โจจิ
โจจิ | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ジョージ | ||||||||||
โจจิเมื่อปี 2018 | ||||||||||
เกิด | จอร์จ คูซูโนกิ มิลเลอร์[1] 18 กันยายน ค.ศ. 1992[2] โอซากะ ประเทศญี่ปุ่น | |||||||||
ชื่ออื่น |
| |||||||||
ศิษย์เก่า | สถาบันเทคโนโลยีนิวยอร์ก | |||||||||
อาชีพ |
| |||||||||
อาชีพทางดนตรี | ||||||||||
ที่เกิด | เขตฮิงาชินาดะ โคเบะ ประเทศญี่ปุ่น | |||||||||
แนวเพลง |
| |||||||||
เครื่องดนตรี |
| |||||||||
ช่วงปี | 2006–ปัจจุบัน | |||||||||
ค่ายเพลง | ||||||||||
เว็บไซต์ | jojimusic | |||||||||
ข้อมูลยูทูบ | ||||||||||
ช่อง | ||||||||||
ปีปฏิบัติงาน | 2008–2017 | |||||||||
จำนวนผู้ติดตาม | 7.89 ล้าน | |||||||||
จำนวนผู้เข้าชม | 1.22 พันล้าน | |||||||||
เครือข่าย | ScaleLab[5] | |||||||||
| ||||||||||
ข้อมูลเมื่อ: January 21, 2023 | ||||||||||
จอร์จ คูซูโนกิ มิลเลอร์ (อังกฤษ: George Kusunoki Miller; ญี่ปุ่น: ジョージ・楠木・ミラー; โรมาจิ: Jōji Kusunoki Mirā; ทับศัพท์: โจจิ คูซูโนกิ มิรา; เกิด 18 กันยายน ค.ศ. 1992)[2] หรือรู้จักในนาม โจจิ (Joji) และเดิมรู้จักในบทบาท ฟิลทีแฟรงก์ (Filthy Frank) และ พิงก์กาย (Pink Guy) เป็นนักร้อง-นักแต่งเพลง แร็ปเปอร์ อดีตนักแสดงตลก และยูทูบเบอร์ชาวญี่ปุ่น แนวเพลงของมิลเลอร์อาจกล่าวได้ว่ามีส่วนผสมระหว่างอาร์แอนด์บี ดนตรีโลไฟและทริปฮอป
มิลเลอร์สร้างรายการ "เดอะฟิลทีแฟรงก์โชว์" (The Filthy Frank Show) ทางยูทูบเมื่อปี 2011 ไม่นานนักหลังจากที่ย้ายมายังสหรัฐ จนเริ่มเป็นที่รู้จักจากบทบาทคนแปลก ๆ ทางช่องตลกที่ชื่อช่องว่า TVFilthyFrank, TooDamnFilthy และ DizastaMusic[6] ช่องเหล่านี้นำเสนอรูปแบบเพลงคอเมดีฮิปฮอป การพูดจาโผงผาง การท้าทายแบบสุดโต่ง และการแสดงอูกูเลเลและเต้นรำ[7] ที่สร้างจุดเด่นในรูปแบบของความตลกที่สร้างความประหลาดใจ (shock humor) และเกิดไวรอล วิดีโอของมิลเลอร์ได้ช่วยทำให้กระแสมีมฮาร์เลมเชกโด่งดัง นำสู่ความสำเร็จของเพลง "ฮาร์เลมเชก" ของเบาเออร์ ทำให้เกิดการสร้างมีมและการร่วมงานกับยูทูบเบอร์คนอื่นตามมา[8][9] ในบทบาทพิงก์กาย มิลเลอร์ออกสตูดิโออัลบั้มแนวตลกสองชุดและอีพีหนึ่งชุดในระหว่างปี 2014 ถึง 2017
ปลายปี 2017 มิลเลอร์เลิกทำรายการ "เดอะฟิลทีแฟรงก์โชว์" โดยหันมาทำงานเพลงแทน ภายใต้ชื่อ โจจิ[10][11] อัลบั้มชุดแรกมีชื่อว่า Ballads 1 ออกในปี 2018 มีซิงเกิลชื่อ "Slow Dancing in the Dark" อัลบั้มชุดที่สองชื่อ Nectar (2020) มีซิงเกิล "Sanctuary" และ "Run" ต่อมาปี 2022 เขามีซิงเกิลติดในสิบอันดับแรกชองชาร์ต บิลบอร์ด ฮอต 100 ที่ชื่อ "Glimpse of Us" ถือเป็นเพลงที่ติดชาร์ตสูงสุดของเขา[12] ซึ่งต่อมาบรรจุอยู่ในอัลบั้มชุดที่สามที่ชื่อว่า Smithereens (2022)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ACE Repertory – Joji Kusunoki". ascap.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2019. สืบค้นเมื่อ 14 September 2019.
- ↑ กระโดดขึ้นไป: 2.0 2.1 "Joji on Apple Music". Apple Music. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2018. สืบค้นเมื่อ 14 February 2018.
- ↑ กระโดดขึ้นไป: 3.0 3.1 Kelley, Caitlin (7 December 2017). "Singer/Producer Joji on His Career Flip From Crude Viral Comedy to Understated R&B: 'Now I Get to Do Stuff That I Want to Hear'". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2018. สืบค้นเมื่อ 12 December 2017.
- ↑ Kelley, Caitlin (7 December 2017). "Singer/Producer Joji on His Career-Flip From Crude Viral Comedy to Understated R&B: 'Now I Get to Do Stuff That I Want to Hear'". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2018. สืบค้นเมื่อ 8 June 2018.
He won't rap on a Joji track like he does as Pink Guy ..." & "Miller has been growing out of the brand of comedy associated with Pink Guy ...
- ↑ "TVFilthyFrank YouTube Stats, Channel Statistics". socialblade.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2017. สืบค้นเมื่อ 29 October 2017.
- ↑ @FilthyFrank (29 December 2017). "This is old news but I figured I'd give an official statement. Thank you for your understanding and god bless" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ 29 December 2017 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Soundbite: "Pink Season" by Pink Guy". The Current. 18 January 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2017. สืบค้นเมื่อ 14 November 2017.
- ↑ Liu, Marian. "Straight outta... China? The young Asian artists bucking hip-hop trends". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2018. สืบค้นเมื่อ 31 March 2018.
- ↑ Taylor, Chris. "YouTube: Here's How 'Harlem Shake' Went Viral". Mashable. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 April 2018. สืบค้นเมื่อ 31 March 2018.
- ↑ "The Man Behind Pink Guy's Bizarre Chart-Topping Album 'Pink Season'". Pigeons and Planes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2019. สืบค้นเมื่อ 13 January 2017.
- ↑ "Joji Explains Decision to Quit Filthy Frank and Pink Guy as He Pursues Music Career". PigeonsandPlanes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 December 2017. สืบค้นเมื่อ 29 December 2017.
- ↑ Ofiaza, Renz (6 November 2018). "Joji Becomes First Asian Artist to Top Billboard R&B/Hip-Hop Album Chart". Highsnobiety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2019. สืบค้นเมื่อ 6 November 2018.