ข้ามไปเนื้อหา

ไทระ โนะ มาซากาโดะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไทระ โนะ มาซากาโดะ
平将門
ภาพวาดของมาซากาโดะซึ่งเดิมเก็บไว้ที่ศาลเจ้าสึกูโดะ (築土神社) ในเขตชิโยดะ กรุงโตเกียว ภาพวาดต้นแบบถูกทำลายในปี ค.ศ. 1945
เกิดไม่ทราบ; ป. ต้นทศวรรรษ 900?
เสียชีวิตวันที่ 14 เดือน 2 ศักราชเท็งเงียวปีที่ 3 (25 มีนาคม ค.ศ. 940)
แคว้นชิโมซะ (ปัจจุบันคือนครบันโด จังหวัดอิบารากิ)
สุสานมาซากาโดะ-ซูกะ ย่านโอเตมาจิ เขตชิโยดะ กรุงโตเกียว (ศีรษะ)
เอ็มเม-อิง นครบันโด จังหวัดอิบารากิ (ร่าง)
ชื่ออื่นไทระ โนะ โคจิโร มาซากาโดะ (平小次郎将門)
โซมะ โนะ โคจิโร (相馬小次郎)
มีชื่อเสียงจากการก่อกบฏต่อต้านราชสำนัก
บุตรโยชิกาโดะ
มาซากูนิ
ฮารูฮิเมะ (เนียวชุน-นิ)
เนียวโซ-นิ (จิโซ-นิ)
ซัตสึกิฮิเมะ (ทากิยาชาฮิโมะ)
บิดามารดา

ไทระ โนะ มาซากาโดะ (ญี่ปุ่น: 平将門โรมาจิTaira no Masakado; เสียชีวิต 25 มีนาคม ค.ศ. 940) เป็นเจ้าตระกูลผู้มีอิทธิพล (โกโซกุ) และซามูไรที่มีฐานอำนาจในภาคตะวันออกของญี่ปุ่นในยุคเฮอัง มีชื่อเสียงจากการเป็นผู้นำการก่อการกำเริบต่อราชสำนักในเกียวโตเป็นครั้งแรกเท่าที่มีการบันทึกในประวัติศาสตร์[1]

ประวัติช่วงต้น

[แก้]

มาซากาโดะเป็นบุตรชายคนหนึ่งของไทระ โนะ โยชิมาซะ (平良将) ซึ่งมีอีกชื่อว่า ไทระ โนะ โยชิโมจิ (平良持)[2] แห่งตระกูลไทระสายคัมมุ (คัมมุ เฮชิ) ทายาทผู้สืบเชื้อสายจากจักรพรรดิคัมมุ (ครองราชย์ ค.ศ. 781–806) ผู้ถูกลดฐานันดรศักดิ์จากการเป็นเชื้อพระวงศ์ไปมีสถานะสามัญชนและได้รับพระราชทานชื่อสกุลไทระ โยชิโมจิเป็นโอรสองค์หนึ่งของเจ้าชายทากาโมจิ พระนัดดาหรือพระปนัดดาของจักรพรรดิคัมมุผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเจ้าแคว้นของแคว้นคาซูซะ (ปัจจุบันอยู่ใจกลางจังหวัดชิบะ) ในปี ค.ศ. 889 (ศักราชคัมเปียวปีที่ 1) เหล่าบุตรชายของทากาโมจิได้รับดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่งของแคว้นในภาคตะวันออกของญี่ปุ่น เช่น ชินจูฟุ โชกุน ผู้บัญชาการทหารแห่งกองทหารรักษาการณ์ป้องกัน (ชินจูฟุ) ในแคว้นมุตสึ ทำหน้าที่ปราบปรามชาวเอมิชิทางเหนือ[3][4][5][6][7]

มีรายละเอียดไม่มากเกี่ยวกับการเกิดและประวัติของมาซากาโดะในช่วงต้นเพราะขาดหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร บันทึกลำดับวงศ์ตระกูล ซมปิ บุมเมียกุ (รวบรวม ค.ศ. 1377-1395) ระบุว่ามาซากาโดะเป็นบุตรชายคนที่ 3 จากบุตรชายทั้งหมด 8 คนของโยชิโมจิ ส่วนลำดับวงศ์ตระกูลของตระกูลโซมะ (สาขาที่แยกมาจากตระกูลชิบะซึ่งสืบเชื้อสายจากโยชิฟูมิ ลุงของมาซากาโดะ) โซมะ เคซุ (相馬系図) ระบุว่ามาซากาโดะเป็นบุตรชายคนที่ 2 จากบุตรชายทั้งหมด 7 คน[2] โซมะ เคซุยังอ้างว่ามาซากาโดะมีชื่อเล่นว่า โซมะ โนะ โคจิโร (相馬小次郎, โคจิโร มีความหมายว่า "บุตรชายคนรองตัวน้อย") ในช่วงวัยเด็ก บอกเป็นนัยว่ามาซากาโดะเติบโตในเขตโซมะ (相馬郡) ในแคว้นชิโมซะ (ส่วนหนึ่งของทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดอิบารากิในปัจจุบัน)[8] แม้ว่าความน่าเชื่อถือของข้อมูลยังเป็นที่กังขา[9] บางครั้งมีการระบุว่ามารดาของมาซากาโดะเป็นบุตรสาวของอางาตะ (โนะ) อินูไก โนะ ฮารูเอะ (県犬養春枝) ซึ่งอาจเป็นเจ้าตระกูลผู้มีอิทธิพลจากเขตโซมะ[9][10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Nussbaum, Louis Frédéric et al. (2005). "Taira no Masakado" in Japan Encyclopedia, p. 926., p. 926, ที่กูเกิล หนังสือ.
  2. 2.0 2.1 Rabinovitch, Judith N. (1986). Shōmonki: The Story of Masakado's Rebellion. Sophia University Press. p. 73.
  3. Department of Education (Monbushō), บ.ก. (1937). History of the Empire of Japan. Dai Nippon Tosho Kabushiki Kwaisha. p. 137.
  4. Varley, Paul (1994). Warriors of Japan as Portrayed in the War Tales. University of Hawaii Press. p. 9. ISBN 9780824816018.
  5. Sansom, George Bailey (1958). A History of Japan to 1334. Stanford University Press. p. 247. ISBN 9780804705233.
  6. Friday, Karl (2008). The First Samurai: The Life and Legend of the Warrior Rebel, Taira Masakado. John Wiley & Sons. pp. 34–39. ISBN 9780471760825.
  7. Plutschow, Herbert E. (1995). Japan's Name Culture: The Significance of Names in a Religious, Political and Social Context. Psychology Press. p. 112. ISBN 9781873410424.
  8. Friday, Karl (2008). The First Samurai: The Life and Legend of the Warrior Rebel, Taira Masakado. John Wiley & Sons. pp. 39-40.
  9. 9.0 9.1 石下町史 (Ishige-machi Shi). Ishige-machi Shi Hensan Iinkai. 1988. pp. 136–139.
  10. "平将門公生誕1111年記念 特別展「平将門伝説 ~東国の自立を夢見た男 その史実と伝承~" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). さしま郷土館ミューズ. 2013. p. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-13. สืบค้นเมื่อ 2021-01-29.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]