุบันที่สนใจเขียนบทความในสาขานี้มีเพียง 2-3 คน จะสร้าง stress และ backlog จำนวนมาก (อีกหลายเดือนหรือเป็นปีก็อาจไม่เสร็จ - ยกเว้นลบพรวดเดียว ก็เสร็จแน่) แต่ในทางตรงข้าม ผมมองว่านิสิตจำนวนหนึ่งอาจกลายเป็นอาสาสมัึครถาวรในวิกิพีเดียไทย และช่วยกันตรวจและช่วยกันเขียนบทความต่อไปแม้จะไม่มีการประเมินผลแล้ว ถ้าเป็นแบบนี้จะเป็นผลดีมากที่สุดกับทุกฝ่าย

รบกวนนำไปพิจารณาร่วมกับอาจารย์ท่านอื่นแล้วแจ้งผมอีกทีนะครับ ผมอยากให้กรณีนี้เป็นกรณีแรกที่วิกิพีเดียไทยร่วมมือกับสถานศึกษาได้เป็นผลสำเร็จ ผมเชื่อว่า CPE/CU มีความพร้อมที่จะทำได้ ต่างจากในกรณีก่อนๆ ซึ่งในที่สุดอาจารย์ต้องยกเลิกการมอบหมายงานในวิกิพีเดียไป (มีประวัติการอภิปรายในวิกิพีเดียไทย หาอ่านได้ไม่ยากครับ)

--taweethaも 23:52, 11 กันยายน 2554 (ICT)

  1. ผมเห็นว่าการใช้กระบะทรายเป็นเรื่องที่ดีครับ ปรกติเวลาเขียนบทความก่อนให้ีคนอื่นดูควรจะเขียนใน sandbox ของตัวเองอยู่แล้ว นิสิตหลายคนก็ทำเช่นนั้น แต่บางคนก็ไม่ได้ทำ ตรงนี้ผมก็ต้องขออภัยที่ไม่ได้เน้นย้ำให้นิสิตมีความเข้าใจเกี่ยวกับ wikipedia ก่อนที่จะลงมือเขียนบทความ ผมจะกำชับนิสิตให้มีความระมัดระวังมากกว่านี้
  2. ที่บอกว่าอาสาสมัครที่สนใจเขียนบทความมีเพียง 2-3 คน แล้วบทความ 100 กว่าบทความจะสร้าง backlog และ stress คืออะไรครับ? ขออภัยที่ผมไม่ค่อยเข้าใจเรื่องระบบของวิกิพีเดียไทยครับ ทางคุณ taweethaも กำลังบอกว่าบทความทั้งหมดต้อง approve โดยอาสาสมัครทั้ง 2-3 ท่านก่อนถึงจะควรอยู่ใน wiki หรือไม่เช่นนั้นก็ไม่ควรจะมีอยู่เลย? (อาสาสมัครคือผู้ดูแลระบบใช่หรือเปล่าครับ? ผมเข้่าใจว่าบทความทาง comp. sci. มีคนอ่านมากกว่า 2-3 คน?)
  3. ผมไม่แน่ใจว่าทั้งสอง model (1. เขียนลงกระบะทราย --> ตรวจ --> ผ่านค่อยย้าย และ 2. ไม่ใช้ wiki --> ตรวจ --> ย้าย) เป็น model ที่ดีที่สุด ผมคิดว่าการที่นิสิตเขียนบทความโดยรู้ตัวอยู่ว่าบทความของเขาจะต้องผ่านสายตาคนเป็นจำนวนมากและมีคนมาแก้ไขบทความเขาทันทีที่เขียนไม่ถูกต้องเป็นเรื่องที่ดีในการพัฒนาบุคลากร สุดท้ายอาจจะเป็นว่าเป้าหมายของผู้ดูแลวิกิพีเดียไทยกับเป้าหมายของผมอาจจะไม่เหมือนกันจนเกินไป (ทาง wiki บอกว่าอยากได้บทความที่มีคุณภาพเท่านั้น ไม่รับผลงานคุณภาพแย่ ๆ ทางผมบอกว่าอยากให้นิสิตได้ลองเขียนบทความใน wiki และเห็นการพัฒนาของงาน)
  4. ผมเสนอว่า model ที่ผมอยากให้เป็นคือ "เขียนลงกระบะทราบ --> นิสิตเป็นผู้คิดว่าบทความของตัวเองสมควรให้คนอื่นเห็นหรือยัง --> ย้าย" การตรวจงานเป็นประเด็นรองครับ ผมคิดว่า model ดังกล่าวจะดีกับวิกิพีเดียไทยมากที่สุด เพราะ 1. นิสิตได้เห็นการทำงานบแบบเสรีจริง ๆ ซึ่งน่าจะมีผลต่อการทำให้นิสิตสนใจวิกิพีเดียไทยมากขึ้่น 2. วิกิพีเดียไทยได้บทความจำนวนมากกว่า (ถึงแม้จะมีหลาย ๆ บทความที่คุณภาพไม่ถึงขั้นที่ผู้ดูแลอยากให้เป็น) ต้องขออภัยด้วยที่ผมเสนอ model โดยที่ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ ผมเข้าใจไปเองว่าวิกิพีเดียไทยนั้นต้องการให้มี "บทความที่ไม่ได้ึคุณภาพ" มากกว่า "ไม่มีบทความ" ซึ่งถ้าผมเข้าใจผิดก็ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้อีกครั้งด้วยครับ

--N nattee 00:23, 12 กันยายน 2554 (ICT)

  1. อย่างไรก็ตาม ผมต้องขออภัยอีกครั้งสำหรับการกระทบกระทั่งกันระหว่างนิสิตกับอาสาสมัครนะครับ

--N nattee 00:32, 12 กันยายน 2554 (ICT)


อาสาสมัครนั้น หมายความว่า ผู้ใช้ทั่ว ๆ ไปครับ ซึ่งอาจทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลประกอบด้วยหรือไม่ก็ได้ครับ โดยคุณ Taweetham หมายความว่า มีบทความไหลมาเทมาเป็นจำนวนมาก แต่ยังขาดคุณภาพอยู่ ทำให้ต้องตรวจแก้อีกระดับหนึ่ง (เช่น จัดรูปแบบ, ปรับภาษา ฯลฯ) และผู้ใช้ที่สนใจในสาขาคอมพิวเตอร์นี้ (และพร้อมจะตรวจแก้ให้) มีแค่ 2-3 คน ครับ การตรวจแก้เช่นว่านี้จึงอาจกินระยะเวลานานได้ครับ --Aristitleism 00:36, 12 กันยายน 2554 (ICT)

ผมลองเสนอว่าให้นิสิตเป็นคนตรวจแก้เองก่อนจะดีหรือเปล่าครับ? ถ้าทางอาสาสมัครคิดว่าเป็นเรื่องที่ปล่อยไว้ก่อนได้ เช่นบทความบางคนตอนนี้ก็ยังไม่ดี แต่สักพักนิสิตก็ควรจะเขียนให้ดีขึ้นได้เอง คือผมไม่อยากให้มองว่านิสิตเขาจะเขียนแล้วก็ทิ้งไว้อย่างนั้น และก็ไม่อยากให้มองว่าบทความทั้งหมดนี้จะต้องตรวจแก้โดยอาสาสมัครอื่น ๆ เท่านั้น อย่างน้อย ในเวลาช่วงนี้ (ก่อนสิ้นก.ย.) นิสิตทุกคนก็คืออาสาสมัคร (แน่นอนว่าผมจะพยายามทำให้นิสิตแต่ละคนอ่านหลักการใช้งาน wiki ให้มากที่สุดก่อนที่จะเขียนบทความ และใช้ sandbox เป็นหลักครับ) --N nattee 00:46, 12 กันยายน 2554 (ICT)
ผมก็อยากให้มีอาสาสมัครมาลองช่วยตรวจแก้บ้าง นิสิตก็จะได้เห็นว่าบทความที่ควรจะเป็นนั้นเป็นอย่างไร ประเด็นคือไม่อยากให้มองว่าทั้ง 120 บทความเป็น "ภาระ" ที่เพิ่มขึ้นของวิกิพีเดียไทย แต่เป็น "ความร่วมมือ" ของ "มือใหม่" จำนวน 120 คน หรือเป็น "ภาระ" ของอาสาสมัครเพียง 2-3 คน แต่เป็น "งานส่วนรวม" ของอาสาสมัครเก่า + มือใหม่ (อย่างไรก็ตาม ผมมีแนวคิดตังกล่าวมาจากพื้นฐานที่ว่า วิกิพีเดียไทยนั้นต้องการให้มี "บทความที่ไม่ได้ึคุณภาพ" มากกว่า "ไม่มีบทความ" และ วิกิพีเดียไทยต้องการ "มือใหม่" ถ้าไม่ใช่ก็ต้องขออภัยอีกครั้งครับ) --N nattee 00:46, 12 กันยายน 2554 (ICT)

  1. ในทางเทคนิคบทความที่เขียนใน name space บทความแสดงผลทันที โดยไม่จำเป็นต้องมีใครตรวจตราหรือ approve อีกครับ และ search ได้ใน google ในเวลาอีกไม่กี่นาทีต่อมา ในทางปฏิบัติอาสาสมัครที่ใส่ใจก็จะคอยตามดูบทความใหม่เหล่านั้นและขัดเกลาให้เหมาะสม ถ้าเป็นโฆษณาหรือก่อกวนก็จะแจ้งลบหรือลบเองเลย (เฉพาะ WP:ADMIN) ถ้าบทความไม่เข้าข่ายลบตรงนี้คงจะใช้เวลานานและอาสาสมัครบางคนอาจจะเครียดที่ต้องประมือกับนิสิต (หรือโดนนิสิตรุมเวลาอภิปรายถกเถียงกัน)
  2. ถ้ามีไม่เกิน 10 คน ผมคิดว่าเขียนลงบทความจริงไปเลยก็ได้ ไม่ส่งผลกระทบมากครับ แต่หลักร้อย จึงเสนอสองโมเดลดังกล่าวไป (ชาววิกิพีเดียหลายคนแม้เขียนบทความจนชำนาญแล้วก็ยังใช้กระบะทรายอยู่นะครับ มันแล้งแต่ความถนัดส่วนบุคคล ผมไม่ค่อยชอบใช้กระบะทรายเพราะอยากให้คนอื่นช่วยต่อเติมเร็วๆ มากกว่า) กระบะทรายนี้ทุกคนมองเห็นได้ ทุกคนแก้ไขได้ แต่โดยมารยาทแล้วเราจะไม่ยุ่งกระบะทรายของคนอื่น ยกเว้นมีโฆษณาหรือใส่ข้อความไม่เหมาะสม
  3. เขียนลงกระบะทราย --> นิสิตเป็นผู้คิดว่าบทความของตัวเองสมควรให้คนอื่นเห็นหรือยัง --> ย้าย แบบนี้ก็ได้ครับ อาจดีกว่าที่ผมเสนอไปก็ได้ แต่ bottom line คือ ไม่ว่าอาจารย์ตรวจหรือนักศึกษาพิจารณาตัวเอง เมื่อลงสู่หน้าปกติแล้วทุกคนแก้ไข (รวมถึงลบ/รวม/ย้าย) ได้ทันที โดยไม่อยู่ในอำนาจของใครคนใดคนหนึ่ง (แอดมินอาจเป็นผู้พิจารณาตามคำขอ แต่มันก็มาจากการเสนอของทุกคน) แม้ลบไปแล้วอาจเรียกคืนก็ได้อีก ซึ่งขอให้เตรียมตัวเตรียมใจกันไว้เลยว่างานนี้อาจจะยาวแน่
  4. คุณภาพมันวัดกันเป็นปริมาณเพื่อกำหนด threshold ได้ยากมากครับ sentiment อาสาสมัครส่วนหนึ่งอาจเป็น perfectionist เขาก็อาจไม่ชอบบทความบางอันที่นิสิตเขียนได้ไม่ดี แต่ความเห็นส่วนตัวผมคือ วิกิพีเดียไทยจะสร้าง impact ได้ เราต้องขยายฐานให้กว้างกว่านี้ ผมยอมหลับตาข้างหนึ่ง compromise ให้ได้ human resource เพิ่ม และเชื่อว่าต่อไปคุณภาพจะเพิ่มขึ้นเอง
  5. ผมเห็นด้วยในแนวทางข้างต้น ที่กล่าวว่าไม่ควรมองว่า 120 บทความนี้เป็น ภาระ/liability แต่มองมันเป็น สินทรัพย์ทางปัญญา/asset ของวิกิพีเดียไทย และควรให้มือใหม่ 120 คนลองทำตัวประหนึ่งอาสาสมัครเองไปเลย อย่างไรก็ดี นี่คือความเห็นส่วนบุคคล ซึ่งถ้ามีผู้ใดมาโต้แย้ง/คัดค้าน ผมก็จะช่วยพูดให้ครับ -- ในต่างประเทศนักเรียนระดับอุดมศึกษาเป็นกำลังสำคัญที่สุดของการพัฒนาวิกิพีเดีย และมหาวิทยาลัยหลายแห่งก็มอบหมายงานให้นิสิต นักศึกษาเขียนบทความบนวิกิพีเดีย -- ผมก็คิดว่างานนี้น่าจะเป็นงานแรกที่เราจะได้ทำให้สำเร็จได้ในวิกิพีเดียไทย (ขอขอบคุณอีกครั้งที่เลือกวิกิพีเดียไทย) และต่อไปแขนงวิชาอื่นหรือสถาบันอื่นก็จะตามมา

ป.ล.

  1. นอกจากเรื่องเขียนบทความ ขอเตือนล่วงหน้าเรื่องภาพครับ ขอให้ใช้ Wikimedia commons เป็นหลัก (ไม่ต้องอัปโหลดเอง) หากอัปโหลดเองต้องระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยครับ (ตรงนี้เราเคร่งครัดกว่าบทความ ผมลบรูปวันหนึ่งเฉลี่ยหลายสิบรูปอยู่แล้ว)
  2. ในวิกิพีเดียมีหน้าหลักเกณฑ์ต่างๆ มากมาย (ยอมรับว่าอาจยุ่งยากและไม่เป็นระเบียบ) ส่วนหนึ่งก็จะมีอยู่ในหน้าต้อนรับ อย่างข้างบน หรือ ผู้ใช้:Taweetham/ยินดีต้อนรับ ถ้าเป็นไปได้อยากให้กำชับให้อ่านคร่าวๆ ก่อน แน่นอนว่าผู้ใช้ใหม่มักผิดเสมอ เมื่อผิดแล้วมีคนเตือนก็อยากให้นิสิตศึกษาข้อผิดพลาดดูอีกที ไม่ต้องเสียกำลังใจหรือแถสู้กับคนที่มาเตือน ถ้าผิดก็แก้ไข ถ้าเชื่อว่าไม่ผิดก็อภิปรายพูดคุยใช้เหตุผลกันไป ไม่อยากให้เครียดกันทุกฝ่าย ไม่ว่าอาจารย์ นิสิต หรืออาสาสมัครเดิมในวิกิพีเดียไทย

--taweethaも 00:50, 12 กันยายน 2554 (ICT)


  1. ต้องกราบขออภัยอีกครั้งที่ผมไม่ได้แจ้่งให้นิสิตทราบชัดเจน นิสิตหลายคนมาบอกว่าบทความของเขาถูกแก้ ซึ่งความเห็นของผมคือมันก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วที่บทความจะโดนแก้ไขโดย editor คนอื่น ๆ แต่ด้วยความที่นิสิตอาจจะสนใจในเรื่องของคะแนนมากกว่า ทำให้รู้สึกว่าถูกกดดันหรือว่าจะมีปัญหา ตรงนี้ผมจะพยายามทำควา่มเข้าใจกับนิสิตให้มากที่สุดครับ ต้องขออภัยอีกครั้งหนึ่ง
  2. ผมอยากจะเรียนทางผู้ดูแลว่า ไม่ต้องสนใจเรื่องคะแนนหรือการตรวจของทางผมเลยครับ ให้ทำตามที่คิดว่าดีที่สุดสำหรับวิกิไทยได้เลย ถ้าบทความแย่ อยากจะแก้ไข หรือเปลี่ยนชื่อ หรือว่าลบ ก็ทำได้ตามสะดวก (ถ้าเป็นไปได้อยากจะขอความกรุณาว่าถ้า article มีข้อเสียเพียงแค่คุณภาพแ่ย่ ๆ ก็อยากจะให้รอสักหน่อยครับ คาดว่าทางนิสิตจะพยายามทำงานให้ดีขึ้นในเวลาอันสั้น และผมจะกำชับเขาอีกรอบว่าให้ย้ายไปทำใน sandbox ดีกว่า)
  3. ขอบคุณที่แจ้งเรื่องรูปภาพครับ

--N nattee 01:07, 12 กันยายน 2554 (ICT)


รับทราบครับ คิดว่าเข้าใจตรงกันดีแล้วครับ แต่อาจมีปัญหาเฉพาะหน้ารายวันให้แก้ไขกันต่อไปจนกว่าจะถึงสิ้นเดือนนี้ --taweethaも 01:15, 12 กันยายน 2554 (ICT)


หากต้องการประสานงานหรือชี้แจงแบบพบหน้ากัน ดิฉันยินดีไปพบอาจารย์ที่คณะ ด้วยมี drive พิเศษที่ต้องการมีส่วนช่วยพัฒนารุ่นน้องด้วยในฐานะนิสิตเก่า ในเบื้องต้นขอชี้แจงข้อสงสัยของอาจารย์ก่อน

  1. การเข้าไปแก้ไขบทความต่างๆ ของอาสาสมัครจะมีลักษณะโดยทั่วไป (but not limited to) คือ
    1. ตรวจลิขสิทธิ์หรือสงสัยว่าละเมิดลิขสิทธิ์
    2. ตรวจภาษาและความเป็นสารานุกรมว่าไม่ได้ใช้เครื่องแปลภาษา ไม่เขียนโฆษณาหรืออื่นๆ ที่ไม่ใช่สารานุกรม
    3. จัดหมวดหมู่ หลายบทความที่นิสิตเขียนมาไม่ได้จัดหมวดหมู่ ซึ่งบทความที่ไม่ได้จัดหมวดหมู่จะเหมือนอยู่นอกเรดาร์การสำรวจ ไม่อยู่ภายใต้การดูแลของใครเลย ถ้าเป็นบทความที่มีปัญหาก็อาจไม่มีใครพบจนไปทำให้เกิดความเสียหายภายหลัง
    4. ใส่ลิงก์ข้ามภาษา คือลิงก์ไปยังวิกิพีเดียภาษาอื่นๆ (ถ้ามี) ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านสามารถสืบค้นข้อมูลในภาษาอื่นได้มากขึ้น
    5. ตรวจอ้างอิงว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ (บางครั้งจะมีพวกเว็บโฆษณา เป็นใครก็ไม่รู้มีแต่เว็บของตัวเองมาอ้างอิง) พึงทราบด้วยว่าวิกิพีเดียไม่อ้างอิงวิกิพีเดียด้วยกัน ดังนั้นบทความที่ใส่วิกิพีเดียภาษาอังกฤษเป็นแหล่งอ้างอิงจึงใช้ไม่ได้
    6. อื่นๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพบทความ เช่นการใส่รูป การตรวจแก้ตัวสะกด ใส่ลิงก์ภายใน ฯลฯ
  2. บทความในวิกิพีเดียไม่มีการ approve เพราะเหตุนี้จึงเรียกว่าเป็นสารานุกรมเสรี คือทุกคนสามารถมีส่วนเขียนได้ทั้งนั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเขียนอย่างไรก็ได้ ไม่งั้นก็เละตุ้มเป๊ะไปหมด เหตุนี้จึงมีการกำหนดนโยบาย ซึ่งนโยบายก็มาจากการอภิปรายและหาข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ใช้นั่นเอง
  3. เนื่องจากทุกบทความในเนมสเปซหลักจะเผยแพร่ทันที ดังนั้นถ้ามีบทความเทเข้ามาเป็นจำนวนมาก อาสาสมัครจะไม่สามารถดูแลตรวจแก้บทความให้เข้าฟอร์แม็ตของเว็บได้ทัน และกลายเป็นบทความที่ไม่มีใครตรวจเพราะมันก็มีภารกิจอื่นต้องทำกันทุกวันค่ะ ตัวอย่างของปัญหาก็เช่น บทความไม่ได้จัดหมวดหมู่ ตกสำรวจ อยู่นอกเรดาร์ ใส่ลิงก์ภายใน/ภายนอก/ข้ามภาษาไม่ถูกต้อง ตัวอย่างนะคะ ที่อาจารย์เพิ่งแก้ลิงก์ข้ามภาษาในบทความ ตัวสร้างเลขสุ่มเทียม หัวข้อ รายการของ เครื่องกำเนิดลำดับสุ่มเสมือน นั่นก็ผิดค่ะ และการใส่ลิงก์ข้ามภาษาจำนวนมากๆ แบบในบทความนั้นก็ไม่เหมาะสม ที่ถูกควรทำเป็นลิงก์แดงไว้และวงเล็บลิงก์ข้ามภาษาไว้ข้างๆ เพราะถ้ามีการสร้างบทความบางเรื่องขึ้นในภาษาไทยแล้ว เช่น Blum Blum Shub ก็จะไม่มีใครรู้เลย
  4. บทความในวิกิพีเดียเผยแพร่ใต้สัญญาอนุญาต WP:CC-BY-SA ดังนั้นจะมาห้ามผู้อื่นแก้ไขไม่ได้ นิสิตบางคนถึงกับขึ้นป้ายเหนือบทความว่า "อย่ามาแก้ไขเพราะกำลังเขียนบทความเพื่อส่งอาจารย์ตรวจ" ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดอย่างแรง

สุดท้ายขอให้กำลังใจอาจารย์ และยินดีให้ความร่วมมือเต็มที่เท่าที่จะมีเวลาทำได้ (ทุกคนในที่นี้เป็นอาสาสมัครทั้งนั้นค่ะ :)) หากสามารถทำโครงการความร่วมมือให้เป็นเรื่องเป็นราวได้ ดิฉันจะดีใจมาก และอยากให้เป็นอย่างนั้นด้วยเพื่อช่วยกันเผยแพร่แนวทางในการสร้างองค์ความรู้ดีๆ --Tinuviel | พูดคุย 01:25, 12 กันยายน 2554 (ICT)

  1. แย่แล้วครับ ผมไม่ได้ต้องการจะแก้ ตัวสร้างเลขสุ่มเทียม หัวข้อ รายการของ เครื่องกำเนิดลำดับสุ่มเสมือน เลยครับ ผมไปอ่านจาก edition ล่าสุดที่ Spartacus แก้ไว้ แล้วเห็นคำว่า "ขอความกรุณาผู้อ่านผู้ปรารถนาดีทุกๆท่านกรุณาอย่าแก้ไขข้อความข้อมูลใดๆก่อนสิ้นเดือนตุลาคมครับ เพราะส่วนนี้จะนำมาใช้ส่งงานอาจารย์และอาจารย์จะเข้ามาตรวจให้คะแนนครับ ขอบคุณครับ" แล้วอยากจะแก้บอกว่าที่เขาเขียนอย่างนั้นมันผิดผิด (ผมลืมไปว่ากำลังดู history และมีของ Octahedron80 แก้มาให้หลายรอบแล้ว) ถ้าเป็นไปได้ช่วย revert การแก้ของผมด้วยครับ มันกลายเป็นว่าผมเอา edition ของ Spartacus มาแก้ทับของ Octahedron80 ขออภัยด้วยครับ (ดูจาก history ที่เทียบของผมกับของ spartacus http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1&action=historysubmit&diff=3446928&oldid=3445231)
  2. นอกเรื่องอีกนิด ถ้าจะเชิญมาบรรยายเรื่องการใช้ wiki จะสะดวกหรือเปล่าครับ?

--N nattee 01:48, 12 กันยายน 2554 (ICT)

เดี๋ยวผมย้อนให้ละกันครับ ไปเป็นรุ่นนี้นะครับ --Aristitleism 02:04, 12 กันยายน 2554 (ICT)
เหมือนผมจะย้อนไปแล้วครับ ไม่แน่ใจว่าทำถูกต้องหรือเปล่า ขอบคุณมากครับ --N nattee 02:08, 12 กันยายน 2554 (ICT)
  1. ไม่ถูกครับ แฮ่ ๆ ผมจึงจัดให้แล้วครับ
  2. ขอแนะนำให้ใช้ "สคริปต์จัดให้" ("สจห.") ครับ จะช่วยให้ผู้ใช้มีความสามารถพิเศษขึ้น สจห. คืออะไร ช่วยอย่างไร และติดตั้งอย่างไร โปรดดูที่ วิกิพีเดีย:สคริปต์จัดให้ ครับ
  3. อ้อ สจห. ทำงานได้ดีในไฟร์ฟอกซ์ครับ ส่วนในโครมก็ทำงานบ้างบางตัว ส่วนอื่น ๆ (ไออี, ซาฟารี ฯลฯ) ยังไม่เคยลองครับ
--Aristitleism 02:11, 12 กันยายน 2554 (ICT)
ขอบคุณครับ --N nattee 02:15, 12 กันยายน 2554 (ICT)

เรื่องเชิญคนไปพูดชี้แจงนิสิตฟังเป็นไอเดียที่ดีครับ แต่เราอาจมีตัวเลือกไม่มากนัก อยากให้ถามคุณ Tinuviel ด้านบน หรือถามคุณ G(x) อาสาสมัครขาประจำซึ่งเป็นนิสิตอยู่ในรั้วเดียวกัน ใจจริงผมอยากได้นิสิตคุยกับนิสิตเองอย่างวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมีโครงการ en:Wikipedia:Campus_Ambassadors --taweethaも 09:12, 12 กันยายน 2554 (ICT)

คือเนื่องจากช่วงนี้ยังไม่ใช่ช่วงปิดเทอมของผมน่ะครับ เลยยังต้องเรียนอยู่ แล้วตารางผมค่อนข้างกระจายตัวอยู่ แต่ถ้าจะให้ผมไปคุยกับอาจารย์ที่รับผิดชอบ ลองติดต่อมาทางผมก็ได้ครับ ถ้าผมว่างผมอาจไปคุยกับอาจารย์ แต่ถ้าไม่ว่างผมอาจช่วยดูและช่วยเข็นบทความสักบนความหนึ่งให้เป็น Example สำหรับนิสิต โดยอาศัยความรู้ที่ผมพอจะเข้าใจจาก ENWP และ Context ที่แปลไว้แล้ว แต่คงไม่ถึงขนาดจะไปสอนนิสิตให้ได้ เพราะผมก็เพิ่งปีหนึ่ง Respect อาจยังน้อยกว่ารุ่นพี่ที่เรียนไปแล้วน่ะครับ อีกอย่างแม้ผมจะเชี่ยวชาญก็จริง แต่ก็ไม่ถึงขนาดว่าจะอธิบายได้เก่งมากมายอะไรนัก ถ้าจะให้คุยเป็นกลุ่มย่อย (ไม่ใช่ Lecture รวม) น่าจะสะดวกกว่าครับ แต่สรุปคือไม่ปฏิเสธครับ จะช่วยเท่าที่ความรู้ผมและเวลามีให้ครับ (ที่เหลือรอคุณ Tinuviel ด้วยครับ ผู้ดูแลน่าจะอธิบายเกี่ยวกับนโยบายและแนวปฏิบัติการลบได้มากกว่าผม) --∫G′(∞)dx 11:07, 12 กันยายน 2554 (ICT)
ยินดีค่ะ แต่อาจเป็นลักษณะพูดคุยซักถามกันหรือเปล่าคะ (ไม่รู้ว่าควรต้องพูดเรื่องอะไรบ้าง) คุณ G(x) ไปด้วยกันนะคะ และน่าจะชวนอาสาสมัครที่อยู่ในกรุงเทพฯ ไปด้วยกันสัก 2-3 คนจะได้ช่วยๆ กันตอบคำถาม --Tinuviel | พูดคุย 21:00, 12 กันยายน 2554 (ICT)
ขอบคุณครับ ผมจะพยายามประสานตารางเวลาดูนะครับ ช่วงนี้กำลังใกล้สอบอาจจะหาตารางยากหน่อย --N nattee 21:13, 12 กันยายน 2554 (ICT)


ผมส่งเมลส่วนตัวหา อันนี้เป็นโครงการที่ใหญ่กว่า ไม่เกี่ยวกับเรื่องงานของนิสิตโดยตรง เผื่อว่าสนใจครับ --taweethaも 10:58, 14 กันยายน 2554 (ICT)

Wikiclubs in schools[แก้]

ยินดีต้อนรับคุณ N nattee เข้าสู่โครงการ Wikiclubs in Schools ของ Wikimedia Thailand

เราจะเริ่มต้นโครงการ Wikiclubs in schools ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จึงขอเชิญชวนทุกท่านโดยเฉพาะผู้ที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป รวมถึงครู อาจารย์ ร่วมระดมความคิดและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ หากท่านสนใจสามารถลงชื่อได้ที่นี่

หากมีข้อสงสัยหรือข้อเสนอแนะ ท่านสามารถคุยกับพวกเราได้ตลอดเวลา ขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับความร่วมมือ

-- N.M. และ taweethaも