ข้ามไปเนื้อหา

โรคทางเดินอาหารโดยหน้าที่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรคลำไส้
(intestinal disorder)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
MeSHD003109

โรคทางเดินอาหารโดยหน้าที่ (อังกฤษ: functional gastrointestinal disorders ตัวย่อ FGID) หรือ โรคทางเดินอาหารที่ไม่รู้สาเหตุ รวมโรคที่ไม่รู้สาเหตุต่าง ๆ หลายอย่างซึ่งมีผลต่อทางเดินอาหารส่วนต่าง ๆ และมีอาการเป็นความไวเจ็บ/ปวดอวัยวะภายในและการบีบตัวผิดปกติของทางเดินอาหาร[1]

การจัดหมู่

[แก้]

ศัพท์แพทย์ภาษาอังกฤษว่า functional colonic disease หรือ functional bowel disorder หมายถึงกลุ่มโรคลำไส้ซึ่งมีอาการปวดท้องเรื้อรังโดยไร้เหตุทางโครงสร้างหรือทางเคมีชีวภาพที่สามารถอธิบายอาการเช่นนี้ได้ ดังนั้น โรคหน้าที่อื่น ๆ จึงหมายถึงปัญหาด้านอื่น ๆ ของกระบวนการย่อยอาหาร

กระบวนการทบทวนวรรณกรรมเพื่อความเห็นพ้องของมูลนิธิโรม ที่รู้จักกันว่า กระบวนการโรม (Rome process) ได้ช่วยนิยามโรคทางเดินอาหารโดยหน้าที่[2] การทบทวน Rome I, Rome II, Rome III และ Rome IV จึงได้เสนอระบบการจัดหมู่และศัพท์โดยอาศัยความเห็นพ้องและคำแนะนำจากคณะกรรมการประสานงานโรม (Rome Coordinating Committee) ปัจจุบันจึงมีหมวดหมู่ทั้งสำหรับผู้ใหญ่ เด็ก และเด็กเกิดใหม่/เด็กฝึกเดิน

ต่อไปนี้เป็นหมวดหมู่ Rome IV ที่เผยแพร่ในปี 2016[1]

A. โรคหลอดอาหาร (Esophageal Disorders)

B. Gastroduodenal Disorders (โรคกระเพาะ-ต้นลำไส้เล็ก)

  • B1. อาหารไม่ย่อยไม่ทราบสาเหตุ (functional dyspepsia)
    • B1a. อึดอัดหลังอาหาร (postprandial distress syndrome)
    • B1b. ปวดใต้ลิ้นปี (epigastric pain syndrome)
  • B2. โรคเรอ (Belching disorders )
    • B2a. Excessive supragastric belching (โรคเรอเหตุเหนือกระเพาะอาหาร)
    • B2b. Excessive gastric belching (โรคเรอเหตุกระเพาะอาหาร)
  • B3. โรคคลื่นไส้และอาเจียน
    • B3a. อาการคลื่นไส้แล้วอาเจียนเรื้อรัง (chronic nausea vomiting syndrome)
    • B3b. Cyclic vomiting syndrome (CVS) (อาการอาเจียนเป็นรอบ ๆ)
    • B3c. อาการอาเจียนร้ายแรงเหตุกัญชา (Cannabinoid hyperemesis syndrome)
  • B4. กลุ่มอาการสำรอก (rumination syndrome)

C. โรคลำไส้ (Bowel Disorders)

  • C1. กลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (IBS)
    • IBS ที่หนักด้วยท้องผูก (IBS-C)
    • IBS ที่หนักด้วยท้องร่วง (IBS-D)
    • IBS ที่ถ่ายอย่างผสม (IBS-M)
    • IBS ที่ไม่จัดหมู่ (IBS-U)
  • C2. ท้องผูกตามหน้าที่ (functional constipation)
  • C3. ท้องร่วงตามหน้าที่ (functional diarrhea)
  • C4. functional abdominal bloating/distension
  • C5. unspecified functional bowel disorder
  • C6. ท้องผูกเหตุโอปิออยด์ (opioid-induced constipation)

D. Centrally Mediated Disorders of Gastrointestinal Pain

  • D1. Centrally mediated abdominal pain syndrome (CAPS)
  • D2. Narcotic bowel syndrome (NBS) / Opioid-induced GI hyperalgesia

E. Gallbladder and Sphincter of Oddi disorders

  • E1. การเจ็บที่ถุง/ท่อน้ำ (biliary pain)
    • E1a. โรคถุงน้ำดีตามหน้าที่ (functional gallbladder disorder )
    • E1b. functional biliary sphincter of Oddi disorder
  • E2. Functional pancreatic sphincter of Oddi disorder

F. โรคทวารหนักและไส้ตรง (anorectal disorders)

  • F1. กลั้นอุจจาระไม่ได้ (fecal incontinence)
  • F2. ภาวะเจ็บทวารหนักและไส้ตรงตามหน้าที่ (functional anorectal pain)
    • F2a. Levator ani syndrome
    • F2b. Unspecified functional anorectal pain
    • F2c. Proctalgia fugax
  • F3. ความผิดปกติของการถ่ายอุจจาระตามหน้าที่ (functional defecation disorders)
    • F3a. Inadequate defecatory propulsion
    • F3b. Dyssynergic defecation

G. โรคทางเดินอาหารตามหน้าที่ในวัยเด็ก: เด็กเกิดใหม่/เด็กหัดเดิน (Childhood Functional GI Disorders: Neonate/Toddler)

  • G1. การขย้อนของทารก (infant regurgitation)
  • G2. กลุ่มอาการสำรอก (rumination syndrome)
  • G3. Cyclic vomiting syndrome (CVS)
  • G4. Infant colic
  • G5. ท้องร่วงตามหน้าที่ (functional diarrhea)
  • G6. Infant dyschezia
  • G7. ท้องผูกตามหน้าที่ (functional constipation)

H. โรคทางเดินอาหารตามหน้าที่ในวัยเด็ก: เด็กเกิดใหม่/เด็กหัดเดิน (Childhood Functional GI Disorders: Neonate/Toddler)

  • H1. Functional nausea and vomiting disorders
    • H1a. Cyclic vomiting syndrome (CVS)
    • H1b. การคลื่นไส้และอาเจียนตามหน้าที่ (functional nausea and functional vomiting)
      • H1b1. การคลื่นไส้ตามหน้าที่ (functional nausea)
      • H1b2. การอาเจียนตามหน้าที่ (Functional vomiting)
    • H1c. กลุ่มอาการสำรอก (rumination syndrome)
    • H1d. อาการกลืนอากาศ (aerophagia)
  • H2. โรคปวดท้องตามหน้าที่ (functional abdominal pain disorders)
  • H3. โรคถ่ายอุจจาระตามหน้าที่ (functional defecation disorders)
    • H3a. ท้องผูกตามหน้าที่ (functional constipation)
    • H3b. Nonretentive fecal incontinence

การระบาด

[แก้]

โรคกระเพาะลำไส้สามัญมาก ทั่วโลก แค่โรค IBS และอาหารไม่ย่อยตามหน้าที่เพียงสองอย่างก็มีผลต่อประชากร 16-26% แล้ว[1][3]

งานวิจัย

[แก้]

มีงานวิจัยพอสมควรในเรื่องเหตุ การวินิจฉัย และการรักษาโรคกลุ่มนี้ (FGID) อาหาร จุลินทรีย์ในร่างกาย พันธุกรรม การทำงานของระบบประสาท-กล้ามเนื้อ และการตอบสนองของระบบภูมิต้านทาน ล้วนมีบทบาทในการเกิดโรค[1] แม้การปลุกฤทธิ์แมสต์เซลล์ก็เสนอว่าเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งด้วย[4][5]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Drossman, DA (2016). "Functional Gastrointestinal Disorders: History, Pathophysiology, Clinical Features and Rome IV". Gastroenterology. 150 (6): 1262–1279. doi:10.1053/j.gastro.2016.02.032. PMID 27144617.
  2. "Rome Foundation // Scoring Rome III Questionnaire using SAS". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2018-10-29.
  3. Sperber AD, Drossman DA, Quigley EM (2012). "The global perspective on irritable bowel syndrome: a Rome Foundation-World Gastroenterology Organisation symposium". Am. J. Gastroenterol. 107 (11): 1602–9. doi:10.1038/ajg.2012.106. PMID 23160283.
  4. Wouters MM, Vicario M, Santos J (2015). "The role of mast cells in functional GI disorders". Gut. 65: 155–168. doi:10.1136/gutjnl-2015-309151. PMID 26194403. It is well established that mast cell activation can generate epithelial and neuro-muscular dysfunction and promote visceral hypersensitivity and altered motility patterns in FGIDs, postoperative ileus, food allergy and inflammatory bowel disease.
  5. Bashashati, M; Moossavi, S; Cremon, C; Barbaro, MR; Moraveji, S; Talmon, G; Rezaei, N; Hughes, PA; Bian, ZX; Choi, CH; Lee, OY; Coëffier, M; Chang, L; Ohman, L; Schmulson, MJ; McCallum, RW; Simren, M; Sharkey, KA; Barbara, G (มกราคม 2018). "Colonic immune cells in irritable bowel syndrome: A systematic review and meta-analysis". Neurogastroenterology & Motility. 30 (1). doi:10.1111/nmo.13192. PMID 28851005. Mast cells and CD3+ T cells are increased in colonic biopsies of patients with IBS vs non-inflamed controls