กุมภัณฑ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กุมภัณฑ์ (บาลี: Kumbhaṇḍa; สันสกฤต: Kumbhāṇḍa) คือ เทวดากลุ่มหนึ่งตามความเชื่อในศาสนาพุทธ มีร่างสูงใหญ่ ท้องโต ตาโตแดงก่ำ[1] เป็นบริวารของท้าววิรุฬหก[2] กุมภัณฑ์มี 3 พวก คือ

รูปสลักกุมภัณฑ์ สร้างจากหินแกรนิตดำ
  • กุมภัณฑ์ชั้นสูงอาศัยในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา มีหน้าที่รักษาประตูสวรรค์ บางพวกก็ได้ตำแหน่งเป็นพระยม ไปทำหน้าที่ตัดสินตามขุมนรกต่างๆ บ้างก็เป็นนายบัญชี ผู้อ่านบัญชีกรรม
  • กุมภัณฑ์ชั้นกลางอาศัยอยู่บนโลก ทำหน้าที่รักษาสถานที่ต่าง ๆ หากมีผู้ล่วงล้ำเข้าไป ก็จะจับผู้นั้นกินเสีย กุมภัณฑ์กลุ่มนี้ เหมือนพวกรากษส
  • กุมภัณฑ์ชั้นต่ำคือ ยมทูต ยมบาล อาศัยในนรกภูมิ มีหน้าที่ลงโทษสัตว์นรกต่าง ๆ ตามกรรมที่สัตว์นั้นได้ทำไว้

ในคติฮินดู มีลักษณะ เป็นยักษ์แคระ พุงโต ผมหยิก ชอบกินเนื้อและดื่มสุรา ในรามเกียรติ์ กุมภกรรณ และ มูลพลัม เป็นยักษ์ที่มีลักษณะเหมือนพวกกุมภัณฑ์


อ้างอิง[แก้]

  1. พระสัทธัมมโชติกะ, ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริจเฉทที่ 5 เล่ม 1 วีถิมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะและปฏิสนธิจตุกกะ, พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ : มูลนิธิสัทธัมมโชติกะ, 2546, หน้า 107
  2. มหาสมัยสูตร, พระไตรปิฎก เล่มที่ 10 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 2 ทีฆนิกาย มหาวรรค