กรมการเงินทหารบก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมการเงินทหารบก
กรมการเงินทหารบก
ประเทศ ไทย
บทบาทเบิกเงิน[1]
จ่ายเงิน[1]
บัญชีเงิน[1]
งบประมาณของกองทัพบก[1]
กองบัญชาการกองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) ถนนราชดำเนินนอก แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[2]
คำขวัญสุจริตํ อมตํ กมฺมํ
(ความสุจริตเป็นการกระทำที่ไม่ตาย)[3]
สีหน่วย  ฟ้า[3]
สัญลักษณ์นำโชคช้างสามเศียร[3]
วันสถาปนา6 มิถุนายน พ.ศ. 2481; 85 ปีก่อน (2481-06-06)[4]
ปฏิบัติการสำคัญสงครามไซเบอร์[5]
ผู้บังคับบัญชา
เจ้ากรมการเงินทหารบกพลตรี เทอดศักดิ์ วงศ์จันทร์​[6]
ผบ. สำคัญพันเอก พระสุริยสัตย์[1]
พลตรี ชูชาติ สุกใส[4]

กรมการเงินทหารบก (อักษรย่อ: กง.ทบ.; อังกฤษ: Finance Department) เป็นหน่วยงานราชการของกองทัพบกไทย ซึ่งมีบทบาทในด้านการเงินและการบัญชี[7] โดยมีเจ้ากรมการเงินทหารบกคนปัจจุบันคือ พลตรี[8] เทอดศักดิ์ วงศ์จันทร์​[9]

ประวัติ[แก้]

งานด้านการเงินของกองทัพบกไทย ได้เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2440 ซึ่งมีการปรับปรุงกิจการกองทัพบก ตามแบบโลกตะวันตก และแยกงานการเงินมาอยู่ที่กรมยกบัตรทหารบก ก่อนมีการเปลี่ยนชื่อเป็นกรมคลังเงินทหารบก, กรมปลัดบาญชี, กรมปลัดบาญชีทหารบก ตามลำดับ[1]

ปี พ.ศ. 2460 ได้มีการจัดตั้งกรมคลังเงินทหารบก โดยได้โอนกิจการกลับมาจากกรมปลัดบาญชีทหารบก และมีเจ้ากรมคลังเงินทหารบกทำหน้าที่ผู้บังคับบัญชา[1]

ส่วนปี พ.ศ. 2465 มีการจัดตั้งโรงเรียนการสมุหบาญชีทหารบกขึ้นในกรมจเรพัสดุทหารบก ซึ่งทำหน้าที่ฝึกนายทหาร หรือบุคคล ให้ทำหน้าที่สมุหบาญชี หรือเจ้าพนักงานคลังเงิน แล้วมีการเปลี่ยนชื่อเป็นกรมปลัดบาญชีทหาร และกรมปลัดบาญชีทหารบก ตามลำดับ[1]

สำหรับปี พ.ศ. 2473 ได้มีคำสั่งให้กรมปลัดบาญชีทหารบก มารวมกับกรมพลาธิการทหารบก โดยการจัดภารกิจและหน้าที่ ยังคงอยู่ในแบบเดิม[1]

กระทั่งปี พ.ศ. 2481 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดหน่วยย่อยในกระทรวงกลาโหม ให้มีการจัดตั้งกรมการเงินทหารบก เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกองทัพบก ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2481 โดยมีพันเอก พระสุริยสัตย์ เป็นเจ้ากรมการเงินทหารบกคนแรก[1]

การถูกโจมตี[แก้]

ช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 หลังจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติผ่านร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับแก้ไข ซึ่งแม้จะไม่มีมาตราใดเกี่ยวข้องกับซิงเกิลเกตเวย์ตามที่หลายฝ่ายกังวล แต่ก็เกิดกรณีกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อต้านซิงเกิลเกตเวย์ ทำการโจมตีเว็บไซต์หน่วยงานราชการ โดยเว็บไซต์ของกรมการเงินทหารบก ได้ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีเว็บไซต์แรก[10] กระทั่งใช้งานไม่ได้[11]

รายนามเจ้ากรมการเงินทหารบก[แก้]

  1. พลตรี พระสุริยะสัตย์ (11 มิถุนายน พ.ศ. 2481 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2484)
  2. พลตรี หลวงชาญชิดชิงชัย (25 มีนาคม พ.ศ. 2484 - 16 มีนาคม พ.ศ. 2490)
  3. พลโท เจียม ญาโณทัย (17 มีนาคม พ.ศ. 2490 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498)
  4. พลตรี หลวงเจริญภัณฑารักษ์ (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 - 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2499)
  5. พลตรี สวาสดิ์ เกษสกุล (4 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2503)
  6. พลตรี สุวรรณ เกษมมงคล (31 ธันวาคม พ.ศ. 2503 - 30 กันยายน พ.ศ. 2507)
  7. พลตรี อมร กุสินทร์เกิด (1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 - 30 กันยายน พ.ศ. 2511)
  8. พลตรี กระจ่าง เอมโอชะ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2511 - 30 กันยายน พ.ศ. 2517)
  9. พลตรี ผาด ตระกูลดิษฐ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2517 - 30 กันยายน พ.ศ. 2523)
  10. พลตรี โชติ มั่นคง (1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 - 30 กันยายน พ.ศ. 2524)
  11. พลตรี ทรง วิบูลย์จันทร์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2524 - 30 กันยายน พ.ศ. 2526)
  12. พลตรี ประภัสร์ วรพิสิษฐ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2526 - 30 กันยายน พ.ศ. 2531)
  13. พลตรี เสรี สุทธิกุล (1 ตุลาคม พ.ศ. 2531 - 30 กันยายน พ.ศ. 2533)
  14. พลตรี ปรีชา ปุษปาคม (1 ตุลาคม พ.ศ. 2533 - 30 กันยายน พ.ศ. 2534)
  15. พลตรี เพ็ญศักดิ์ สืบสมาน (1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 - 30 กันยายน พ.ศ. 2536)
  16. พลตรี วีระ สรรประดิษฐ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2536 - 30 กันยายน พ.ศ. 2542)
  17. พลตรี อัญเทอญ ทศานนท์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 - 30 กันยายน พ.ศ. 2544)
  18. พลตรี วรัตน์ หอมเนียม (1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 - 30 กันยายน พ.ศ. 2545)
  19. พลตรี บันเทิง พูนขำ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2547)
  20. พลตรี ชาญณรงค์ รสจันทน์ (1 เมษายน พ.ศ. 2547 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2548)
  21. พลตรี ฉัตรชัย สาริกัลยะ (1 เมษายน พ.ศ. 2548 - 30 กันยายน พ.ศ. 2552)
  22. พลตรี อดุลยเดช อินทะพงษ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556)
  23. พลตรี ณัฏฐิพงษ์ เผือกสกนธ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558)
  24. พลตรี ชูชาติ สุกใส (2 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561)
  25. พลตรี กฤษณ์ จาดสุวรรณ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2564)
  26. พลตรี อดุลย์ แนบสนิท (1 เมษายน พ.ศ. 2564 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2565)
  27. พลตรี เกรียงศักดิ์ ไข่ถาวร (1 เมษายน พ.ศ. 2565 - 30 กันยายน พ.ศ. 2566)
  28. พลตรี เทอดศักดิ์ วงศ์จันทร์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน)

ยศทหารเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งและในวงเล็บเป็นระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 "ประวัติ กง.ทบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-12. สืบค้นเมื่อ 2021-09-05.
  2. ‘บิ๊กป้อม’ เดือดท้า ‘เสรีพิศุทธิ์’ ยิงทหารบุกบ้าน จบได้มั้ยนาฬิกา ‘ฉันยืมเขามา’
  3. 3.0 3.1 3.2 "เครื่องหมายราชการของกรมการเงินทหารบก กองทัพบก กระทรวงกลาโหม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-24. สืบค้นเมื่อ 2021-09-05.
  4. 4.0 4.1 ททบ. ร่วมแสดงความยินดี วันสถาปนา กรมการเงินทหารบก ครบรอบ 79 ปี
  5. แฮกเกอร์-กำแหง พุ่งเป้าลุยกรมการเงินทหาร
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 27 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  7. จัดระเบียบรัฐพาณิชย์กองทัพ กรมธนารักษ์ทำหน้าที่บริหาร
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 11 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 27 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  10. กลุ่มต่อต้านถล่มเว็บรัฐบาล ประท้วงสนช.ผ่านฉลุย ร่าง พรบ.คอมพ์ - PPTVHD36
  11. ชาวเน็ตนัดกระหน่ำกด F5 ถล่มเว็บ 'กรมการเงินทหารบก' - Matichon

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]