เอกสารตัวเขียนอัลกุรอานเบอร์มิงแฮม
เอกสารตัวเขียนอัลกุรอานเบอร์มิงแฮม | |
---|---|
Cadbury Research Library, มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม | |
folio 1 verso (ขวา) และ folio 2 recto (ซ้าย) | |
วันที่เขียน | ระหว่าง ป. 568 และ 645 |
ภาษา | อาหรับ |
อาลักษณ์ | Unknown |
วัสดุ | |
รูปแบบ | vertical |
อักษร | อักษรฮิญาซ |
เนื้อหา | ส่วนของซูเราะฮ์ที่ 18 ถึง 20 |
การเข้าถึง | 1572a |
เอกสารตัวเขียนอัลกุรอานเบอร์มิงแฮม (อังกฤษ: Birmingham Quran manuscript) เป็นแผ่นหนังสัตว์ที่เขียนอัลกุรอานในช่วงยุคต้นของอิสลามเอาไว้ โดยในปี ค.ศ. 2015 เอกสารนี้ ซึ่งอยู่ในความถือครองของมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม[1] ได้ผ่านการตรวจหาอายุด้วยคาร์บอนแล้ว กำหนดอายุได้ว่า เขียนขึ้นในระหว่าง ค.ศ. 568 และ ค.ศ. 645 (ตรงกับช่วงเวลาระหว่าง 56 ปีก่อน ฮ.ศ. และ ฮ.ศ. 25 ตามปฏิทินอิสลาม)[2][3] เอกสารนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดเอกสารตัวเขียนตะวันออกกลางมินกานาซึ่งอยู่ในความถือครองของหอสมุดวิจัยแคดเบอรี มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม[2]
ตัวเอกสารเขียนด้วยน้ำหมึกบนแผ่นหนังสัตว์ เขียนเป็นภาษาอาหรับ อักษรฮิญาซ และยังคงอ่านได้ชัดเจน[3] แผ่นหนังนี้ช่วยรักษาบางส่วนบางตอนของซูเราะฮ์ที่18 (อัล-กะฮ์ฟ) ถึง 20 (ฏอฮา) เอาไว้[4] มีการจัดแสดงเอกสารนี้ที่มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมเมื่อปี ค.ศ. 2015 หลังจากนั้น ย้ายไปที่พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์เบอร์มิงแฮมจนถึงวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2016[5]
การกำหนดอายุ
[แก้]การหาอายุจากคาร์บอนกัมตรังสี ซึ่งดำเนินการที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด กำหนดอายุของเอกสารนี้ได้เป็น 1465±21 ปีก่อนปัจจุบัน (ก่อน ค.ศ. 1950) ซึ่งเมื่อปรับผลคำนวณแล้ว มั่นใจราว 95.4% ได้ว่า เอกสารเขียนขึ้นระหว่าง ค.ศ. 568–645[6][7]
ความสำคัญ
[แก้]การกำหนดอายุดังกล่าวมีความสำคัญ เนื่องจากศาสดามุฮัมมัดมีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. ประมาณ 570 ถึง ค.ศ. 632[8] และตามประเพณีของมุสลิมนิกายซุนนี อบูบักร์ (ครองราชย์ ค.ศ. 632-634) เป็นเคาะลีฟะฮ์คนแรกที่รวบรวมอัลกุรอานขึ้น แล้วเคาะลีฟะฮ์อุสมานจึงทำให้กุรอานเป็นมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก แล้วสั่งให้เผาสำเนากุรอานรุ่นก่อนหน้านั้นให้หมด[9]
ในประกาศของมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม มุฮัมมัด อีซา วาเลย์ (Muhammad Isa Waley) หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติอังกฤษ กล่าวว่า[2]
สังคมมุสลิมในสมัยนั้นยังไม่มีฐานะมากพอที่จะเก็บหนังสัตว์ไว้เป็นสิบ ๆ ปี และการจะทำกุรอานฉบับสมบูรณ์นั้นจะต้องใช้หนังสัตว์จำนวนมาก...
เดวิด โธมัส ศาสตราจาร์ยศาสนาคริสต์และอิสลามประจำมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม กล่าวว่า[2]
การทดสอบที่กระทำต่อแผ่นหนังเอกสารของเบอร์มิงแฮมนี้ ให้ผลลัพธ์ว่า เป็นไปได้อย่างยิ่งที่แผ่นหนังผืนนี้นำมาจากตัวสัตว์ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาของศาสดามุฮัมมัดหรือไม่นานหลังจากนั้น นี่หมายความว่า อัลกุรอานส่วนที่เขียนลงบนแผ่นหนังผืนนี้สามารถกำหนดอายุได้เป็นไม่เกิน 20 ปีหลังจากมุฮัมมัดเสียชีวิต ส่วนนี้คงเขียนขึ้นในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับรูปแบบของอัลกุรอานซึ่งเราอ่านกันในทุกวันนี้อย่างยิ่ง
ดูเพิ่ม
[แก้]- เอกสารตัวเขียนศ็อนอา (Sana'a manuscript)
- การวิจารณ์อัลกุรอาน
- มุฮัมมัดตามประวัติศาสตร์
- อัลกุรอานที่เขียนด้วยมือในช่วงแรก
- โคเด็กซ์ ปาริสิโน-เปโทรโปลิทานัส (Codex Parisino-petropolitanus)
- เอกสารตัวเขียนท็อปกาปิ (Topkapi manuscript)
- กุรอานลายคูฟิกที่ซามาร์คันด์
- ประวัติศาสตร์ของอัลกุรอาน
- การวิจารณ์ตัวบท
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Virtual Manuscript Room". University of Birmingham. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 สิงหาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2015.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "Birmingham Qur'an manuscript dated among the oldest in the world". University of Birmingham. 22 กรกฎาคม 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2015.
- ↑ 3.0 3.1 "'Oldest' Koran fragments found in Birmingham University". BBC. 22 กรกฎาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2015.
- ↑ "Tests show UK Quran manuscript is among world's oldest". CNN. 22 กรกฎาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2015.
- ↑ Authi, Jasbir (22 กรกฎาคม 2015). "Worldwide media frenzy as 'oldest Koran' found lying forgotten at University of Birmingham". Birmingham Mail. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2015.
- ↑ "FAQs: About the Birmingham Qur'an manuscript". University of Birmingham. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2015.
- ↑ T. F. G. Higham, C. Bronk Ramsey, D. Chivall, J. Graystone, D. Baker, E. Henderson and P. Ditchfield (19 เมษายน 2018). "Radiocarbon Dates from the Oxford AMS System: Archaeometry Datelist 36". Archaeometry.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Elizabeth Goldman (1995), p. 63, gives 8 June 632, the dominant Islamic tradition. Many earlier (mainly non-Islamic) traditions refer to him as still alive at the time of the invasion of Palestine. See Stephen J. Shoemaker,The Death of a Prophet: The End of Muhammad's Life and the Beginnings of Islam,[ต้องการเลขหน้า] University of Pennsylvania Press, 2011
- ↑ Leaman, Oliver (2006). "Canon". The Qur'an: an Encyclopedia. New York, NY: Routledge. pp. 136–139. ISBN 0-415-32639-7.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The Birmingham Qur'an manuscript public display เก็บถาวร 2015-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Birmingham Qur'an manuscript images
- Fedeli's thesis
- The Birmingham Qur'an University of Birmingham FAQ
- 'Collective enthusiasm and the cautious scholar' on-line article in 'Marginalia' by Alba Fedeli เก็บถาวร 2019-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน