ข้ามไปเนื้อหา

ไรออตเกิร์ล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไรออตเกิร์ล (อังกฤษ: Riot grrrl) เป็นการเคลื่อนไหวพังก์ใต้ดินคตินิยมสิทธิสตรีที่เกิดขึ้นต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ในรัฐวอชิงตัน[1] (ส่วนใหญ่ที่เมืองโอลิมเปีย)[2] และแปซิฟิกนอร์ทเวสต์ และยังมีต้นกำเนิดที่วอชิงตันดีซี[3] ยังเป็นการเคลื่อนไหววัฒนธรรมย่อยที่รวมสร้างจิตสำนักคตินิยมสิทธิสตรีกับพังก์และการเมืองเข้าด้วยกัน[4] และมักเกี่ยวข้องกับคตินิยมสิทธิสตรีคลื่นลูกที่สามที่ในบางครั้งอาจพูดได้ว่างอกเงยมาจากการเคลื่อนไหวไรออตเกิร์ลนั่นเอง ยังสามารถอธิบายถึงแนวเพลงนอกเหนือจากอินดี้ร็อกที่เพลงพังก์เป็นแรงบันดาลใจในการเคลื่อนไหวด้านดนตรี โดยมีผู้หญิงแสดงความคิดของตนเองในรูปแบบเดียวกับผู้ชายทำในหลายปีที่ผ่านมา[5]

วงไรออตเกิร์ลมักร้องเพลงในประเด็นอย่างเช่น การข่มขืน ความรุนแรงในครอบครัว เพศสภาพ คตินิยมเชื้อชาติ ระบบนิยมชาย (patriarchy) และการเพิ่มอำนาจสตรี วงสำคัญในการเคลื่อนไหวนี้ได้แก่ บิกินิคิลล์, แบรตโมไบล์, เฮฟเวนส์ทูเบตซี, เอกซ์คิวส์เซเวนทีน, ฮักกีแบร์, สกินด์ทีน, เอมิลีส์แซสซีไลม์ และสลีตเทอร์-คินนีย์, เช่นเดียวกับวง เควียร์คอร์ อย่างเช่น ทีมเดรสช์ และเดอะเติร์ดเซกซ์.[6][7] นอกจากนั้นกระแสดนตรีและแนวเพลงไรออตเกิร์ลยังเป็นวัฒนธรรมย่อยที่เกี่ยวข้องกับ ดีไอวาย, ซีน, ศิลปะ, การกระทำทางการเมือง (political action) และการเคลื่อนไหว (activism)[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "It's Riot Grrrl Day in Boston: 13 Songs to rock out to at work". Sheknows.com. สืบค้นเมื่อ 2016-07-18.
  2. Feliciano, Steve. "The Riot Grrrl Movement". New York Public Library.
  3. Wright, Lindsay (2015–2016). "Do-It-Yourself Girl Power: An Examination of the Riot Grrrl Subculture". James Madison Undergraduate Research Journal. 3: 53.
  4. Garrison, Ednie-Kach (2000). U.S. Feminism-Grrrl Style! Youth (Sub)Cultures and the Technologics of the Third Wave. Feminist Studies, Inc. p. 142. JSTOR 3178596.
  5. Marion Leonard. "Riot grrrl." Grove Music Online. Oxford Music Online. Oxford University Press. Web. 20 Jul. 2014.
  6. "List of Riot Girl Bands". Hot-topic.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 23, 2009. สืบค้นเมื่อ September 30, 2012.
  7. Marisa Meltzer (February 15, 2010). Girl Power: The Nineties Revolution in Music. Macmillan. p. 42. ISBN 9781429933285.
  8. Jackson, Buzzy (2005). A Bad Woman Feeling Good: Blues and the Women Who Sing Them. New York: W.W. Norton. ISBN 978-0-393-05936-6.