ปาทริส ลูมูมบา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปาทริส ลูมูมบา
ภาพถ่ายทางการของลูมูมบาเมื่อปี 1960
นายกรัฐมนตรี
สาธารณรัฐคองโก
คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
24 มิถุนายน – 5 กันยายน 1960
ประธานาธิบดีโฌแซ็ฟ กาซา-วูบู
รองอ็องตวน กีเซงกา
ก่อนหน้าประเดิมตำแหน่ง
ถัดไปโฌแซ็ฟ อีเลโอ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
24 มิถุนายน – 5 กันยายน 1960
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าประเดิมตำแหน่ง
ถัดไปแฟร์ดีน็อง กาซาดี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
Élias Okit'Asombo

2 กรกฎาคม ค.ศ. 1925(1925-07-02)
กาตาโกกอมเบ กงโก-กาซาย เบลเจียนคองโก[a]
เสียชีวิต17 มกราคม ค.ศ. 1961(1961-01-17) (35 ปี)
ใกล้กับเอลีซาแบ็ตวีล รัฐกาต็องกา[b]
สาเหตุการเสียชีวิตถูกประหารชีวิต (ด้วยปืน)
พรรคการเมืองขบวนการแห่งชาติคองโก (แอมแอนเซ)
คู่สมรสปอลีน โอปังโก (สมรส 1951)

ปาทริส เอเมอรี ลูมูมบา (ฝรั่งเศส: Patrice Émery Lumumba;[c] 2 กรกฎาคม 1925 – 17 มกราคม 1961) เป็นนักการเมืองและผู้นำขบวนการเอกราชคองโก เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ในเวลานั้นคือสาธารณรัฐคองโก) ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน 1960 และเป็นผู้นำของขบวนการแห่งชาติคองโก (แอมแอนเซ) นับตั้งแต่ปี 1958 จนกระทั่งเสียชีวิตในเดือนมกราคม 1961 เขาเชื่อมั่นในชาตินิยมแอฟริกาและอุดมการณ์รวมกลุ่มแอฟริกา ลูมูมบาเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนผ่านคองโกจากอาณานิคมของเบลเยียมสู่การเป็นรัฐเอกราช

ไม่นานหลังคองโกได้รับเอกราชในปี 1960 ได้เกิดการก่อการกำเริบขึ้นในกองทัพ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตการณ์คองโก ลูมูมบาได้ร้องขอให้สหรัฐและสหประชาชาติช่วยปราบปรามกลุ่มแบ่งแยกดินแดนกาต็องกาซึ่งมีเบลเยียมหนุนหลังและนำโดยมออีซ ชอมเบ คำร้องขอของลูมูมบาถูกปฏิเสธเนื่องจากความแคลงใจในโลกตะวันตกว่าลูมูบามีแนวคิดสนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์ ความแคลงใจนี้เพิ่มขึ้นอีกเมื่อลูมูมบาหันไปขอความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต ซีไอเอเรียกการขอความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตนี้ว่า "การยึดครองตามแบบฉบับของลัทธิคอมมิวนิสต์"[2]

หลังลูมูมบาถูกโค่นล้มจากการรัฐประหารที่นำโดยโมบูตู เซเซ เซโก เขาพยายามหลบหนีไปยังสตานเลวีลเพื่อร่วมกับกลุ่มผู้สนับสนุนในการจัดตั้งรัฐต่อต้านโมบูตูที่ชื่อสาธารณรัฐเสรีคองโก ลูมูมบาถูกเจ้าหน้าที่รัฐของโมบูตูจับกุมระหว่างทางไปสตานเลวีล เขาถูกเจ้าหน้าที่กาต็องกาประหารชีวิตต่อหน้าเจ้าหน้าที่และนายทหารจากกาต็องกาและเบลเยียม ศพเขาถูกโยนลงไปในหลุมตื้น ๆ แต่ต่อมาถูกขุดขึ้นและนำไปทำลายทิ้ง[3] หลังจากถูกสังหาร ลูมูมบาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้พลีชีพเพื่อขบวนการรวมกลุ่มแอฟริกาอย่างกว้างขวาง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การสอบสวนได้ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับเหตุการณ์แวดล้อมการเสียชีวิตของลูมูมบา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของเบลเยียมและสหรัฐ[3] ในปี 2002 เบลเยียมได้กล่าวคำขอโทษอย่างเป็นทางการจากส่วนร่วมในการสังหารลูมูมบา[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. ปาทริส ลูมูมบา ที่สารานุกรมบริตานิกา
  2. Turner 2007, p. 32.
  3. 3.0 3.1 "How did Patrice Lumumba die?".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. Boffey, Daniel (22 February 2019). "Reappearance of statue's missing hand reignites colonial row". The Guardian.

หมายเหตุ[แก้]

  1. ปัจจุบันคือซ็องกูรู สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
  2. ปัจจุบันคือลูบูมบาชี สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
  3. หรืออาจสะกดว่า Patrice Hemery Lumumba[1]

อ้างอิง[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]