ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แพนด้ายักษ์ เป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นของประเทศจีน ซึ่งเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์และได้รับการป้องกัน
ลิงจมูกเชิด สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นอีกสายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์

ภูมิประเทศที่มีขนาดใหญ่และหลากหลายของประเทศจีน เป็นบ้านที่มีความหลากหลายและความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ป่าอย่างลึกซึ้ง ในฐานะที่เป็นหนึ่งใน 17 ประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในโลก[1] จากประมาณการ ประเทศจีนมีสัตว์มีกระดูกสันหลัง 7,516 สายพันธุ์ ซึ่งประกอบด้วย ปลา 4,936 สายพันธุ์, นก 1,269 สายพันธุ์, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม 562 สายพันธุ์, สัตว์เลื้อยคลาน 403 สายพันธุ์ และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 346 สายพันธุ์[2] ในแง่ของจำนวนของสายพันธุ์ ประเทศจีนมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมากเป็นอันดับสามของโลก,[3] มีนกมากเป็นอันดับแปด,[4] สัตว์เลื้อยคลานมากเป็นอันดับเจ็ด[5] และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมากเป็นอันดับเจ็ด[6] โดยในแต่ละประเภท ประเทศจีนนับว่ามีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดของประเทศนอกเขตร้อน

ประเทศจีนมีสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นอยู่หลายสายพันธุ์ ทั้งยังเป็นประเทศที่มีแพนด้ายักษ์ ซึ่งเป็นสัตว์ป่าที่มีชื่อเสียงมากที่สุด รวมถึงหนึ่งในหกของสายพันธุ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และสองในสามของสายพันธุ์สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ต่างก็เป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นของประเทศจีน[3][6]

ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศจีนที่อาศัยอยู่ร่วมกัน กับการแบกรับความกดดันจากจำนวนประชากรมนุษย์ที่มีมากที่สุดในโลก มีสัตว์อย่างน้อย 840 สายพันธุ์ที่ถูกคุกคาม, เสี่ยงอันตรายต่อการสูญพันธุ์ในประเทศจีน โดยมีสาเหตุหลักมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การทำลายสิ่งแวดล้อม, มลพิษ และการแย่งอาหาร, การใช้ขนสัตว์ และส่วนผสมสำหรับการแพทย์แผนจีน[7] สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และในขณะที่ปี ค.ศ. 2005 ประเทศนี้มีพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติถึงกว่า 2,349 แห่ง โดยครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 149.95 ล้านเฮกตาร์ (578,960 ตารางไมล์) ซึ่งคิดเป็นประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ประเทศจีนทั้งหมดที่มีอยู่[8]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. "Biodiversity Theme Report". Environment.gov.au. 10 December 2009. สืบค้นเมื่อ 27 April 2010.
  2. "Number of vertebrate species in China in 2012, by type" Accessed 2014-06-24
  3. 3.0 3.1 IUCN Initiatives – Mammals – Analysis of Data – Geographic Patterns 2012. IUCN. Retrieved 24 April 2013. Data does not include species in Taiwan.
  4. Countries with the most bird species. Mongabay.com. 2004 data. Retrieved 24 April 2013.
  5. Countries with the most reptile species. Mongabay.com. 2004 data. Retrieved 24 April 2013.
  6. 6.0 6.1 IUCN Initiatives – Amphibians – Analysis of Data – Geographic Patterns 2012. IUCN. Retrieved 24 April 2013. Data does not include species in Taiwan.
  7. Top 20 countries with most endangered species IUCN Red List. 5 March 2010. Retrieved 24 April 2013.
  8. "Nature Reserves". China.org.cn. สืบค้นเมื่อ 2 December 2013.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]