ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไคโรแพรกติก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thastp (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยนหมายเหตุเป็น lower roman
Thastp (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 681: บรรทัด 681:
|isbn= 978-92-4-159371-7
|isbn= 978-92-4-159371-7
|archive-url=https://web.archive.org/web/20220313162309/https://www.who.int/medicines/areas/traditional/Chiro-Guidelines.pdf
|archive-url=https://web.archive.org/web/20220313162309/https://www.who.int/medicines/areas/traditional/Chiro-Guidelines.pdf
|access-date=29 กุมภาพันธ์ 2008|archive-date=13 มีนาคม 2022}}</ref> การใช้รังสีเอกซ์ถ่ายภาพอาการกระดูกสันหลังเคลื่อนทำให้ผู้ป่วยได้รับ[[รังสีก่อไอออน]]ที่เป็นอันตรายโดยไม่มีเหตุผลที่มีหลักฐานสนับสนุน<ref>{{cite journal
|access-date=29 กุมภาพันธ์ 2008|archive-date=13 มีนาคม 2022}}</ref>
|last1=Jenkins|first1=HJ
|title=Awareness of radiographic guidelines for low back pain: a survey of Australian chiropractors
|journal=Chiropractic & Manual Therapies
|date=5 ตุลาคม 2016
|volume=24|page=39
|doi=10.1186/s12998-016-0118-7
|pmc=5051064|pmid=27713818
}}</ref><ref name=Ammendolia >{{cite journal
|vauthors=Ammendolia C, Taylor JA, Pennick V, Côté P, Hogg-Johnson S, Bombardier C
| title = Adherence to radiography guidelines for low back pain: A survey of chiropractic schools worldwide
| journal = Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics
| volume = 31 | issue = 6 | pages = 412–18 | year = 2008
| pmid = 18722195 | doi = 10.1016/j.jmpt.2008.06.010
}}</ref> หนังสือจาก ค.ศ. 2008 ''[[Trick or Treatment]]'' ("หลอกหรือรักษา") กล่าวว่า "รังสีเอกซ์ไม่สามารถเปิดเผยให้เห็นทั้งภาวะข้อเคลื่อนหรือเชาวน์ปัญญาโดยกำเนิดที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาไคโรแพรกติกได้เพราะพวกมันไม่มีอยู่จริง"{{efn-lr|แปลจาก "X-rays can reveal neither the subluxations nor the innate intelligence associated with chiropractic philosophy, because they do not exist."<ref name=Trick-or-Treatment>{{cite book
|pages=145–90
|chapter=The truth about chiropractic therapy
|title=Trick or Treatment: The Undeniable Facts about Alternative Medicine
|last1=Singh |first1=S |last2=Ernst |first2=E
|year=2008
|publisher=W.W. Norton
|isbn=978-0-393-06661-6
}}</ref>}} เลขาธิการ[[สหพันธ์ไคโรแพรกติกโลก]] (World Federation of Chiropractic) ทนายความเดวิด แชปแมน-สมิธ (David Chapman-Smith) กล่าวว่า "นักวิจารณ์ทางการแพทย์ถามมาว่าจะมีการเคลื่อนได้อย่างไรหากใช้รังสีเอกซ์แล้วมองไม่เห็น คำตอบคือความจริงแล้วภาวะเคลื่อนแบบไคโรแพรกติกนั้นเป็นองคภาวะเชิงหน้าที่ ไม่ใช่เชิงโครงสร้าง และจึงฉายรังสีเอกซ์มองเห็นได้ไม่มากไปกว่า[[อาการเดินกะเผลก]] (limp) หรือปวดหัวหรือปัญหาเชิงหน้าที่อื่นใดก็ตาม"{{efn-lr|แปลจาก "Medical critics have asked how there can be a subluxation if it cannot be seen on X-ray. The answer is that the chiropractic subluxation is essentially a functional entity, not structural, and is therefore no more visible on static X-ray than a limp or headache or any other functional problem."<ref>{{cite book
|page=160
|chapter=Principles and Goals of Chiropractic Care|title=The Chiropractic Profession: Its Education, Practice, Research and Future Directions
|author=David Chapman-Smith
|year=2000
|publisher=NCMIC Group
|isbn=978-1-892734-02-0
}}</ref>}} [[สภาไคโรแพรกติกทั่วไป]] (General Chiropractic Council) ซึ่งเป็นองค์กรควบคุมนักไคโรแพรกติกตามกฎหมายใน[[สหราชอาณาจักร]]กล่าวว่าปมภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนแบบไคโรแพรกติกนั้น "ไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกใดรับรองที่จะให้สามารถอ้างได้ว่ามันเป็นต้นเหตุของโรค"{{efn-lr|แปลจาก "is not supported by any clinical research evidence that would allow claims to be made that it is the cause of disease."<ref>{{cite web
|url=http://www.gcc-uk.org/files/link_file/Guidance_on_claims_made_for_the_chiropractic_VSC_18August10.pdf
|archive-url=https://www.webcitation.org/5xywlByZ0?url=http://www.gcc-uk.org/files/link_file/Guidance_on_claims_made_for_the_chiropractic_VSC_18August10.pdf
|url-status=dead
|archive-date=16 เมษายน 2011
|title=Guidance on claims made for the chiropractic vertebral subluxation complex
|publisher=General Chiropractic Council
|access-date=30 กันยายน 2010
}}</ref>}}

เมื่อ ค.ศ. 2014 [[คณะกรรมการผู้ตรวจการไคโรแพรกติกแห่งชาติ]] (National Board of Chiropractic Examiners) กล่าวว่า "จุดเน้นเฉพาะของการปฏิบัติไคโรแพรกติกเป็นที่รู้จักว่าคือภาวะข้อเคลื่อนแบบไคโรแพรกติกหรือการทำงานผิดปกติของข้อต่อ ภาวะข้อเคลื่อนเป็นข้อกังวลทางสุขภาพที่ปรากฎอยู่ในข้อต่อของกระดูก และส่งผลต่อระบบประสาทผ่านความสัมพันธ์ทางสรีรวิทยาและกายวิภาคที่ซับซ้อนและอาจนำไปสู่การทำงานที่ลดลง ความพิการ หรือความเจ็บป่วย"{{efn-lr|แปลจาก "The specific focus of chiropractic practice is known as the chiropractic subluxation or joint dysfunction. A subluxation is a health concern that manifests in the skeletal joints, and, through complex anatomical and physiological relationships, affects the nervous system and may lead to reduced function, disability or illness."<ref name="NBCE_about_chiro">{{Citation
|last=NBCE |date=2014
|title=About Chiropractic
|publisher=National Board of Chiropractic Examiners
|url=http://www.nbce.org/about/about_chiropractic/
|access-date= 1 กุมภาพันธ์ 2015
|archive-url=https://web.archive.org/web/20150619234625/http://www.nbce.org/about/about_chiropractic/
|archive-date=19 มิถุนายน 2015
|url-status=dead
}}</ref><ref name=History-Primer2 />}}


==หมายเหตุ==
==หมายเหตุ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:28, 17 พฤศจิกายน 2565

ไคโรแพรกติก
การแพทย์ทางเลือก
นักไคโรแพรกติกกำลังจัดกระดูกสันหลัง
นักไคโรแพรกติกกำลังจัดกระดูกสันหลัง
ข้อกล่าวอ้างภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน,
การจัดกระดูกสันหลัง,
เชาวน์ปัญญาโดยกำเนิด
ความเสี่ยงการฉีกเซาะของผนังหลอดเลือดแดงเวอร์ทีบรอล (สโตรก),
กระดูกสันหลังหักเหตุอัด (vertebral compression fracture),
ความตาย
สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องออสทีโอพาธี, ชีวิตนิยม
ผู้สนับสนุนดั้งเดิมแดเนียล เดวิด พาลเมอร์ (Daniel David Palmer)
ผู้สนับสนุนต่อมาบี. เจ. พาลเมอร์ (B. J. Palmer)
MeSHD002684

ไคโรแพรกติก หรืออาจเรียกว่า การนวดจัดกระดูก หรือ การจัดกระดูก เป็นการแพทย์ทางเลือกรูปแบบหนึ่ง[1] ซึ่งสนใจถึงการวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันความผิดปกติเชิงกล (physical disorder) ในระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูกมนุษย์ (Human musculoskeletal system) โดยเฉพาะในกระดูกสันหลัง[2] การแพทย์ทางเลือกนี้มีต้นกำเนิดแบบคุยหลัทธิตะวันตก (Western esotericism)[3] และมีรากฐานอยู่บนหลายแนวคิดที่เป็นแนววิทยาศาสตร์เทียม[4]

นักไคโรแพรกติก[5] หลายคนโดยเฉพาะในประวัติศาสตร์เริ่มแรกของการแพทย์ทางเลือกสาขานี้ เสนอว่าความผิดปกติเชิงกลของข้อต่อโดยเฉพาะที่อยู่ในกระดูกสันหลังสามารถส่งผลต่อสุขภาพทั่วไป[2] และการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังทั่วไป (Spinal manipulation) (การจัดกระดูกสันหลัง (spinal adjustment)) สามารถส่งเสริมสุขภาพทั่วไปได้ กลวิธีการรักษาแบบไคโรแพรกติก (Chiropractic treatment techniques) หลัก ๆ แล้วประกอบด้วยการบำบัดด้วยมือ (manual therapy) โดยเฉพาะการจัดดัดดึงกระดูดสันหลัง ข้อต่ออื่น ๆ และเนื้อเยื่ออ่อน (soft tissue) แต่ก็อาจรวมถึงการออกกำลังกายและการให้คำปรึกษาเรื่องวิถีชีวิตและสุขภาพด้วย[6] นักไคโรแพรกติกอาจถือใบปริญญาดอกเตอร์อ็อฟไคโรแพรกติก (D.C.) และอาจถูกเรียกว่า "แพทย์" แต่มิใช่แพทยศาสตรบัณฑิต (M.D.)[7][8] ในขณะที่นักไคโรแพรกติกหลายคนมองตนเองเป็นผู้ให้บริการปฐมภูมิ (primary care)[9][10] การฝึกทักษะทางคลินิกสำหรับไคโรแพรกติกไม่สนองกับข้อกำหนดสำหรับตำแหน่งนั้น[2]

การปริทัศน์เป็นระบบของการศึกษาทางคลินิกควบคุมถึงวิธีการรักษาที่นักไคโรแพรกติกใช้ไม่พบหลักฐานว่าการจัดกระดูกสันหลังแบบไคโรแพรกติกมีประสิทธิศักย์ (efficacy) โดยอาจมีข้อยกเว้นสำหรับการรักษาอาการปวดหลัง[9] การประเมินเชิงวิพากษ์ของการปริทัศน์เป็นระบบจำนวน 45 ฉบับใน ค.ศ. 2011 พบว่าการจัดกระดูกสันหลังไม่มีประสิทธิผลในการรักษาอาการใด ๆ[11] การจัดกระดูกสันหลังอาจมีประสิทธิผลต่อต้นทุน (Cost-effectiveness analysis) สำหรับอาการปวดหลังเรื้อรังหรือกึ่งเฉียบพลัน แต่ผลลัพธ์สำหรับอาการปวดหลังเฉียบพลันมีไม่เพียงพอ[12] ไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือที่ชี้ว่าการดูแลแบบไคโรแพรกติกเพื่อบำรุงรักษาสามารถป้องกันอาการหรือโรคใด ๆ ได้อย่างเพียงพอ[13]

ไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะตัดสินความปลอดภัยของการจัดดัดดึงแบบไคโรแพรกติกได้[14] มักมีความสัมพันธ์กับอาการไม่พึงประสงค์ (adverse effect) ระดับอ่อนถึงปานกลาง และในกรณีหายากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหรือถึงตาย[15] ระดับความเสี่ยงของการฉีกเซาะของผนังหลอดเลือดแดงเวอร์ทีบรอล (Vertebral artery dissection) ที่เกิดจากการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังส่วนคอ (neck manipulation) ซึ่งอาจนำไปสู่สโตรกและความตายยังเป็นที่ถกเถียงอยู่[16] ความตายหลายกรณีมีความเกี่ยวโยงกับเทคนิคนี้[15] และมีผู้เสนอว่ามีความสัมพันธ์แบบก่อเหตุ (causative) อยู่[17][18] ซึ่งเป็นข้อกล่าวอ้างที่นักไคโรแพรกติกหลายคนไม่เห็นด้วย[18]

ไคโรแพรกติกมีรากฐานดีแล้วในสหรัฐ แคนาดา และออสเตรเลีย[19] มีความทับซ้อนกับวิชาชีพการบำบัดด้วยมือสาขาอื่น ๆ เช่นออสทีโอพาธี (Osteopathy) และกายภาพบำบัด[20] ผู้คนส่วนใหญ่ที่หาการดูแลแบบไคโรแพรกติกเป็นเพราะอาการปวดหลังส่วนล่าง[21] อาการปวดหลังและคอถือว่าเป็นความชำนาญของไคโรแพรกติก แต่นักไคโรแพรกติกหลายคนให้การรักษาอาการอื่นนอกเหนือจากด้านกล้ามเนื้อและโครงกระดูกด้วย[9] ไคโรแพรกติกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ กล่าวคือกลุ่ม "straights" (โดยตรง) ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนน้อย ซึ่งให้ความสำคัญกับชีวิตนิยม (vitalism) "เชาวน์ปัญญาโดยกำเนิด" (innate intelligence) และถือว่าภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน (Vertebral subluxation) เป็นเหตุของโรคทั้งมวล กับกลุ่ม "mixers" (ผสม) ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเปิดรับกับมุมมองกระแสหลักและกลวิธีการแพทย์แผนปัจจุบันมากกว่า เช่นการออกกำลังกาย การนวด และการบำบัดด้วยน้ำแข็ง (ice pack therapy)[22]

ดี. ดี. พาลเมอร์ (Daniel David Palmer) ก่อตั้งไคโรแพรกติกในคริสต์ทศวรรษ 1890[23] หลังจากกล่าวว่าเขาได้รับมันมาจาก "ต่างโลก"[24] พาลเมอร์ยืนยันว่าเขาได้รับหลักความเชื่อของไคโรแพรกติกมากจากหมอคนหนึ่งซึ่งเสียชีวิตไปแล้วห้าสิบปีก่อนหน้า[25] บุตรชายของเขาบี. เจ. พาลเมอร์ (B. J. Palmer) ช่วยขยายไคโรแพรกติกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20[23] ตลอดทั้งประวัติศาสตร์ของไคโรแพรกติกมีข้อโต้เถียงอยู่เสมอ (Chiropractic controversy and criticism)[26][27] รากฐานของการแพทย์ทางเลือกสาขานี้ขัดแย้งกับเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน และถูกค้ำจุนด้วยแนวคิดวิทยาศาสตร์เทียมอย่างเช่นภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนและเชาวน์ปัญญาโดยกำเนิด[28] แม้มีหลักฐานล้นหลามว่าการให้วัคซีนเป็นการแทรกแซงทางสาธารณสุขที่มีประสิทธิผล แต่มีความไม่เห็นพ้องกันอย่างมีนัยสำคัญท่ามกลางหมู่นักไคโรแพรกติกในประเด็นนี้[29] ซึ่งนำไปสู่ผลเชิงลบทั้งต่อการให้วัคซีนสู่สาธารณะและความยอมรับในไคโรแพรกติกในกระแสหลัก[30] สมาคมการแพทย์อเมริกันเรียกไคโรแพรกติกว่าเป็น "ลัทธิไม่เป็นวิทยาศาสตร์" ใน ค.ศ. 1966[31] และคว่ำบาตรมันจนกระทั่งแพ้คดีต่อต้านการผูกขาดเมื่อ ค.ศ. 1987 (Wilk v. American Medical Association)[10] ไคโรแพรกติกมีฐานการเมืองที่เข้มแข็งและอุปสงค์สำหรับการบริการของพวกเขาที่ยั่งยืน ในช่วงท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็ได้รับความชอบธรรมและความยอมรับมากยิ่งขึ้นจากแพทย์แผนปัจจุบันและประกันสุขภาพในสหรัฐ (Health insurance in the United States)[10] ในช่วงของการระบาดทั่วของโควิด-19 หลายสมาคมวิชาชีพไคโรแพรกติกแนะนำให้นักไคโรแพรกติกยึดตามคำแนะนำของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐ องค์การอนามัยโลก และหน่วยงานอนามัยท้องถิ่น[32][33] แต่แม้จะมีคำแนะนำเหล่านี้ นักไคโรแพรกติกจำนวนน้อยแต่มีปากเสียงและมีอิทธิพลได้แพร่กระจายข้อมูลผิดเกี่ยวกับวัคซีน (vaccine misinformation)[34]

พื้นฐานแนวคิด

ปรัชญา

ไคโรแพรกติกมักถูกจัดประเภทเป็นการแพทย์ทางเลือกและผสมผสาน[1] ซึ่งให้ความสำคัญกับการจัดดัดดึงระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูกมนุษย์โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง[2] ผู้ก่อตั้งดี. ดี. พาลเมอร์ เรียกมันว่าเป็น "ศาสตร์ของการรักษาโดยไม่ใช้ยา"[9]

ต้นกำเนิดของไคโรแพรกติกอยู่ในการจัดกระดูก (Traditional bone-setting) แบบการแพทย์ดั้งเดิม (traditional medicine)[9] และเมื่อมันวิวัฒนาการต่อมาก็รวมเข้ากับชีวิตนิยม การดลใจจากจิตวิญญาณ (spirituality) และเหตุผลนิยม[35] ปรัชญาแรกเริ่มมีรากฐานเป็นการนิรนัยจากลัทธิที่หักล้างไม่ได้ (dogma) ซึ่งอำนวยให้สามารถแยกแยะไคโรแพรกติกออกจากการแพทย์ได้ ซึ่งให้ข้อแก้ตัวทางกฎหมายและทางการเมืองสำหรับการปฏิบัติทางการแพทย์แบบไม่มีใบอนุญาติได้ และทำให้นักไคโรแพรกติกสามารถสถาปนาพวกตนเป็นวิชาชีพอิสระได้[35] ปรัชญา "straight" (โดยตรง) นี้ซึ่งถูกสอนให้แก่นักไคโรแพรกติกหลายรุ่นปฏิเสธการให้เหตุผลแบบอนุมานของระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์[35] และพึ่งพาการนิรนัยจากหลักการแรกเชิงชีวิตนิยมแทนวัตถุนิยมของวิทยาศาสตร์[36] อย่างไรก็ตาม นักไคโรแพรกติกส่วนใหญ่มักนำเอาการวิจัยแบบวิทยาศาสตร์มาใช้ในไคโรแพรกติก[35] และนักปฏิบัติส่วนใหญ่เป็นแบบ "mixers" (ผสม) ซึ่งพยายามผสมผสานคตินิยมลดทอน (reductionism) แบบวัตถุนิยมของวิทยาศาสตร์เข้ากับอภิปรัชญาของบรรพบุรุษของพวกเขาและกระบวนทัศน์แบบองค์รวมเกี่ยวกับสุขภาวะ (Holistic medicine)[36] บทวิจารณ์จาก ค.ศ. 2008 เสนอให้ไคโรแพรกติกแยกตัวออกห่างจากปรัชญาโดยตรงอย่างเชิงรุกเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์เพื่อขจัดทิ้งสิทธันต์ที่ทดสอบไม่ได้ (testability) และเข้าไปมีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์และการวิจัยอิงหลักฐาน[37]

แม้ว่าท่ามกลางนักไคโรแพรกติกจะมีความคิดที่หลากหลาย[35] แต่พวกเขามีความเชื่อร่วมกันว่ากระดูกสันหลังและสุขภาพนั้นมีความสัมพันธ์กันโดยพื้นฐาน และความสัมพันธ์นี้มีสื่อกลางเป็นระบบประสาท[38] นักไคโรแพรกติกบางคนอ้างว่าการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังสามารถส่งผลต่อความเจ็บป่วยได้หลากหลาย ซึ่งรวมถึงกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้นและโรคหืด[39]

ปรัชญาไคโรแพรกติกประกอบไปด้วยมุมมองดังต่อไปนี้:[36]

ระบบความเชื่อของไคโรแพรกติกทั้งสองแบบจะสร้าง
หลักการที่ทดสอบได้ อุปลักษณ์ที่ทดสอบไม่ได้
การจัดกระดูกแบบไคโรแพรกติก

การฟื้นฟูบูรณภาพเชิงโครงสร้าง

การปรับปรุงสถานะของสุขภาพ

เชาวน์ปัญญาสากล

เชาวน์ปัญญาโดยกำเนิด

สรีรวิทยาของร่างกาย

วัตถุนิยม: ชีวิตนิยม:
  • สามารถให้นิยามการปฏิบัติการได้
  • เหมาะสมสำหรับการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์
  • ต้นกำเนิดของคติองค์รวมในไคโรแพรกติก
  • ไม่สามารถพิสูจน์ว่าจริงหรือเท็จได้
นำมาจาก Mootz & Phillips 1997

คติองค์รวม (Holism) สมมุติว่าสุขภาพนั้นได้รับผลกระทบจากทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบ ๆ ตัวคน ๆ หนึ่ง บางแหล่งอาจรวมถึงภพของวิญญาณหรือภพของอัตถิภาวะด้วย[40] ซึ่งจะตรงกันข้ามกับคติลดทอน ซึ่งในไคโรแพรกติกคือการลดทอนให้ต้นเหตุและการรักษาปัญหาทางสุขภาพกลายเป็นปัจจัยอันหนึ่งอันเดียว กล่าวคือภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน[37] ภาวะธำรงดุลจะเป็นการเน้นถึงความสามารถในการรักษาตนเองที่มีอยู่แล้วภายในร่างกาย เราสามารถมองแนวคิดว่าด้วยเชาวน์ปัญญาโดยกำเนิดแบบแรก ๆ ของไคโรแพรกติกได้ว่าเป็นอุปลักษณ์ของภาวะธำรงดุล[35]

นักไคโรแพรกติกหลายคนกังวลว่าหากพวกเขาไม่แยกตัวออกห่างจากมโนทัศน์เชิงชีวิตนิยมตามดั้งเดิมเรื่องเชาวน์ปัญญาโดยกำเนิดแล้ว ไคโรแพรกติกจะยังคงถูกมองเป็นวิชาชีพชายขอบต่อไป[22] ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีไคโรแพรกติกอีกชนิดหนึ่งถือกำเนิดขึ้นที่เมืองชิคาโกนามว่าแนแปรพาธี (naprapathy)[41][42] ซึ่งเชื่อว่าการจัดดัดดึงเนื้อเยื่ออ่อนด้วยมือจะสามารถลด "ความรบกวน" ภายในร่างกายและจึงสามารถทำให้สุขภาพดีขึ้นได้[42]

แบบโดยตรงและผสม

นักไคโรแพรกติกแบบ Straight (โดยตรง) ยึดหลักปรัชญาที่ ดี. ดี. และ บี. เจ. พาลเมอร์กล่าวไว้ และสงวนนิยามเชิงอภิปรัชญาและคุณลักษณะแบบชีวิตนิยมไว้[43] นักไคโรแพรกติกแบบโดยตรงเชื่อว่าภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนทำให้เกิดการรบกวน "เชาวน์ปัญญาโดยกำเนิด" ซึ่งสำแดงออกมาผ่านระบบประสาทมนุษย์ และเป็นปัจจัยเสี่ยงเบื้องหลังหลักของโรคหลายชนิด[43] กลุ่มโดยตรงมองว่าการวินิจฉัยทางการแพทย์ถึงอาการของผู้ป่วยเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับการรักษาแบบไคโรแพรกติก พวกเขาถือว่าพวกมันเป็น "ผลลัพธ์ขั้นทุติยภูมิ" ของภาวะข้อเคลื่อนต่าง ๆ[43] นักไคโรแพรกติกแบบโดยตรงจึงสนใจกับการตรวจพบและการแก้ไขภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนด้วยการจัดกระดูกเป็นหลัก และจะไม่ "ผสม" การบำบัดชนิดอื่นเข้าในวิถีปฏิบัติของพวกเขา[43] ปรัชญาและคำอธิบายของพวกเขาจะมีธรรมชาติเป็นอภิปรัชญา และพวกเขานิยมใช้ศัพท์ไคโรแพรกติกแบบดั้งเดิมมากกว่า อาทิ "การวิเคราะห์กระดูกสันหลัง" "การตรวจหาข้อเคลื่อน" "การแก้ไขด้วยการจัด"[22] พวกเขาต้องการคงความปลีกแยกและความแตกต่างจากการดูแลสุขภาพกระแสหลักต่อไป[22] แม้จะถูกถือว่าเป็นกลุ่มส่วนน้อย "พวกเขาสามารถแปลงสถานะของตัวเองในฐานะที่เป็นสายบริสุทธิ์และทายาทของเชื้อสายให้กลายเป็นอิทธิพลซึ่งมากเกินสัดส่วนจำนวนของพวกเขาไปอย่างมาก"[i]

นักไคโรแพรกติกแบบ Mixer (ผสม) "ผสม" แนวทางการวินิจฉัยและการรักษาจากมุมมองแบบไคโรแพรกติก การแพทย์ และออสทีโอพาธี และเป็นส่วนใหญ่ของนักไคโรแพรกติก[22] กลุ่มผสมเชื่อต่างจากนักไคโรแพรกติกแบบโดยตรง โดยเชื่อว่าข้อเคลื่อนนั้นเป็นหนึ่งในหลายสาเหตุของโรคต่าง ๆ และจึงเปิดกว้างต่อการแพทย์กระแสหลักมากกว่า[22] หลายคนรวมเอาการวินิจฉัยทางการแพทย์กระแสหลักมาใช้และใช้การรักษาแผนปัจจุบัน เช่นกลวิธีของกายภาพบำบัดไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การยืดกล้ามเนื้อ (stretching) การนวด ไอซ์แพ็ก (ice pack) การกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า (electrical muscle stimulation) อัลตราซาวด์บำบัด (therapeutic ultrasound) และความร้อนชื้น (moist heat)[22] กลุ่มผสมบางส่วนใช้กลวิธีจากการแพทย์ทางเลือกด้วย เช่นอาหารเสริม การฝังเข็ม โฮมีโอพาธี ยาสมุนไพร และการตอบสนองทางชีวภาพ (biofeedback)[22]

พิสัยของมุมมองความเชื่อในไคโรแพรกติก
คุณลักษณะของมุมมอง ปลายทางความเชื่อที่เป็นไปได้
ขอบเขตการปฏิบัติ: แคบ ("straight") ← → กว้าง ("mixer")
แนวทางการตรวจวินิจฉัย: ด้วยอัชฌัตติกญาณ → ด้วยการวิเคราะห์
แนวปรัชญา: แบบชีวิตนิยม ← → แบบวัตถุนิยม
แนววิทยาศาสตร์: เชิงพรรณนา ← → เชิงทดลอง
แนวกระบวนการ: โดยปริยาย ← → แบบชัดแจ้ง
เจตคติการปฏิบัติ: แพทย์/ตัวแบบเป็นศูนย์กลาง ← → ผู้ป่วย/สถานการณ์เป็นศูนย์กลาง
บูรณาการทางวิชาชีพ: แยกกันและแตกต่างกัน ← → บูรณาการเข้ากับกระแสหลัก
นำมาจาก Mootz & Phillips 1997

แม้ว่ากลุ่มผสมจะเป็นคนส่วนใหญ่ แต่พวกเขาหลายคนยังคงเชื่อในภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน ดังที่การสำรวจจากนักไคโรแพรกติก 1,100 คนในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อ ค.ศ. 2003 แสดง โดยพบว่าร้อยละ 88 ต้องการเก็บคำศัพท์ "vertebral subluxation complex" (ปมภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน) ไว้ และเมื่อถามให้ประมาณการณ์ร้อยละของความผิดปกติของอวัยวะภายในซึ่งมีส่วนมาจากภาวะข้อเคลื่อนอย่างมีนัยสำคัญ คำตอบโดยเฉลี่ยตอบว่าร้อยละ 62[44] การสำรวจนักไคโรแพรกติกชาวอเมริกัน 6,000 คนเมื่อ ค.ศ. 2008 แสดงให้เห็นว่านักไคโรแพรกติกส่วนใหญ่ดูจะเชื่อว่าแนวทางทางคลินิกที่อิงภาวะข้อเคลื่อนอาจใช้งานได้จำกัดในการจัดการกับความเจ็บปวดจากอวัยวะภายใน (visceral pain) และนิยมแนวทางทางคลินิกที่ไม่ได้อิงภาวะข้อเคลื่อนสำหรับอาการดังกล่าวอย่างมาก[45] การสำรวจเดียวกันแสดงให้เห็นว่านักไคโรแพรกติกโดยทั่วไปเชื่อว่าแนวทางทางคลินิกของพวกเขาส่วนใหญ่สำหรับการจัดการกับความผิดปกติทางกล้ามเนื้อและโครงกระดูก/ชีวกล อาทิอาการปวดหลัง จะอิงภาวะข้อเคลื่อน[45] นักไคโรแพรกติกมักให้การบำบัดแผนปัจจุบันด้วย เช่นกายภาพบำบัดและการให้คำปรึกษาด้านวิถีชีวิต และสำหรับคนทั่วไปแล้วอาจจะแยกแยะสิ่งที่เป็นวิทยาศาสตร์กับที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ออกจากกันได้อย่างยากลำบาก[46]

ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน

ในการแพทย์ที่อิงวิทยาศาสตร์ คำว่า "subluxation" (ข้อเคลื่อน) หมายถึงอาการที่ข้อต่อหลุด (Joint dislocation) ออกมาบางส่วนหรือไม่สมบูรณ์ จากภาษาละติน luxare แปลว่า 'หลุด/เคลื่อน' (dislocate)[47][48] ในขณะที่แพทย์ใช้คำนั้นเพื่อหมายถึงข้อที่หลุดแบบกายภาพเท่านั้น แต่ผู้ก่อตั้งไคโรแพรกติกดี. ดี. พาลเมอร์ ผสมความหมายเชิงอภิปรัชญาและปรัชญาเข้าไปในคำว่าข้อเคลื่อนด้วยจากประเพณีวิทยาศาสตร์เทียม อาทิชีวิตนิยม[49]

พาลเมอร์อ้างว่าภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนรบกวนการทำงานของร่างกายและความสามารถรักษาตนเองที่มีแต่กำเนิด[50] ดี. ดี. พาลเมอร์ ทิ้งทฤษฎีเก่าของเขาไปซึ่งกล่าวว่าภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนทำให้เส้นประสาทถูกกดอยู่ในช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลัง แล้วแทนที่ด้วยทฤษฎีที่กล่าวว่าภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนทำให้จังหวะการสั่นของเส้นประสาทเปลี่ยนไป ทำให้ตึงหรือหย่อนเกินไป และส่งผลต่อระดับเสียง (สุขภาพ) ของอวัยวะปลายทาง[49] เขายืนยันทฤษฎีนี้ด้วยการชี้ว่าไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเชาวน์ปัญญาโดยกำเนิดก็สามารถปฏิบัติไคโรแพรกติกให้ชำนาญได้[49] ในภายหลังบุตรของเขาบี. เจ. พาลเมอร์ พัฒนาแนวคิดนี้ต่อมา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่กลายเป็นรากฐานทางกฎหมายสำหรับการแยกแยะไคโรแพรกติกออกจากการแพทย์แผนปัจจุบัน

ใน ค.ศ. 1910 ดี. ดี. พาลเมอร์ตั้งทฤษฎีซึ่งกล่าวว่าระบบประสาทเป็นสิ่งที่ควบคุมสุขภาพไว้ว่า:

"นักสรีรวิทยาแบ่งเส้นใยประสาทซึ่งประกอบขึ้นเป็นเส้นประสาทไว้สองประเภท นำเข้าและนำออก เมื่อมีการกดทับลงบนปลายเส้นใยนำเข้านอกส่วนกลาง จะทำให้เกิดความรู้สึกซึ่งถูกส่งไปยังส่วนกลางของระบบประสาท เส้นใยประสาทนำออกส่งสัญญาณจากส่วนกลางไปยังปลายของมัน ส่วนใหญ่แล้วพวกนี้จะไปยังกล้ามเนื้อและจึงเรียกว่าสัญญาณสั่งการ บางส่วนเป็นสัญญาณคัดหลั่งและส่งไปยังต่อมต่าง ๆ ส่วนหนึ่งเป็นสัญญาณยับยั้ง หน้าที่ของมันคือการยับยั้งการคัดหลั่ง ดังนั้นแล้ว เส้นประสาทส่งสัญญาณไปภายนอกและความรู้สึกมาภายใน กิจกรรมของเส้นประสาทเหล่านี้ หรือของเส้นใยของมัน อาจถูกกระตุ้นหรือระงับได้จากการกดเบียด ผลคือการทำงานของมันถูกดัดแปลง – มีกิจกรรมที่มากเกินหรือไม่พอ – ซึ่งคือโรค"[ii]

นักไคโรแพรกติกใช้การถ่ายภาพรังสีเพื่อพิจารณาโครงสร้างกระดูกของผู้ป่วย

ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนซึ่งเป็นแก่นมโนทัศน์ของไคโรแพรกติกดั้งเดิมยังคงไม่มีน้ำหนักและไม่ถูกทดสอบโดยส่วนมาก และมีการโต้เถียงว่าควรเก็บมันไว้ในการปฏิบัติไคโรแพรกติกหรือไม่ซึ่งดำเนินมามากกว่าหลายทศวรรษ[52] โดยทั่วไปผู้วิจารณ์ไคโรแพรกติกดั้งเดิมที่อิงภาวะข้อเคลื่อน (ซึ่งรวมนักไคโรแพรกติกด้วย) เคลือบแคลงในประโยชน์ทางคลินิก ความเชื่อแบบสิทธันต์ และแนวทางเชิงอภิปรัชญาของมัน ในขณะที่นักไคโรแพรกติกแบบโดยตรงยังคงรักษากระบวนทัศน์แบบชีวิตนิยมดั้งเดิมซึ่งผู้ก่อตั้งสนับสนุนอยู่ ไคโรแพรกติกแบบอิงหลักฐานเสนอว่ามุมมองแบบเชิงกลจะทำให้การดูแลด้วยไคโรแพรกติกสามารถบูรณาการเข้ากับประชาคมบริการสุขภาพที่กว้างกว่าได้[52] นี่ยังคงเป็นข้อโต้เถียงอย่างต่อเนื่องภายในวิชาชีพไคโรแพรกติกเช่นกัน โรงเรียนไคโรแพรกติกบางที่ยังสอนไคโรแพรกติกอิงภาวะข้อเคลื่อนแบบดั้งเดิม/โดยตรงอยู่ ในขณะที่ที่อื่นกำลังขยับย้ายไปหาไคโรแพรกติกแบบอิงหลังฐานที่ปฏิเสธพื้นฐานเชิงอภิปรัชญาและจำกัดตัวเองไว้กับภาวะทางประสาท กล้ามเนื้อ และโครงกระดูกเป็นหลัก[53][54]

ใน ค.ศ. 2005 องค์การอนามัยโลกให้นิยามภาวะข้อเคลื่อนแบบไคโรแพรกติกไว้ว่าเป็น "รอยโรคหรือความผิดปกติในข้อต่อหรือหน่วยการเคลื่อนไหวที่ตำแหน่ง ความสมบูรณ์ของการเคลื่อนไหว และ/หรือการใช้งานทางสรีรวิทยาเปลี่ยนไป แม้ว่าผิวข้อต่อจะยังสัมผัสกันอยู่ครบถ้วน เป็นองคภาวะเชิงหน้าที่ซึ่งอาจส่งอิทธิพลต่อบูรณภาพทางชีวกลและทางประสาท"[iii] นี่ต่างจากนิยามของภาวะข้อเคลื่อนในทางการแพทย์ซึ่งเป็นการกระจัดเชิงโครงสร้างอย่างมีนัยสำคัญซึ่งมองเห็นได้ผ่านวิธีการถ่ายภาพนิ่ง เช่นด้วยรังสีเอกซ์[55] การใช้รังสีเอกซ์ถ่ายภาพอาการกระดูกสันหลังเคลื่อนทำให้ผู้ป่วยได้รับรังสีก่อไอออนที่เป็นอันตรายโดยไม่มีเหตุผลที่มีหลักฐานสนับสนุน[56][57] หนังสือจาก ค.ศ. 2008 Trick or Treatment ("หลอกหรือรักษา") กล่าวว่า "รังสีเอกซ์ไม่สามารถเปิดเผยให้เห็นทั้งภาวะข้อเคลื่อนหรือเชาวน์ปัญญาโดยกำเนิดที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาไคโรแพรกติกได้เพราะพวกมันไม่มีอยู่จริง"[iv] เลขาธิการสหพันธ์ไคโรแพรกติกโลก (World Federation of Chiropractic) ทนายความเดวิด แชปแมน-สมิธ (David Chapman-Smith) กล่าวว่า "นักวิจารณ์ทางการแพทย์ถามมาว่าจะมีการเคลื่อนได้อย่างไรหากใช้รังสีเอกซ์แล้วมองไม่เห็น คำตอบคือความจริงแล้วภาวะเคลื่อนแบบไคโรแพรกติกนั้นเป็นองคภาวะเชิงหน้าที่ ไม่ใช่เชิงโครงสร้าง และจึงฉายรังสีเอกซ์มองเห็นได้ไม่มากไปกว่าอาการเดินกะเผลก (limp) หรือปวดหัวหรือปัญหาเชิงหน้าที่อื่นใดก็ตาม"[v] สภาไคโรแพรกติกทั่วไป (General Chiropractic Council) ซึ่งเป็นองค์กรควบคุมนักไคโรแพรกติกตามกฎหมายในสหราชอาณาจักรกล่าวว่าปมภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนแบบไคโรแพรกติกนั้น "ไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกใดรับรองที่จะให้สามารถอ้างได้ว่ามันเป็นต้นเหตุของโรค"[vi]

เมื่อ ค.ศ. 2014 คณะกรรมการผู้ตรวจการไคโรแพรกติกแห่งชาติ (National Board of Chiropractic Examiners) กล่าวว่า "จุดเน้นเฉพาะของการปฏิบัติไคโรแพรกติกเป็นที่รู้จักว่าคือภาวะข้อเคลื่อนแบบไคโรแพรกติกหรือการทำงานผิดปกติของข้อต่อ ภาวะข้อเคลื่อนเป็นข้อกังวลทางสุขภาพที่ปรากฎอยู่ในข้อต่อของกระดูก และส่งผลต่อระบบประสาทผ่านความสัมพันธ์ทางสรีรวิทยาและกายวิภาคที่ซับซ้อนและอาจนำไปสู่การทำงานที่ลดลง ความพิการ หรือความเจ็บป่วย"[vii]

หมายเหตุ

  1. แปลจาก "they have been able to transform their status as purists and heirs of the lineage into influence dramatically out of proportion to their numbers."[22]
  2. แปลจาก "Physiologists divide nerve-fibers, which form the nerves, into two classes, afferent and efferent. Impressions are made on the peripheral afferent fiber-endings; these create sensations that are transmitted to the center of the nervous system. Efferent nerve-fibers carry impulses out from the center to their endings. Most of these go to muscles and are therefore called motor impulses; some are secretory and enter glands; a portion are inhibitory, their function being to restrain secretion. Thus, nerves carry impulses outward and sensations inward. The activity of these nerves, or rather their fibers, may become excited or allayed by impingement, the result being a modification of functionality – too much or not enough action – which is disease."[51]
  3. แปลจาก "a lesion or dysfunction in a joint or motion segment in which alignment, movement integrity and/or physiological function are altered, although contact between joint surfaces remains intact. It is essentially a functional entity, which may influence biomechanical and neural integrity."[55]
  4. แปลจาก "X-rays can reveal neither the subluxations nor the innate intelligence associated with chiropractic philosophy, because they do not exist."[58]
  5. แปลจาก "Medical critics have asked how there can be a subluxation if it cannot be seen on X-ray. The answer is that the chiropractic subluxation is essentially a functional entity, not structural, and is therefore no more visible on static X-ray than a limp or headache or any other functional problem."[59]
  6. แปลจาก "is not supported by any clinical research evidence that would allow claims to be made that it is the cause of disease."[60]
  7. แปลจาก "The specific focus of chiropractic practice is known as the chiropractic subluxation or joint dysfunction. A subluxation is a health concern that manifests in the skeletal joints, and, through complex anatomical and physiological relationships, affects the nervous system and may lead to reduced function, disability or illness."[61][28]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Chapman-Smith DA, Cleveland CS III (2005). "International status, standards, and education of the chiropractic profession". ใน Haldeman S, Dagenais S, Budgell B, และคณะ (บ.ก.). Principles and Practice of Chiropractic (3rd ed.). McGraw-Hill. pp. 111–34. ISBN 978-0-07-137534-4.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Nelson CF, Lawrence DJ, Triano JJ, Bronfort G, Perle SM, Metz RD, Hegetschweiler K, LaBrot T (2005). "Chiropractic as spine care: a model for the profession". Chiropractic & Osteopathy. 13 (1): 9. doi:10.1186/1746-1340-13-9. PMC 1185558. PMID 16000175.
  3. Swanson ES (2015). "Pseudoscience". Science and Society: Understanding Scientific Methodology, Energy, Climate, and Sustainability. Springer. p. 65. ISBN 978-3-319-21987-5.
  4. สำหรับคำอธิบายเกี่ยวกับคำบรรยายถึงไคโรแพรกติกว่าเป็นวิทยาศาสตร์เทียม ดูที่:
  5. เสก อักษรานุเคราะห์ (มีนาคม–เมษายน 2010). "มารู้จักหมอไคโรแพรกติกกันเถอะ (บทบรรณาธิการ)" (PDF). Chulalongkorn Medical Journal. 54 (2): 99. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กรกฎาคม 2020. นักกายภาพบําบัด นักกิจกรรมบําบัด ทั้งในไทยและต่างประเทศ ก็เป็นระดับปริญญาตรี เรียน แค่ 4 ปีเท่ากัน แต่เขาไม่ได้ตั้งชื่อปริญญาว่า Doctor of Physical Therapy หรือ Doctor of Occupational Therapy เขาจึงเรียกตัวเขาเองว่า นักกายภาพบําบัด และนักกิจกรรมบําบัด ฉะนั้น Doctor of chiropractic ถ้าจะเรียกแบบไทย ๆ ก็ต้องเป็นเพียงนักไคโรแพรกติก ไม่ใช่หมอ ไม่ใช่ แพทย์{{cite journal}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  6. Mootz RD, Shekelle PG (1997). "Content of practice". ใน Cherkin DC, Mootz RD (บ.ก.). Chiropractic in the United States: Training, Practice, and Research. Rockville, MD: Agency for Health Care Policy and Research. pp. 67–91. OCLC 39856366. AHCPR Pub No. 98-N002.
  7. "The DC as PCP? Drug Wars Resume – Science-Based Medicine". sciencebasedmedicine.org. 18 ธันวาคม 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 ธันวาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2020.
  8. Bellamy, Jann (20 ธันวาคม 2018). "Legislative Alchemy 2018: Chiropractors rebranding as primary care physicians continues". sciencebasedmedicine.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 ธันวาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2019.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 Ernst E (พฤษภาคม 2008). "Chiropractic: a critical evaluation". Journal of Pain and Symptom Management. 35 (5): 544–62. doi:10.1016/j.jpainsymman.2007.07.004. PMID 18280103.
  10. 10.0 10.1 10.2 Cooper RA, McKee HJ (2003). "Chiropractic in the United States: trends and issues". Milbank Quarterly. 81 (1): 107–38, table of contents. doi:10.1111/1468-0009.00040. PMC 2690192. PMID 12669653.
  11. Posadzki P, Ernst E (2011). "Spinal manipulation: an update of a systematic review of systematic reviews". The New Zealand Medical Journal. 124 (1340): 55–71. PMID 21952385.
  12. Lin CW, Haas M, Maher CG, Machado LA, van Tulder MW (2011). "Cost-effectiveness of guideline-endorsed treatments for low back pain: a systematic review". European Spine Journal. 20 (7): 1024–1038. doi:10.1007/s00586-010-1676-3. PMC 3176706. PMID 21229367.
  13. Ernst E (2009). "Chiropractic maintenance treatment, a useful preventative approach?". Preventive Medicine. 49 (2–3): 99–100. doi:10.1016/j.ypmed.2009.05.004. PMID 19465044.
  14. Gouveia LO, Castanho P, Ferreira JJ (2009). "Safety of chiropractic interventions: a systematic review" (PDF). Spine. 34 (11): E405–E413. doi:10.1097/BRS.0b013e3181a16d63. PMID 19444054. S2CID 21279308.
  15. 15.0 15.1 Ernst E (2007). "Adverse effects of spinal manipulation: a systematic review". Journal of the Royal Society of Medicine. 100 (7): 330–338. doi:10.1177/014107680710000716. PMC 1905885. PMID 17606755. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 พฤษภาคม 2010.
    Christian Nordqvist (2 กรกฎาคม 2007). "Spinal Manipulation Should Not Be Routinely Used, New Study Warns". Med News Today.
  16. Haynes MJ, Vincent K, Fischhoff C, Bremner AP, Lanlo O, Hankey GJ (2012). "Assessing the risk of stroke from neck manipulation: a systematic review". International Journal of Clinical Practice. 66 (10): 940–947. doi:10.1111/j.1742-1241.2012.03004.x. PMC 3506737. PMID 22994328.
  17. Ernst E (2010). "Vascular accidents after neck manipulation: cause or coincidence?". International Journal of Clinical Practice. 64 (6): 673–677. doi:10.1111/j.1742-1241.2009.02237.x. PMID 20518945. S2CID 38571730.
  18. 18.0 18.1 Ernst E (2010). "Deaths after chiropractic: a review of published cases". International Journal of Clinical Practice. 64 (8): 1162–1165. doi:10.1111/j.1742-1241.2010.02352.x. PMID 20642715. S2CID 45225661.
  19. Tetrault M (2004). "Global professional strategy for chiropractic" (PDF). Chiropractic Diplomatic Corps. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 มิถุนายน 2008. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2008.
  20. Norris P (2001). "How 'we' are different from 'them': occupational boundary maintenance in the treatment of musculo-skeletal problems". Sociology of Health and Illness. 23 (1): 24–43. doi:10.1111/1467-9566.00239.
  21. Hurwitz EL, Chiang LM (2006). "A comparative analysis of chiropractic and general practitioner patients in North America: findings from the joint Canada/United States Survey of Health, 2002-03". BMC Health Services Research. 6: 49. doi:10.1186/1472-6963-6-49. PMC 1458338. PMID 16600038.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 22.5 22.6 22.7 22.8 Kaptchuk TJ, Eisenberg DM (พฤศจิกายน 1998). "Chiropractic: origins, controversies, and contributions". Archives of Internal Medicine. 158 (20): 2215–2224. doi:10.1001/archinte.158.20.2215. PMID 9818801.
  23. 23.0 23.1 Martin SC (ตุลาคม 1993). "Chiropractic and the social context of medical technology, 1895-1925". Technology and Culture. 34 (4): 808–834. doi:10.2307/3106416. JSTOR 3106416. PMID 11623404.
  24. "D.D. Palmer's Religion of Chiropractic" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กรกฎาคม 2022. I have received chiropractic from the other world, [...] – จดหมายจาก ดี. ดี. พาลเมอร์ ถึง พี. ดับเบิลยู. จอห์นสัน ที่ดี.ซี. วันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1911 ในจดหมายเขามักเรียกตัวเองด้วยสรรพนามที่เจ้านายมักใช้ (royal we) แล้วก็ด้วยคำว่า "Old Dad" (พ่อแก่)
  25. Lazarus, David (30 มิถุนายน 2017). "Column: Chiropractic treatment, a $15-billion industry, has its roots in a ghost story". Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กรกฎาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2019. Daniel David Palmer, the 'father' of chiropractic who performed the first chiropractic adjustment in 1895, was an avid spiritualist. He maintained that the notion and basic principles of chiropractic treatment were passed along to him during a seance by a long-dead doctor. 'The knowledge and philosophy given me by Dr. Jim Atkinson, an intelligent spiritual being ... appealed to my reason,' Palmer wrote in his memoir The Chiropractor, which was published in 1914 after his death in Los Angeles. Atkinson had died 50 years prior to Palmer's epiphany.
  26. DeVocht JW (2006). "History and overview of theories and methods of chiropractic: a counterpoint". Clinical Orthopaedics and Related Research. 444: 243–249. doi:10.1097/01.blo.0000203460.89887.8d. PMID 16523145. S2CID 35775630.
  27. Homola S (2006). "Chiropractic: history and overview of theories and methods". Clinical Orthopaedics and Related Research. 444: 236–242. doi:10.1097/01.blo.0000200258.95865.87. PMID 16446588.
  28. 28.0 28.1 Joseph C. Keating Jr.; Cleveland CS III; Menke M (2005). "Chiropractic history: a primer" (PDF). Association for the History of Chiropractic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2008. A significant and continuing barrier to scientific progress within chiropractic are the anti-scientific and pseudo-scientific ideas (Keating 1997b) which have sustained the profession throughout a century of intense struggle with political medicine. Chiropractors' tendency to assert the meaningfulness of various theories and methods as a counterpoint to allopathic charges of quackery has created a defensiveness which can make critical examination of chiropractic concepts difficult (Keating and Mootz 1989). One example of this conundrum is the continuing controversy about the presumptive target of DCs' adjustive interventions: subluxation (Gatterman 1995; Leach 1994).
  29. Busse JW, Morgan L, Campbell JB (2005). "Chiropractic antivaccination arguments". Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics. 28 (5): 367–73. doi:10.1016/j.jmpt.2005.04.011. PMID 15965414.
  30. Campbell JB, Busse JW, Injeyan HS (2000). "Chiropractors and vaccination: a historical perspective". Pediatrics. 105 (4): e43. doi:10.1542/peds.105.4.e43. PMID 10742364.
  31. Johnson C, Baird R, Dougherty PE, Globe G, Green BN, Haneline M, Hawk C, Injeyan HS, Killinger L, Kopansky-Giles D, Lisi AJ, Mior SA, Smith M (2008). "Chiropractic and public health: current state and future vision". Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics. 31 (6): 397–410. doi:10.1016/j.jmpt.2008.07.001. PMID 18722194.
  32. WFC Public Health Committee; WFC Research Committee (17 มีนาคม 2020). COVID-19 Advice for Chiropractors (PDF) (Report). World Federation of Chiropractic. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 23 ตุลาคม 2022.
  33. Jones, Robert C.; และคณะ. "Not Business as Usual: A Safe, Responsible Response to COVID-19". American Chiropractic Association.
  34. Smith, Michelle R.; Bauer, Scott; Catalani, Mike (8 ตุลาคม 2021). "Anti-vaccine chiropractors rising force of misinformation". แอสโซซิเอเต็ดเพรส. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 กันยายน 2022.
  35. 35.0 35.1 35.2 35.3 35.4 35.5 Keating JC Jr (2005). "Philosophy in chiropractic". ใน Haldeman S, Dagenais S, Budgell B, และคณะ (บ.ก.). Principles and Practice of Chiropractic (3rd ed.). McGraw-Hill. pp. 77–98. ISBN 978-0-07-137534-4.
  36. 36.0 36.1 36.2 Mootz RD, Phillips RB (1997). "Chiropractic belief systems". ใน Cherkin DC, Mootz RD (บ.ก.). Chiropractic in the United States: Training, Practice, and Research. Rockville, MD: Agency for Health Care Policy and Research. pp. 9–16. OCLC 39856366. AHCPR Pub No. 98-N002.
  37. 37.0 37.1 Murphy DR, Schneider MJ, Seaman DR, Perle SM, Nelson CF (สิงหาคม 2008). "How can chiropractic become a respected mainstream profession? The example of podiatry" (PDF). Chiropractic & Osteopathy. 16: 10. doi:10.1186/1746-1340-16-10. PMC 2538524. PMID 18759966. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 มีนาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2008.
  38. Gay RE, Nelson CF (2003). "Chiropractic philosophy". ใน Wainapel SF, Fast A (บ.ก.). Alternative Medicine and Rehabilitation: a Guide for Practitioners. นิวยอร์ก: Demos Medical Publishing. ISBN 978-1-888799-66-8.
  39. "Chiropractic". NHS Choices. 20 สิงหาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กันยายน 2016. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2016.
  40. Freeman J (กุมภาพันธ์ 2005). "Towards a definition of holism". The British Journal of General Practice. 55 (511): 154–155. PMC 1463203. PMID 15720949.
  41. Martin Gardner (1 มิถุนายน 1957). Fads and Fallacies in the Name of Science. Courier Corporation. pp. 227–. ISBN 978-0-486-20394-2.
  42. 42.0 42.1 Raso J (1997). "Naprapathy". Dictionary of Metaphysical Healthcare – Glossary. Quackwatch. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2022. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2016.
  43. 43.0 43.1 43.2 43.3 Keating, Cleveland & Menke 2005
  44. McDonald WP, Durkin KF, Pfefer M, และคณะ (2003). How Chiropractors Think and Practice: The Survey of North American Chiropractors. Ada, OH: Institute for Social Research, Ohio Northern University. ISBN 978-0-9728055-5-1.
  45. 45.0 45.1 Smith M, Carber LA (2008). "Survey of US Chiropractor Attitudes and Behaviors about Subluxation" (PDF). Journal of Chiropractic Humanities. 15: 19–26. doi:10.1016/s1556-3499(13)60166-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 เมษายน 2012.
  46. Benedetti, Paul; MacPhail, Wayne (1 มกราคม 2002). Spin Doctors: The Chiropractic Industry Under Examination (ภาษาอังกฤษ). Dundurn. p. 18. ISBN 9781550024067.
  47. "Definition of Subluxation". Merriam-Webster. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2022. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2018.
  48. Harper, Douglas. "luxation (n.)". Online Etymology Dictionary. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤษภาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2021.
  49. 49.0 49.1 49.2 Joseph C. Keating Jr. (18 กุมภาพันธ์ 1995). "D. D. Palmer's forgotten theories of chiropractic" (PDF). Association for the History of Chiropractic. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2022. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2008.
  50. Joseph C. Keating Jr. (2005). "A brief history of the chiropractic profession". ใน Haldeman S, Dagenais S, Budgell B, และคณะ (บ.ก.). Principles and Practice of Chiropractic (3rd ed.). McGraw-Hill. pp. 23–64. ISBN 978-0-07-137534-4.
  51. Palmer DD (1910). The Chiropractor's Adjuster: Text-book of the Science, Art and Philosophy of Chiropractic for Students and Practitioners. Portland, OR: Portland Printing House Co. OCLC 17205743. A subluxated vertebra ... is the cause of 95 percent of all diseases ... The other five percent is caused by displaced joints other than those of the vertebral column.
  52. 52.0 52.1 Keating JC, Charlton KH, Grod JP, Perle SM, Sikorski D, Winterstein JF (สิงหาคม 2005). "Subluxation: dogma or science?". Chiropractic & Osteopathy. 13: 17. doi:10.1186/1746-1340-13-17. PMC 1208927. PMID 16092955.
  53. Rose KA, Adams A (2000). "A survey of the use of evidence-based health care in chiropractic college clinics" (PDF). Journal of Chiropractic Education. 14 (2): 71–77. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 ตุลาคม 2008.
  54. Homola S (2006). "Can chiropractors and evidence-based manual therapists work together? an opinion from a veteran chiropractor" (PDF). Journal of Manual & Manipulative Therapy. 14 (2): E14–18. CiteSeerX 10.1.1.366.2817. doi:10.1179/jmt.2006.14.2.14E. S2CID 71826135.
  55. 55.0 55.1 องค์การอนามัยโลก (2005). WHO guidelines on basic training and safety in chiropractic (PDF). ISBN 978-92-4-159371-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 มีนาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2008.
  56. Jenkins, HJ (5 ตุลาคม 2016). "Awareness of radiographic guidelines for low back pain: a survey of Australian chiropractors". Chiropractic & Manual Therapies. 24: 39. doi:10.1186/s12998-016-0118-7. PMC 5051064. PMID 27713818.
  57. Ammendolia C, Taylor JA, Pennick V, Côté P, Hogg-Johnson S, Bombardier C (2008). "Adherence to radiography guidelines for low back pain: A survey of chiropractic schools worldwide". Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics. 31 (6): 412–18. doi:10.1016/j.jmpt.2008.06.010. PMID 18722195.
  58. Singh, S; Ernst, E (2008). "The truth about chiropractic therapy". Trick or Treatment: The Undeniable Facts about Alternative Medicine. W.W. Norton. pp. 145–90. ISBN 978-0-393-06661-6.
  59. David Chapman-Smith (2000). "Principles and Goals of Chiropractic Care". The Chiropractic Profession: Its Education, Practice, Research and Future Directions. NCMIC Group. p. 160. ISBN 978-1-892734-02-0.
  60. "Guidance on claims made for the chiropractic vertebral subluxation complex" (PDF). General Chiropractic Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 เมษายน 2011. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2010.
  61. NBCE (2014), About Chiropractic, National Board of Chiropractic Examiners, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 มิถุนายน 2015, สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2015

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น