โรควัวบ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวัวที่เป็น BSE ลักษณะของโรค คือ สัตว์ที่ติดเชื้อจะยืนไม่ได้

โรคสมองรูปฟองน้ำวัว (อังกฤษ: bovine spongiform encephalopathy, ย่อ: BSE) หรือรู้จักกันทั่วไปว่า โรควัวบ้า เป็นโรคเสื่อมของระบบประสาท (โรคสมอง) ถึงตายในปศุสัตว์ซึ่งทำให้เกิดการเสื่อมฟองน้ำ (spongy degeneration) ในสมองและไขสันหลัง โรควัวบ้ามีระยะฟักนาน ราว 30 เดือนถึง 8 ปี ปกติมีผลต่อปศุสัตว์โตเต็มวัยโดยมีอายุตั้งต้นสูงสุดที่สี่ถึงห้าปี ทุกสายพันธุ์ไวรับเท่ากัน[1] ในสหราชอาณาจักร ประเทศซึ่งได้รับผลมากที่สุด มีปศุสัตว์ติดเชื้อกว่า 180,000 ตัว และถูกฆ่า 4.4 ล้านตัวระหว่างโครงการกำจัด[2]

โรคนี้อาจส่งผ่านสู่มนุษย์ได้ง่ายที่สุดโดยการกินอาหารที่ปนเปื้อนด้วยสมอง ไขสันหลังหรือทางเดินอาหารของสัตว์ที่ติดเชื้อ[3] ทว่า เชื้อก่อโรคซึ่งแม้กระจุกในเนื้อเยื่อประสาทสูงสุด แต่สามารถพบได้แทบทุกเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย รวมทั้งเลือด[4] ในมนุษย์ถือว่าโรคนี้เป็นชนิดย่อย (variant) หนึ่ง ของโรคครอยท์ซเฟลดท์–ยาคอบ (vCJD หรือ nvCJD) และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 166 คนในสหราชอาณาจักร และที่อื่น 44 คน[5] มีสัตว์ที่ติดเชื้อ BSE ระหว่าง 460,000 ถึง 482,000 ตัวเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ก่อนมีการริเริ่มควบคุมเครื่องในสัตว์ความเสี่ยงสูงในปี พ.ศ. 2532 สาเหตุของโรคเกิดจาก พรีออน ซึ่งเป็น คือ โปรตีนขนาดเล็ก ไม่ละลายน้ำ ทนความร้อน พรีออนเป็นปรสิตต่อคนและสัตว์[6]

ประวัติ[แก้]

มีสมมติฐานที่แตกต่างกันสำหรับต้นกำเนิดของโรค BSE ในวัว สมมติฐานหนึ่งชี้ให้เห็นว่าอาจเป็นการข้ามสายพันธุ์จากโรคสเครปี (scrapie) ในแกะ และอีกสมมติฐานหนึ่งชี้ให้เห็นว่ามันมีวิวัฒนาการมาจากรูปแบบของ "โรควัวบ้า" ที่หาได้ยาก ซึ่งมักพบเห็นในวัวเป็นเวลากว่าหลายศตวรรษ[7][8] ในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช ฮิปพอคราทีสอธิบายถึงความเจ็บป่วยที่คล้ายคลึงกันในวัวและแกะซึ่งเขาเชื่อว่าเกิดขึ้นกับมนุษย์เช่นกัน[9] เวเจติอุส (Publius Flavius Vegetius Renatus) บันทึกกรณีของโรคที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในคริสต์ศตวรรษที่สี่ และห้า[10]

ในประวัติช่วงล่าสุดของสหราชอาณาจักร การสอบสวนโรค BSE อย่างเป็นทางการ (เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2543) ชี้ให้เห็นว่าการระบาดที่นั่น "อาจเกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดจุดเดียวทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอังกฤษในคริสต์ทศวรรษ 1970"[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. "A Focus on Bovine Spongiform Encephalopathy". Pathogens and Contaminants. Food Safety Research Information Office. November 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-03. สืบค้นเมื่อ 2008-04-07.
  2. Brown, David (June 19, 2001). "The 'recipe for disaster' that killed 80 and left a £5bn bill". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 2008-04-07.
  3. "Commonly Asked Questions About BSE in Products Regulated by FDA's Center for Food Safety and Applied Nutrition (CFSAN)". Center for Food Safety and Applied Nutrition, Food and Drug Administration. September 14, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 9, 2008. สืบค้นเมื่อ April 8, 2008.
  4. I Ramasamy; M Law; S Collins; F Brook (April 2003). "Organ distribution of prion proteins in variant Creutzfeldt-Jakob disease". The Lancet Infectious Diseases. 3 (4): 214–222. doi:10.1016/S1473-3099(03)00578-4. PMID 12679264.
  5. "Variant Creutzfeld-Jakob Disease, Current Data (October 2009)". The National Creutzfeldt-Jakob Disease Surveillance Unit (NCJDSU), University of Edinburgh. October 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-21. สืบค้นเมื่อ 2010-10-14.
  6. Valleron AJ; Boelle PY; Will R; Cesbron JY (November 2001). "Estimation of epidemic size and incubation time based on age characteristics of vCJD in the United Kingdom". Science. 294 (5547): 1726–8. doi:10.1126/science.1066838. PMID 11721058.
  7. MacKenzie, Debora (March 17, 2007). "New twist in tale of BSE's beginnings". New Scientist. 193 (2595): 11. doi:10.1016/S0262-4079(07)60642-3. สืบค้นเมื่อ June 20, 2009.
  8. Huor A, Espinosa JC, Vidal E, Cassard H, Douet JY, Lugan S, และคณะ (December 2019). "The emergence of classical BSE from atypical/Nor98 scrapie". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 116 (52): 26853–26862. doi:10.1073/pnas.1915737116. PMC 6936354. PMID 31843908.
  9. Vivian McAlister (June 2005). "Sacred disease of our times: failure of the infectious disease model of spongiform encephalopathy". Clinical and Investigative Medicine. 28 (3): 101–4. PMID 16021982.
  10. Publius Flavius Vegetius Renatus. Digesta Artis Mulomedicinae (ภาษาละติน). Centre Traditio Litterarum Occidentalium, Brepols.
  11. Stanley B. Prusiner (May 2001). "Shattuck lecture--neurodegenerative diseases and prions". The New England Journal of Medicine. 344 (20): 1516–26. doi:10.1056/NEJM200105173442006. PMID 11357156.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]