ฝันจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฝันจีน (อังกฤษ: Chinese Dream, จีนตัวย่อ: 中国梦; จีนตัวเต็ม: 中國夢; พินอิน: Zhōngguó mèng จงกั๋วเมิ่ง) เป็นคำใหม่ในความคิดสังคมนิยมจีนและอธิบายชุดอุดมคติในสาธารณรัฐประชาชนจีน[1] นักหนังสือพิมพ์ ข้าราชการรัฐบาลและนักเคลื่อนไหวใช้คำนี้อธิบายบทบาทของปัจเจกบุคคลในสังคมจีน[2]

ในปี 2556 เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน สี จิ้นผิง เริ่มส่งเสริมวลีดังกล่าวเป็นคำขวัญ นำให้มีการใช้อย่างกว้างขวางในสื่อจีน[3] สีอธิบายฝันนี้ว่าเป็น "การคืนพลังชาติ การพัฒนาการดำรงชีพของประชาชน ความมั่งคั่ง การสร้างสังคมที่ดีกว่าและการเสริมกำลังทหาร" เขายังแถลงว่า เยาวชนควร "กล้าฝัน เพียรทำงานเพื่อเติมเต็มฝันและมีส่วนให้ชาติกลับมีชีวิตอีกครั้ง"[4] วารสารทฤษฎีของพรรค ฉิวชื่อ ว่า ฝันจีนว่าด้วยความมั่งคั่งของจีน ความพยายามร่วม สังคมนิยมและเกียรติยศแห่งชาติ[5]

แม้นักหนังสือพิมพ์ตะวันตกและนักเคลื่อนไหวจีนจำนวนมากเคยใช้วลีนี้[6][7] แต่บ้างเชื่อว่า การแปลบทความนิวยอร์กไทมส์ เขียนโดยนักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกัน ทอมัส ฟรีดแมน "จีนต้องการฝันของตัว" (China Needs Its Own Dream) ได้รับความชอบจากการเผยแพร่มโนทัศน์นี้ในประเทศจีน[7] เขาว่า คำนี้มาจากเพ็กกี ลิวและโครงการฝันจีนขององค์การนอกภาครัฐด้านสิ่งแวดล้อม JUCCCE[8][9] ซึ่งนิยามฝันจีนว่าเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. Central Party School/Central Committee of the Communist Party of China. "The Chinese Dream infuses Socialism with Chinese characteristics with New Energy". Qiushi. chinacopyrightandmedia.wordpress.com. สืบค้นเมื่อ 9 June 2013.
  2. "Chasing the Chinese dream," The Economist May 4, 2013, pp 24-26]
  3. "Xi Jinping and the Chinese Dream," The Economist May 4, 2013, p 11 (editorial)
  4. Yang Yi, "Youth urged to contribute to realization of 'Chinese dream'", Xinhuanet English.news.cn 2013-05-04
  5. Shi, Yuzhi (20 May 2013). "中国梦区别于美国梦的七大特征" [Seven reasons why the Chinese Dream is different from the American Dream]. Qiushi (ภาษาจีน). Central Party School/Central Committee of the Communist Party of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-20. สืบค้นเมื่อ 9 June 2013.
  6. Fallows, James (3 May 2013). "Today's China Notes: Dreams, Obstacles". The Atlantic.
  7. 7.0 7.1 "The role of Thomas Friedman". The Economist. 6 May 2013.
  8. Fish, Isaac Stone (3 May 2013). "Thomas Friedman: I only deserve partial credit for coining the 'Chinese dream'". Foreign Policy.
  9. 9.0 9.1 "China Dream". JUCCCE.