โอนามาซุ
โอนามาซุ (ญี่ปุ่น: 大鯰; โรมาจิ: ōnamazu) ตามตำนานญี่ปุ่นเป็นปลาดุกยักษ์ที่อาศัยอยู่ใต้เกาะญี่ปุ่น เมื่อมันขยับตัวจะทำให้เกิดแผ่นดินไหว โอนามาซุอาศัยอยู่ใต้เกาะญี่ปุ่นและถูกควบคุมโดยเทพเจ้าทาเกมิกาซูจิ ที่ประดิษฐานอยู่ที่คาชิมะ ซึ่งเทพเจ้าทาเกมิกาซูจิจะยับยั้งการขยับของโอนามาซุด้วยหิน แต่เมื่อทาเกมิกาซูจิชะล่าใจและปล่อยให้หินของเขาล้มลง โอนามาซุก็จะใช้โอกาสนี้ในการขยับตัวซึ่งจะทำให้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง
ตำนาน
[แก้]ตามตำนานของญี่ปุ่นเล่าว่าโอนามาซุคือปลาดุกขนาดมหึมาที่อาศัยอยู่ใต้พื้นโลก[1] ซึ่งเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหว[2] ความเกี่ยวข้องระหว่างโอนามาซุกับแผ่นดินไหวเกิดขึ้นครั้งแรกในทะเลสาบบิวะ ในช่วงเวลาประมาณศตวรรษที่ 16[3] โอนามาซุได้รับการวาดจากภาพโอสึเอะ ซึ่งเป็นศิลปะในบริเวณนั้น
โอนามาซุมีเกี่ยวข้องกับเทพพระเจ้าทาเกมิกาซูจิและ "หินรากฐาน" ในเมืองคาชิมะ จังหวัดอิบารากิ ซึ่งเป็นหินขนาดใหญ่ที่ทับไม่ให้ปลาดุกขยับได้ แต่เมื่อพระเจ้าทาเกมิกาซูจิชะล่าใจ โอนามาซุก็จะขยับตัวจนทำให้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง [4]
คำอธิบาย
[แก้]ความเชื่อเกี่ยวกับปลาดุกและแผ่นดินไหวไม่ได้มีอยู่ในญี่ปุ่นจนถึงปลายศตวรรษที่ 17 และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นหลังความเชื่อในการทำนายแผ่นดินไหวในช่วงศตวรรษที่ 19[5] ก่อนเกิดแผ่นดินไหวในเอโดะใน ค.ศ. 1855 ชาวประมงที่กำลังจะไปหาปลาไหลรายงานว่าพบปลาดุกมีพฤติกรรมผิดปกติในแม่น้ำ ซึ่งเขาก็ใช้ปลาดุกเป็นตัวทำนายแผ่นดินไหว[6] ต่อมาในคืนนั้นก็ได้เกิดแผ่นดินไหวขึ้น สอดคล้องกับเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยซึ่งบันทึกไว้ในพงศาวดาร ค.ศ. 1856 รายงานข่าวเกี่ยวกับปลาดุกสามารถทำนายแผ่นดินไหวได้ตามธรรมชาติ[5] ในช่วงทศวรรษที่ 1930 นักแผ่นดินไหวชาวญี่ปุ่น ชินกิชิ ฮาไต และโนโบรุ อาเบะ ได้ แสดงให้เห็นว่าปลาดุกในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมีพฤติกรรมผิดปกติก่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหวหลายชั่วโมง และสามารถคาดการณ์แผ่นดินไหวด้วยความแม่นยำ 80%[7]
ประวัติ
[แก้]นามาซุเอะ
[แก้]นามาซุเอะ เป็นภาพพิมพ์ปลาดุกที่รู้จักกันในศตวรรษที่ 19[8] ภาพเหล่านี้ถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ในปริมาณมากหลังจากเกิดแผ่นดินไหวในเอโดะ ค.ศ. 1855 ถือเป็นแผ่นดินไหวที่ใหญ่ที่สุดในยุคอันเซ[9] ภาพพิมพ์แกะไม้เหล่านี้ส่วนใหญ่มีฉากเทพเจ้าที่ปราบปลาดุก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Rabitz, Albrecht; Rabitz, Gisela (2010). “When the Namazu Shakes its Body”, Andon (88), pp. 5–27.
- ↑ Ouwehand (1964), p. 6.
- ↑ Smits (2009), pp. 10–11.
- ↑ Ouwehand (1964), pp. 67–72.
- ↑ 5.0 5.1 Smits, Gregory (2012). "Conduits of Power: What the Origins of Japan's Earthquake Catfish Reveal about Religious Geography". Japan Review (24): 41–65. ISSN 0915-0986. JSTOR 41592687.
- ↑ Smits, Gregory (2014). Seismic Japan : the long history and continuing legacy of the Ansei Edo earthquake. Honolulu: University of Hawaiʻi Press. ISBN 978-0-8248-3910-9. OCLC 869303977.
- ↑ "Sensitivity of Fish to Earthquakes". Nature (ภาษาอังกฤษ). 132 (3343): 817. November 1933. Bibcode:1933Natur.132R.817.. doi:10.1038/132817b0. ISSN 0028-0836.
- ↑ Smits (2009), p. 10.
- ↑ Smits (2006), p. 1055; Smits (2009), pp. 10–11
- บรรณานุกรม
- Ouwehand, Cornells (1964). Namazu-e and Their Themes: An Interpretative Approach to Some Aspects of Japanese Folk Religion. Leiden: Brill.
- Smits, Gregory (Summer 2006). "Shaking up Japan: Edo Society and the 1855 Catfish Picture Prints" (PDF). Journal of Social History. 39 (4): 1045–1078. doi:10.1353/jsh.2006.0057. S2CID 53392354. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-11-05. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
- —— (2009). "Warding off Calamity in Japan: A Comparison of the 1855 Catfish Prints and the 1862 Measles Prints" (PDF). East Asian Science, Technology, and Medicine. 30: 9–31. doi:10.1163/26669323-03001003.