การแลกเปลี่ยนนักโทษกิลัด ชาลิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นายกรัฐมนตรีอิสราเอลต้อนรับชาลิตกลับสู่มาตุภูมิ วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การแลกเปลี่ยนนักโทษกิลัด ชาลิต หลังความตกลงระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส ในการปล่อยตัวทหารอิสราเอล กิลัด ชาลิต แลกกับการปล่อยตัวนักโทษ 1,027 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวปาเลสไตน์และอาหรับ-อิสราเอล แม้ในบรรดานักโทษที่ปล่อยตัวมานั้นจะมีนักโทษชาวยูเครน[1] ชาวจอร์แดน[2] และชาวซีเรีย[3] อย่างละคนด้วยก็ตาม นักโทษจำนวนนี้ 280 คนถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตในข้อหาวางแผนและเตรียมการก่อการร้ายต่อเป้าหมายอิสราเอล[4][5] ความตกลงดังกล่าวออกมาหลังกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์จับตัวชาลิตทางตอนใต้ของอิสราเอลตามแนวชายแดนติดกับกาซาห้าปีสี่เดือน

ข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งมีนายหน้าเป็นผู้ไกล่เกลี่ยชาวเยอรมันและชาวอียิปต์ ตลอดจนได้รับการประสานงานจากเจ้าหน้าที่บุนเดสนัชริชเทนไดแอนสท์ (หน่วยสืบรัฐการลับเยอรมนี) แกร์ฮาร์ด คอนรัด[6] มีการลงนามในอียิปต์เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ระยะแรกดำเนินการเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554 โดยอิสราเอลปล่อยตัวนักโทษชาวปาเลสไตน์ 477 คน และฮามาสส่งตัวชาลิตไปยังกรุงไคโร[7] ในระยะที่สอง เกิดขึ้นระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 นักโทษอีกอย่างน้อย 550 คนจะถูกปล่อยตัว[8]

ความตกลงนี้นับเป็นความตกลงแลกเปลี่ยนนักโทษครั้งใหญ่ที่สุดที่อิสราเอลเคยทำมา โดยเป็นความตกลงที่อิสราเอลตกลงปล่อยตัวนักโทษ 1,027 คนแลกกับทหารอิสราเอลที่ถูกจับตัวไปคนเดียว นับเป็นราคาสูงสุดที่อิสราเอลเคยจ่ายไปแลกกับทหารนายหนึ่ง[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. Ukrainian mother of two among released Palestinian prisoners | World | RIA Novosti. En.ria.ru. Retrieved on 2011-10-20.
  2. Deported Palestinian prisoners face new life of exile – World – CBC News. Cbc.ca (2011-10-13). Retrieved on 2011-10-20.
  3. Damascus ignores only Syrian prisoner freed in Israeli swap deal[ลิงก์เสีย] Monsters and Critics (2011-10-19). Retrieved on 2011-10-22.
  4. Hamas to gain politically from prisoner swap deal. News.xinhuanet.com. Retrieved on 2011-10-20.
  5. Mishra, Harinder (12 October 2011). "Israel to release 1,027 prisoners for its lone soldier". IBN Live. Jerusalem. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-11. สืบค้นเมื่อ 16 October 2011.
  6. Gerhard Conrad: German Mr Hezbollah who helped to free Gilad Shalit | World news. The Guardian. Retrieved on 2011-10-20.
  7. "Captured soldier Gilad Shalit returns to Israel after five years in captivity". News Core. 18 October 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-18. สืบค้นเมื่อ 18 October 2011.
  8. Ben Quinn and agencies. "Gilad Shalit freed in exchange for Palestinian prisoners | World news". The Guardian. UK. สืบค้นเมื่อ 19 October 2011.
  9. Issacharoff, Avi (15 March 2011). "MESS Report-Israel News – Haaretz Israeli News source". Haaretz. Israel. สืบค้นเมื่อ 19 October 2011.