ข้ามไปเนื้อหา

แจ็ก ไวต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แจ็ก ไวต์
ไวต์เมื่อปี 2021
เกิดจอห์น แอนโทนี กิลลิส
(1975-07-09) 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1975 (49 ปี)
ดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน สหรัฐ
การศึกษาโรงเรียนแคสเทคนิคัลไฮสกูล
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแต่งเพลง
  • นักดนตรี
  • โปรดิวเซอร์เพลง
ปีปฏิบัติงาน1987–ปัจจุบัน
คู่สมรส
บุตร2 คน
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรี
  • เสียงร้อง
  • กีตาร์
  • คีย์บอร์ด
  • กลอง
ช่วงปี1994–ปัจจุบัน
ค่ายเพลง
สมาชิกของ
อดีตสมาชิก

จอห์น แอนโทนี ไวต์ (อังกฤษ: John Anthony White, สกุลเดิม กิลลิส; เกิด 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1975) เป็นนักดนตรี นักร้อง นักแต่งเพลง และโปรดิวเซอร์เพลงชาวอเมริกัน รู้จักกันในฐานะนักร้องนำและมือกีตาร์ของวงดนตรีร็อกคู่ เดอะไวต์สไตรปส์ ไวต์ประสบความสำเร็จทางด้านเสียงวิจารณ์และได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เขาถือเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญของดนตรีการาจร็อกรีไววัลในคริสต์ทศวรรษ 2000 เขาได้รับรางวัลแกรมมี 12 ครั้ง และอัลบัมเดี่ยวทั้งสามอัลบัมของเขา สามารถขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ต บิลบอร์ด ในปี 2010 โรลลิงสโตน ยังจัดให้เขาอยู่อันดับที่ 70 ในรายชื่อ "100 มือกีตาร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล" ส่วนการจัดอันดับของเดวิด ฟริคค์ ในรายชื่อเดียวกันเขาอยู่อันดับที่ 17[1][2] ในปี 2012 เดอะนิวยอร์กไทมส์ เรียกเขาว่า "เป็นร็อกสตาร์ที่เจ๋ง ประหลาด และมีความสามารถที่สุดในยุคนี้"[3]

หลังจากทำงานเสริมเป็นมือกลองให้กับวงดนตรีใต้ดินหลายวงในดีทรอยต์ ไวต์ได้ก่อตั้งวงดนตรีชื่อ เดอะไวต์สไตรปส์ ในปี 1997 กับเพื่อนร่วมท้องถิ่นในดีทรอยต์และเม็ก ไวต์ ภรรยาของเขาในขณะนั้น ต่อมาได้รับความก้าวหน้าทางอาชีพในอัลบัมชุดที่สาม ไวต์บลัดเซลล์ (2001) มีซิงเกิลฮิตอย่าง "เฟลอินเลิฟวิธอะเกิร์ล" ซึ่งทำให้วงมีชื่อเสียงในระดับนานาชาติและยังเปิดโอกาสให้ไวต์ได้ร่วมงานกับศิลปินอื่น เช่น โลเรตตา ลินน์ และบ็อบ ดิลลัน ในปี 2005 เขาร่วมตั้งวงเดอะรัคคอนเทอส์กับเบรนดัน เบนสัน และในปี 2009 ร่วมตั้งวงเดอะเดดเวทเทอร์กับอลิสัน มอสฮาร์ต แห่งวงเดอะคิลส์ ต่อมาในปี 2008 ไวต์และอลิเชีย คีส์ ออกซิงเกิลร่วมกันชื่อ "อนาเธอร์เวย์ทูดาย" เป็นเพลงหลักประกอบภาพยนตร์ 007 พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก และเป็นเพลงร่วมขับร้องเพียงเพลงเดียวใน เจมส์ บอนด์ นอกจากนี้ไวต์ยังออกสตูดิโออัลบัมเดี่ยวอีกสี่ชุด ซึ่งล้วนประสบความสำเร็จทั้งเสียงวิจารณ์และในเชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวาง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "100 Greatest Guitarists". Rolling Stone. December 18, 2015. สืบค้นเมื่อ July 20, 2021.{{cite magazine}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. Fricke, David (December 3, 2010). "100 Greatest Guitarists: David Fricke's Picks". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ July 20, 2021.{{cite magazine}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. Eells, Josh (April 5, 2012). "Jack Outside the Box". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ July 27, 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]