แนวปะทะอากาศเย็น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แนวปะทะอากาศเย็นเหนือฝั่งตะวันออกและตอนกลางของสหรัฐอเมริกา
ภาพอธิบายการเคลื่อนที่ของแนวปะทะอากาศเย็น
สัญลักษณ์ของแนวปะทะอากาศเย็น เส้นสีน้ำเงินมีสามเหลี่ยมสีน้ำเงินอยู่บนเส้นชี้แสดงถึงทิศทางที่แนวปะทะอากาศเย็นกำลังเคลื่อนตัวไป

แนวปะทะอากาศเย็น (อังกฤษ: cold front) คือ การที่มวลอากาศเย็นเคลื่อนที่เข้าแทรกและดันมวลอากาศร้อนให้ยกตัวขึ้นด้านบน ถือเป็นการเริ่มต้นของการเกิดพายุหมุนนอกเขตร้อน (อังกฤษ: extratropical cyclone) เมื่อมีความชื้นที่เพียงพอในแนวปะทะอากาศเย็นสามารถพบฝนตกได้ตลอดแนวปะทะ บริเวณด้านหน้าของแนวปะทะอากาศเย็นสามารถเกิดพายุฟ้าคะนอง ช่วงเวลาที่เกิดแนวปะทะขึ้นอย่างรุนแรงคือในการเปลี่ยนแปลงช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง ในช่วงฤดูร้อนจะเป็นช่วงที่มีการปะทะอากาศรุนแรงน้อยที่สุด

สัญลักษณ์ที่ใช้แสดงถึงแนวปะทะอากาศเย็นบนแผนที่อากาศ คือ เส้นสีน้ำเงินมีสามเหลี่ยมสีน้ำเงินอยู่บนเส้นชี้แสดงถึงทิศทางที่แนวปะทะอากาศเย็นกำลังเคลื่อนตัวไป

การเกิดแนวปะทะอากาศเย็น[แก้]

ภาพแสดงลำดับวงจรของเมฆคูมูโลนิมบัส

มวลอากาศที่เย็นและหนาแน่นซึ่งมีน้ำหนักมากกว่ามวลอากาศร้อนจะเคลื่อนเข้าแทรกและดันมวลอากาศร้อนให้ยกตัวขึ้นด้านบน การดันมวลอากาศร้อนให้ยกตัวขึ้นนี้เป็นเหตุให้เกิดความกดอากาศต่ำในบริเวณที่แนวปะทะอากาศเย็นเคลื่อนตัวผ่านไป ในกรณีที่บริเวณนั้นมีความชื้นที่เพียงพอ สามารถที่จะทำให้เกิดฝนตกและพายุฟ้าคะนองได้ตามแนวปะทะ [1]

แนวปะทะอากาศเย็น จะมีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่มากกว่า แนวปะทะอากาศร้อน (อังกฤษ: warm front) ซึ่งสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของสภาพอากาศในพิ้นที่ที่แนวปะทะเคลื่อนผ่าน

บริเวณซีกโลกเหนือแนวเส้นศูนย์สูตร แนวปะทะอากาศเย็นมักจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของลมจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปยังทิศตะวันตกเฉียงเหนือในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ส่วนในบริเวณซีกโลกใต้จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของลมในทิศทางตรงกันข้ามจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปยังตะวันตกเฉียงใต้ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา

สิ่งที่สามารถสังเกตได้จากการเกิดแนวปะทะอากาศเย็น คือการเกิดเมฆคิวมูโลนิมบัส (อังกฤษ: cumulonimbus) ขึ้น มีฟ้าคะนองรุนแรงตามแนวด้านหน้าการปะทะ บริเวณที่แนวปะทะอากาศเย็นเคลื่อนที่ผ่านอุณหภูมิสามารถลดลงมากกว่า 15 องศาฟาเรนไฮต์ (ประมาณ 8.3 องศาเซลเซียส) ภายในหนึ่งชั่วโมง อากาศที่เย็นตัวลงอย่างรวดเร็วนี้หากเกิดขึนในบริเวณนั้นมีความชื้นที่เพียงพอจะทำให้เกิดเมฆและฝนตกขึ้นได้

อ้างอิง[แก้]

  1. K. A. Browning and Robert J. Gurney (1999). Global Energy and Water Cycles. Retrieved on 2008-12-26.