แมงดาญี่ปุ่น
แมงดาญี่ปุ่น | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Arthropoda |
ไฟลัมย่อย: | Chelicerata |
ชั้น: | Merostomata[1] |
อันดับ: | Xiphosura |
วงศ์: | Limulidae |
วงศ์ย่อย: | Tachyplenae |
สกุล: | Tachypleus |
สปีชีส์: | T. tridentatus |
ชื่อทวินาม | |
Tachypleus tridentatus (Leach, 1819) |
แมงดาญี่ปุ่น หรือ แมงดาจีน (อังกฤษ: Japanese horseshoe crab, Chinese horseshoe crab; จีน: 鱟; ญี่ปุ่น: カブトガニ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tachypleus tridentatus เป็นแมงดาหนึ่งในสองชนิดที่อยู่ในสกุล Tachypleus
แมงดาญี่ปุ่นมีส่วนหางเป็นสันขึ้นมาเป็นเหมือนสามเหลี่ยม ตัวผู้มีรอยหยักสองรอยทำให้มีลักษณะโค้งเป็นลอนสามลอน บริเวณขอบด้านหน้าของกระดอง ขอจับพองออกเป็นกระเปาะสองคู่ ตัวเมียมีหนามบริเวณขอบด้านข้างของส่วนท้องขนาดยาวสามคู่แรก และขนาดสั้นสามคู่หลัง ส่วนในตัวผู้มีขนาดความยาวใกล้เคียงกัน ขนาดใหญ่สุดมีความยาวตลอดตัว ประมาณ 74 เซนติเมตร สีของกระดองเป็นสีเขียวและอ่อนกว่าแมงดาถ้วย (Carcinoscorpius rotundicauda) พบในชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณชายฝั่งของญี่ปุ่น, ไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, มาเลเซีย และบริเวณเกาะบอร์เนียวเหนือ โดยไม่พบในน่านน้ำไทย
ในญี่ปุ่น เป็นแมงดาเพียงชนิดเดียวที่พบได้ที่นั่น โดยพบบริเวณชายฝั่งของทะเลเซโตะในฤดูใบไม้ผลิ จากนั้นในฤดูหนาวจะอพยพไปยังเกาะของเกาะฮนชูและเกาะคีวชูเพื่อจับคู่ผสมพันธุ์
แมงดาญี่ปุ่นหรือแมงดาจีนนั้นสามารถนำมารับประทานได้เช่นเดียวกับแมงดาจาน (T. gigas) ซึ่งเป็นแมงดาอีกชนิดหนึ่งที่อยู่ในสกุลเดียวกัน โดยในตำรับอาหารจีนและอาหารญี่ปุ่นนิยมรับประทานเนื้อและไข่ แต่ก็ยังมีพิษอยู่บ้างในบางท้องที่และบางฤดูกาล เช่นในสิงคโปร์ เคยพบรายงานของแมงดาที่มีพิษ[2]
-
มุมมองด้านหลัง มุมมองหน้าท้อง/ ด้านหน้า -
มุมมองหน้าท้อง -
ด้านหน้า
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Integrated Taxonomic Information System". Integrated Taxonomic Information System - Report. สืบค้นเมื่อ 2007-02-28.
- ↑ ชีววิทยาของแมงดา[ลิงก์เสีย]
- World Conservation Monitoring Centre 1996. Tachypleus tridentatus เก็บถาวร 2008-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 10 August 2007.