คอนตีเนนทัลฮอกกี้ลีก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คอนตีเนนทัลฮอกกี้ลีก
การแข่งหรือฤดูกาลปัจจุบัน:
เหตุการณ์กีฬาปัจจุบัน 2021–22 KHL season
ชื่อก่อนหน้าRussian Superleague
กีฬาฮอกกี้น้ำแข็ง
ก่อตั้ง2008
ประธานDmitry Chernyshenko
คำขวัญХоккей – наша игра! Khokkey – nasha igra! Hockey is our game![1]
จำนวนทีม22
ประเทศ
ทีมชนะเลิศปัจจุบันCSKA Moscow
(1st title)
ทีมชนะเลิศสูงสุดAk Bars Kazan (3)
หุ้นส่วนโทรทัศน์
List
  • KHL-TV (รัสเซีย)[2]
    KHL-TV website
  • Match TV (รัสเซีย)
  • CCTV-5+ (จีน)
  • Qazsport (คาซัคสถาน)
  • Belarus 5 (เบลารุส)
การแข่งขันที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์www.khl.ru

คอนตีเนนทัลฮอกกี้ลีก (อังกฤษ: Kontinental Hockey League - KHL, รัสเซีย: Континентальная Хоккейная Лига, Kontinental'naya Khokkeynaya Liga) เป็นลีกฮอกกี้น้ำแข็งอาชีพระหว่างประเทศในยูเรเซีย ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2551 จนถึง พ.ศ. 2552 มันถูกจัดอันดับว่าเป็นลีกฮอกกี้ที่แข็งแกร่งที่สุดในยุโรป[4][5]

ผู้ชนะเลิศการแข่งขันจะได้ชื่อว่า แชมเปียนแห่งรัสเซีย ไม่ว่าสโมสรนั้นจะมาจากประเทศใดก็ตาม และถ้วยกาการิน ซึ่งตั้งชื่อตามนักบินอวกาศ ยูริ กาการิน ชายคนแรกที่เดินทางออกนอกอวกาศและไปถึงวงโคจรของโลก เป็นรางวัลมอบให้แก่ผู้ชนะเลิศในการแข่งขันทุกปี หลังการแข่งขันแบบเพลย์ออฟ 16 ทีมฤดูกาลปกติ สโสมรจาก KHL สองทีมจะได้รับสิทธิ์เข้าแข่งขันในฤดูกาลแชมเปียนส์ฮอกกี้ลีก

ลีกดังกล่าวก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2551 โดยองค์การก่อนหน้า คือ รัสเซียซูเปอร์ลีก (RSL) ซึ่งเกิดหลังจากโซเวียตแชมเปียนชิพลีก ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2489 โดยมีทีมเพียงห้าทีม KHL จัดขึ้นครั้งแรกโดยมี 24 ทีม หลังการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบของทีมรัสเซียและลดจำนวนทีมเข้าแข่งขันเหลือ 23 ทีมในฤดูกาล 2010-2011 ลีกกลับมามี 22 ทีมอีกครั้งในฤดูกาล 2021-2022 ในบรรดาทีมเหล่านี้ 19 ทีมตั้งอยู่ในสหพันธรัฐรัสเซีย ส่วนที่เหลือมาจากเบลารุส คาซัคสถาน และจีนประเทศละทีม

ผู้เล่นส่วนใหญ่ใน KHL เป็นชาวรัสเซีย เพราะลีกนี้มีต้นกำเนิดมาจากลีกประจำชาติของโซเวียตและรัสเซีย ผู้เล่นที่ไม่ได้มาจากรัสเซียเป็นส่วนน้อย 30% ของผู้เล่นใน KHL ส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรปตะวันออก, สแกนดิเนเวีย และอเมริกาเหนือ ในฤดูกาล 2010-2011 มีผู้เล่นในลีก 670 คน แม้ว่าปัจจุบันจะไม่มีการจำกัดให้ทีมและผู้เล่นมีเฉพาะที่มาจากรัสเซียแล้วก็ตาม ทีมรัสเซียยังคงถูกห้ามมิให้เซ็นสัญญารับผู้เล่นต่างชาติเข้ามาเกินห้าคน

อ้างอิง[แก้]

  1. Новый игровой ролик КХЛ "Пробка" (ภาษารัสเซีย). khl.ru. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-09. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
  2. "Crossing the Atlantic". khl.ru. 2010-04-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-16. สืบค้นเมื่อ 2019-10-26.
  3. "KHL Creates Hockey Premier League". March 22, 2016. สืบค้นเมื่อ May 6, 2016.
  4. KHL to match NHL in five years RT, 2009-05-15
  5. "Russian league tops first CHL ranking". สืบค้นเมื่อ 2009-11-03.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • (รัสเซีย) www.khl.ru - โฮมเพจอย่างเป็นทางการ