แฮแรร์
แฮแรร์ | |
---|---|
จากบนและซ้ายไปขวา: ประตูบาโดร; พิพิธภัณฑ์เชอรีฟ; มัสยิดญาเมียะอ์; โบสถ์ Chesa Selassie; ภาพรวมเมืองจากระยะไกล | |
สมญา: นครแห่งนักบุญ | |
พิกัด: 9°18′40″N 42°7′40″E / 9.31111°N 42.12778°E | |
ประเทศ | เอธิโอเปีย |
รัฐ | แฮแรรี |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | Ordin Bedri |
ความสูง | 1,885 เมตร (6,184 ฟุต) |
ประชากร (2007)[1] | |
• ทั้งหมด | 99,368 คน |
• ประมาณ (2021)[2] | 153,000 คน |
เขตเวลา | UTC+3 (เวลาแอฟริกาตะวันออก) |
ชื่อทางการ | แฮแรร์ญูกอล เมืองโบราณในกำแพงเมือง |
เกณฑ์พิจารณา | วัฒนธรรม: ii, iii, iv, v |
อ้างอิง | 1189 |
ขึ้นทะเบียน | 2006 (สมัยที่ 30th) |
พื้นที่ | 48 ha |
แฮแรร์ (แฮแรรี: ሀረር;[3] โอโรโม: Adare Biyyo;[4] อามารา: ሐረር; โซมาลี: Herer; อาหรับ: هرر) หรือชื่อในอดีต แฮแรร์เกย์ (แฮแรรี: ሀረርጌይ)[5] หรือ เกย์ (แฮแรรี: ጌይ; แปลว่า นคร)[6] เป็นเมืองในกำแพงเมืองทางตะวันออกของประเทศเอธิโอเปีย เมืองยังมีสมญานามในภาษาอาหรับว่า "นครแห่งนักบุญ" (อาหรับ: مدينة الأَوْلِيَا) แฮแรร์เป็นเมืองหลวงของรัฐแฮแรรี เมืองโบราณแฮแรร์ตั้งอยู่บนยอดเขาทางตะวันออกของเอธิโอเปีย ห่างจากกรุงอาดดิสอาบาบาออกไปราว 5,000 กิโลเมตร ที่ความสูง 1,885 เมตร (6,184 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล
เป็นเวลาหลายศตวรรษที่แฮแรร์เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ เชื่อมต่อเส้นทางการค้าเข้ากับส่วนที่เหลือของเอธิโอเปีย รัฐจะงอยแอฟริกา คาบสมุทรอาหรับ เอเชีย และทั่วโลกผ่านทางท่าเรือของเมือง ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเมืองเก่าภายในกำแพงเมือง (ซึ่งเรียกว่า "แฮแรร์ยูโกล") เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปี 2006 โดย[7] และรัฐบาลเอธิโอเปียยังออกคำสั่งให้การทำลายหรือรบกวนสิ่งปลูกสร้างโบราณสถานในแฮแรร์เป็นความผิดตามกฎหมาย สิ่งปลูกสร้างที่ว่านี้รวมถึงบ้านหิน พิพิธภัณฑ์ และวัตถุที่ทิ้งจากสมัยสงคราม ยูเนสโกระบุว่าเมืองแฮแรร์ถือเป็น "เมืองศักดิ์สิทธิ์ที่สุดอันดับที่ 4 ของศาสนาอิสลาม" ในเมืองประกอบด้วยมัสยิดรวม 82 แห่ง (สามแห่งในจำนวนนี้สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10) และศาลเจ้ามุสลิมอีก 102 แห่ง[8][9]
เอกสาร Fatḥ Madīnat Harar ที่ไม่ได้รับการตีพิมพ์ของ Yahyá Naṣrallāh ซึ่งว่าด้วยประวัติศาสตร์ของนครแฮแรร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 บันทึกไว้ว่า นักบุญ Abadir Umar ar-Rida ในตำนาน และผู้นำทางศาสนาคนอื่น ๆ ได้มาตั้งรกรากในที่ราบสูงแฮแรร์เมื่อประมาณ ค.ศ. 1216 (ฮ.ศ. 612)[10] ต่อมาแฮแรร์กลายมาเป็นราชธานีแห่งใหม่ของรัฐสุลต่านอาดัลใน ค.ศ. 1520 โดยสุลต่าน Abu Bakr ibn Muhammad เป็นผู้สถาปนา[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Population and Housing Census 2007 – Harari Statistical" (PDF). Central Statistical Agency. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
- ↑ "Population Projection Towns as of July 2021" (PDF). Ethiopian Statistics Agency. 2021. สืบค้นเมื่อ 31 May 2022.
- ↑ Leslau, Wolf (1959). "An Analysis of the Harari Vocabulary". Annales d'Ethiopie. 3: 275. doi:10.3406/ethio.1959.1310.
- ↑ Wehib, Ahmed (October 2015). History of Harar and Harari (PDF). Harari people regional state, culture, heritage and tourism bureau. p. 45.
{{cite book}}
: CS1 maint: date and year (ลิงก์) - ↑ Mordechai, Abir. TRADE AND POLITICS IN THE ETHIOPIAN REGION 183O-1855 (PDF). University of London. p. 246.
- ↑ Baynes-Rock, Marcus. Among the Bone Eaters Encounters with Hyenas in Harar. Penn State University Press.
- ↑ "Panda sanctuary, tequila area join UN World Heritage sites". Un.org. 2006-07-13. สืบค้นเมื่อ 2013-07-23.
- ↑ "Harar Jugol, the Fortified Historic Town". World Heritage List. UNESCO World Heritage Centre. สืบค้นเมื่อ 6 August 2009.
It is considered 'the fourth holy city' of Islam, having been founded by a holy missionary from the Arabic Peninsula.
- ↑ "Five new heritage sites in Africa". BBC. July 13, 2006. สืบค้นเมื่อ 2006-12-18.
Harar Jugol, seen as the fourth holiest city of Islam, includes 82 mosques, three of which date from the 10th Century, and 102 shrines.
- ↑ Siegbert Uhlig, Encyclopaedia Aethiopica: He-N, Volume 3, (Otto Harrassowitz Verlag: 2007), pp.111 & 319.
- ↑ Richard Pankhurst, History of Ethiopian Towns (Wiesbaden: Franz Steiner Verlag, 1982), p. 49.