โถไลเดิน
โถไลเดิน (อังกฤษ: Leiden jar) หรือ โถเลย์เดน (อังกฤษ: Leyden jar) คือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เก็บประจุไฟฟ้าแรงสูงระหว่างตัวนำไฟฟ้าที่อยู่ภายในและภายนอกโถ ประกอบไปด้วยโถแก้วที่มีแผ่นฟอยล์โลหะติดอยู่ที่พื้นผิวทั้งภายในโถและนอกโถ และมีปลายขั้วที่เป็นโลหะยื่นออกมาทางแนวตั้งเพื่อสัมผัสกับแผ่นฟอยล์ที่อยู่ด้านใน
โถไลเดินถูกประดิษฐ์คิดค้นโดย เอวาลด์ จอร์จ ฟอน ไคลสต์ และ ปีเตอร์ ฟาน มุเชนบรูค ในระหว่าง ค.ศ. 1745-1746[1] และยังถือเป็นรูปแบบดั้งเดิมของตัวเก็บประจุ[2] โถไลเดินเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำการทดลองต่าง ๆ เกี่ยวกับไฟฟ้าในยุคแรก ๆ และการค้นพบของโถไลเดินนี้ก็ยังเป็นรากฐานที่สำคัญในการศึกษาสถิตยศาสตร์ไฟฟ้า และเป็นอุปกรณ์ชิ้นแรกซึ่งสามารถใช้ในการสะสมและเก็บรักษาประจุไฟฟ้าในปริมาณมากได้ โดยนักทดลองสามารถปล่อยประจุไฟฟ้าที่เก็บอยู่ออกมาได้เมื่อต้องการใช้งาน ซึ่งถือเป็นการเอาชนะข้อจำกัดในการวิจัยเกี่ยวกับการนำไฟฟ้าในยุคแรก ๆ[3] และในปัจจุบันก็ยังคงมีการใช้โถไลเดินในการศึกษาเพื่อสาธิตเกี่ยวกับหลักการของสถิตยศาสตร์ไฟฟ้าอยู่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Heilbron, J.L. (1979). Electricity in the 17th and 18th Centuries: A Study of Early Modern Physics. University of California Press. p. 309. ISBN 978-0-520-03478-5. "Pieter (Petrus) van Musschenbroek". Compilation of biographies about Musschenbroek available from the Internet. 22 May 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-26.
- ↑ Carman, A.P. (1916). "Electricity and magnetism". ใน Duff, A.W. (บ.ก.). A Text-Book of Physics (4th ed.). Philadelphia: Blakiston's Son. p. 361.
- ↑ Baigrie, B. (2007). Electricity and Magnetism: A Historical Perspective. Greenwood Press. p. 29. ISBN 978-0-313-33358-3.