โฮโลโปรเซนเซฟาลี
โฮโลโปรเซนเซฟาลี Holoprosencephaly | |
---|---|
แผนภาพแสดงส่วนย่อยหลักของสมองสัตว์มีกระดูกสันหลังขณะเป็นเอ็มบริโอ | |
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | Q04.2 |
ICD-9 | 742.2 |
OMIM | 236100 |
DiseasesDB | 29610 |
eMedicine | radio/347 |
MeSH | D016142 |
GeneReviews |
โฮโลโปรเซนเซฟาลี (อังกฤษ: Holoprosencephaly, ย่อ: HPE) เป็นความผิดปกติของศีรษะซึ่งสมองส่วนหน้าของเอ็มบริโอไม่เจริญแยกเป็นสองซีก ตามปกติ สมองส่วนหน้าจะก่อตัวขึ้นและใบหน้าเริ่มเจริญในสัปดาห์ที่ห้าและหกของการตั้งครรภ์ สภาวะดังกล่าวยังเกิดในสปีชีส์อื่นด้วย เช่น แมว
สภาพดังกล่าวสามารถเป็นได้ทั้งไม่รุนแรงและรุนแรง ตามข้อมูลของสถาบันความผิดปกติทางประสาทวิทยาและสโตรคแห่งชาติ (NINDS) ในผู้ป่วยโฮโลโปรเซนเซฟาลีส่วนใหญ่ รูปพิการนั้นรุนแรงเสียจนทารกเสียชีวิตก่อนเกิด[1]
เมื่อสมองส่วนหน้าของเอ็มบริโอไม่แบ่งไปสร้างซีกสมองใหญ่สองด้าน (ครึ่งซ้ายและขวาของสมอง) จะก่อให้เกิดความบกพร่องในการเจริญของใบหน้า ตลอดจนโครงสร้างและการทำหน้าที่ของสมอง
ในกรณีที่รุนแรงน้อยกว่า ทารกจะเกิดมามีการเจริญของสมองปกติหรือใกล้เคียงปกติ และการผิดรูปของใบหน้าที่อาจกระทบตา จมูกและริมฝีปากบน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "NINDS Holoencephalopathy Information Page". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-04. สืบค้นเมื่อ 2013-02-10.