ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนประจำอินเดียนแคมลูปส์

พิกัด: 50°40′47″N 120°17′42″W / 50.67972°N 120.29500°W / 50.67972; -120.29500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพอาคารโรงเรียนในราว ค.ศ. 1930

โรงเรียนประจำอินเดียนแคมลูปส์ (อังกฤษ: Kamloops Indian Residential School) เคยเป็นโรงเรียนในระบบโรงเรียนประจำสำหรับชาวอินเดียนในแคนาดา และเคยเป็นโรงเรียนประจำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศแคนาดา ตั้งอยู่ในรัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา มีนักเรียนมากถึง 500 คนในคริสต์ทศวรรษ 1950[1][2]

โรงเรียนนี้ก่อตั้งใน ค.ศ. 1890 ดำเนินงานจนใน ค.ศ. 1969 ถูกรัฐบาลกลางเข้าถือครองกิจการเพื่อใช้เป็นที่พักโรงเรียนรายวัน จนกระทั่งปิดตัวลงใน ค.ศ. 1978[3] อาคารของโรงเรียนก็ยังมีอยู่จนทุกวันนี้ โดยอยู่ในพื้นที่ของ Tk’emlups te Secwepemc ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในหมู่เฟิตส์เนชันส์ (First Nations)[4]

ประวัติ[แก้]

เริ่มแรก โรงเรียนนี้ใช้ชื่อว่า โรงเรียนอุตสาหกรรมแคมลูปส์ (Kamloops Industrial School) เปิดทำการใน ค.ศ. 1890 ต่อมาใน ค.ศ. 1893 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนประจำอินเดียนแคมลูปส์ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเด็กพื้นเมืองให้เข้ากับวัฒนธรรมใหม่[2] โรงเรียนนี้ตั้งอยู่ในดินแดนดั้งเดิมของ Secwepemc กลุ่มชาติพันธุ์ในหมู่เฟิตส์เนชันส์ และดำเนินกิจการต่อมาจน ค.ศ. 1977 ก่อนจะปิดตัวลงในปีรุ่งขึ้น ครูใหญ่คนแรก คือ Michel Hagan ซึ่งดำรงตำแหน่งจนลาออกใน ค.ศ. 1892 รัฐบาลสมัยนั้นจึงให้คณะนักบวชที่เรียก Oblates of Mary Immaculate เข้าดำเนินกิจการของโรงเรียนแทน[2] นักบวชนาม จี.พี. ดันลอป (G.P. Dunlop) จึงเข้าเป็นครูใหญ่ใน ค.ศ. 1958 โดยเป็นการย้ายตำแหน่งมาจากโรงเรียนประจำอินเดียนคูตเนย์ (Kootenay Indian Residential School) ในรัฐบริติชโคลัมเบีย[5]

การออกกฎหมายบังคับให้เด็กพื้นเมืองต้องเข้าโรงเรียนประจำในคริสต์ทศวรรษ 1920 ทำให้เด็กชาติพันธุ์ Secwepemc หลายร้อยคนต้องเข้าอยู่ประจำที่โรงเรียนนี้ โดยมีการใช้กำลังพรากเด็กหลายคนไปจากบ้านเรือนเพื่อนำมาไว้ที่นี่[2] เด็กที่เข้าเรียน ณ ที่นี้ถูกห้ามใช้ภาษา Secwepemctsin อันเป็นภาษาพื้นเมือง และห้ามนับถือภูตผีตามประเพณีของตัว จำนวนนักเรียนที่มากมายทำให้โรงเรียนนี้มีสถานะเป็นโรงเรียนประจำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศแคนาดาอยู่ช่วงหนึ่ง[6]

วันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1924 เพลิงไหม้ตึกหญิง ทำให้นักเรียน 40 คนต้องทนอากาศติดลบ 10 องศาเซลเซียส โดยสวมใส่แต่ชุดสำหรับกลางคืน[7]

ใน ค.ศ. 1962 นักเต้นจากโรงเรียนนี้ได้รับโล่นอร์แมนเดย์คอนเฟเดอเรชันไลฟ์ (Norman Day Confederation Life shield) หลังได้ 3 อันดับแรกในการแข่งเต้นพื้นเมืองสำหรับบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปีที่เทศกาลดนตรี Okanagan[8] ต่อมาใน ค.ศ. 1964 ซิสเตอ Mary Leoita หัวหน้ากลุ่มนักเต้น ถูกย้ายไปจากโรงเรียนนี้ และหาคนมาแทนไม่ได้ กลุ่มนักเต้นจึงถูกยุบ[9]

โรงเรียนนี้ยังปรากฏในภาพยนตร์คริสต์มาสเรื่อง อายส์ออฟเดอะชิลเดรน (Eyes of the Children) เมื่อ ค.ศ. 1962[10] ซึ่งจอร์จ รอเบิร์ตสัน (George Robertson) ผลิต มีเนื้อหาว่าด้วยนักเรียน 400 คนที่ตระเตรียมเทศกาลคริสต์มาส นำออกฉายทางสถานีโทรทัศน์ซีบีซีในวันคริสต์มาส[11]

สุสานหมู่[แก้]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2021 ด้วยความอนุเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญด้านเรดาร์เจาะพื้นดิน (ground-penetrating radar) จึงพบศพเด็ก 215 คนถูกฝังอยู่ในพื้นที่โรงเรียน[6][3] Rosanne Casimir หัวหน้ากลุ่ม Tk’emlups te Secwepemc กลุ่มชาติพันธุ์ในหมู่เฟิตส์เนชันส์ เชื่อว่า การตายเหล่านี้ไม่มีบันทึกไว้ และกำลังตรวจสอบว่า มีจดหมายเหตุที่เกี่ยวข้องอยู่ในราชพิพิธภัณฑ์บริติชโคลัมเบีย (Royal British Columbia Museum) หรือไม่[6] Casimir ยังกล่าวว่า การสแกนเรดาร์ยังไม่เสร็จสิ้น คาดว่า จะค้นพบเพิ่มเติมอีก[1]

ริชาร์ด จ็อก (Richard Jock) หัวหน้าการสาธารณสุขเฟิตส์เนชันส์ (First Nations Health Authority) แถลงว่า สถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ของระบบโรงเรียนประจำที่สร้างความเสียหายให้แก่กลุ่มชาติพันธุ์เฟิตส์เนชันส์มายาวนาน[3] จอห์น ฮอร์แกน (John Horgan) พรีเมียร์แห่งบริติชโคลัมเบีย กล่าวว่า รู้สึกตระหนกและเสียใจต่อการค้นพบครั้งนี้ และจะสนับสนุนการทำงานเพิ่มเติมเพื่อให้ประจักษ์ถึงขอบเขตของความสูญเสียครั้งนี้อย่างเต็มที่[1] มาร์ก มิลเลอร์ (March Miller) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการพื้นเมือง (Ministry of Indigenous Services) ก็ว่า จะสนับสนุนอีกแรง[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Austen, Ian (2021-05-28). "'Horrible History': Mass Grave of Indigenous Children Reported in Canada". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-05-28.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Favrholdt, Ken. "Kamloops History: The dark and difficult legacy of the Kamloops Indian Residential School". Kamloops This Week. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-29. สืบค้นเมื่อ 28 May 2021.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Remains of 215 children found buried at former B.C. residential school, First Nation says". CBC News. 28 May 2021. สืบค้นเมื่อ 28 May 2021.
  4. Project of the Heart: Illuminating the hidden history of Indian Residential Schools in BC (PDF). The BC Teachers’ Federation: Educating for truth and reconciliation. 2015. สืบค้นเมื่อ 28 May 2021.
  5. "B.C. News Roundup: Kootenays". The Province. Vancouver. 6 August 1958. p. 26.
  6. 6.0 6.1 6.2 "Remains of 215 children found at former Kamloops residential school". Globe & Mail. 28 May 2021. สืบค้นเมื่อ 28 May 2021.
  7. "Kamloops Indian School Burned". Victoria Daily Times. 24 December 1924. p. 1.
  8. "Kamloops and Kelowna Take Festival Honors". The Province. Vancouver. 26 May 1962. p. 1.
  9. "Dance Group to Disband". The Province. Vancouver. 15 September 1964. p. 1.
  10. "'The Eyes of Children' - Christmas at a residential school". CBC. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021.
  11. "Indian school subject of 'special'". The Ottawa Citizen (ภาษาอังกฤษ). 22 December 1962. p. 45. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021.

50°40′47″N 120°17′42″W / 50.67972°N 120.29500°W / 50.67972; -120.29500