เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร
เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร (อังกฤษ: Illuminated manuscript) หรือหนังสือตัวเขียนสีวิจิตร[1] คือเอกสารตัวเขียนที่ตัวหนังสือตกแต่งเพิ่มเติมด้วยสีสันเช่นตัวหนังสือตัวแรกที่ขยายใหญ่ขึ้นและเล่นลายอย่างวิจิตร หรือเขียนขอบคัน หรือทำเป็นจุลจิตรกรรม ตามความหมายตรงตัวจะหมายถึงต้นฉบับที่ตกแต่งด้วยเงินและทอง แต่การใช้กันโดยทั่วไปโดยนักวิชาการสมัยใหม่ในปัจจุบันจะหมายถึงต้นฉบับใดก็ได้ที่มีการตกแต่งหรือหนังสือประกอบภาพจากทั้งทางตะวันตกและทางศาสนาอิสลาม
ประวัติ
[แก้]งานเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรฉบับแรกที่สุดที่มีการตกแต่งพอประมาณมาจากสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงที่ 7 ส่วนใหญ่ทำในไอร์แลนด์, อิตาลี และประเทศอื่น ๆ บนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป ความสำคัญของเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรมิใช่เพียงคุณค่าทางวรรณกรรมแต่ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้วย ซี่งจะเห็นได้จากต้นฉบับเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรที่ทำให้เราเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ โรมันและ กรีกที่ตกแต่งโดยผู้บันทึกและตกแต่งหนังสือตามอาราม
เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรส่วนใหญ่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันมาจากยุคกลางแม้ว่าการสร้างเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะทำกันมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เนื้อหาของงานส่วนใหญ่ในสมัยแรก ๆ จะเป็นงานศาสนา แต่ต่อมาโดยเฉพาะในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็เริ่มมีงานทางโลกเพิ่มขึ้น รวมถึงคำประกาศ ตั๋วเงินลงทะเบียน กฎหมาย กฎบัตร รายการสินค้า และโฉนด[2] และเกือบทั้งหมดจะทำเป็นหนังสือแต่ก็มีบ้างที่เป็นม้วนหรือเป็นแผ่นเดียวเขียนบนหนัง (parchment หรือ vellum อาจจะเป็นหนังลูกวัว, แกะ, หรือแพะ) ที่มีคุณภาพดี[3] หลังปลายยุคกลางวัสดุที่ใช้เขียนก็เปลี่ยนมาเป็นกระดาษ เมื่อวิวัฒนาการพิมพ์เพิ่งเริ่มใหม่ ๆ ผู้พิมพ์ก็อาจจะทิ้งช่องว่างไว้สำหรับพยัญชนะตัวแรก, ขอบ หรือ ภาพเขียนย่อส่วน[4] แต่การพิมพ์ทำให้ศิลปะการทำเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรเสื่อมความนิยมลง แต่ก็ทำกันต่อมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่น้อยลงมากและทำสำหรับผู้มีฐานะดีจริง ๆ เท่านั้น
นอกจากเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะเป็นตัวอย่างของสิ่งที่หลงเหลือมาจากยุคกลางแล้ว ก็ยังเป็นตัวอย่างที่ดีของจิตรกรรมที่มาจากยุคกลางด้วย และบางครั้งก็เป็นจิตรกรรมอย่างเดียวที่เหลืออยู่จากยุคนั้น
สมุดภาพ
[แก้]-
เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรโดยแพนเทเลียน (Pantaleon) จากราว ค.ศ. 986
-
ภาพนักบุญลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร จากราวคริสต์ศตวรรษที่ 10
-
เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจากสเปน จากราว ค.ศ. 1047
-
เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจากเอธิโอเปีย (Eliza Codex 23)
-
การเลือกตั้งของจอฟฟรี เดอ บุยยอง จากราว ค.ศ. 1280
-
เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรภาษาอาหรับ จากราว ค.ศ. 1287
-
การตกแต่งพยัญชนะตัวแรกของจุลหนังสือเรื่อง “Lehel's Horn” จากราว ค.ศ. 1360
-
ภาพทหารอาหรับจากหนังสือวิจิตร จากคริสต์ศตวรรษที่ 14
-
แม่พระและพระกุมาร จาก “หนังสือกำหนดเทศกาลของดุ๊คเบอรี” (Très Riches Heures) จากสมัยเรอเนซองส์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 15
-
จุลจิตรกรรมอุปมานิทัศน์จาก “ตำนานแห่งความรัก” ของพระเจ้าเรอเน (King Rene’s Livre du cueur d'amour esprit) โดย บาเธเลมี ฟาน เอค จากคริสต์ศตวรรษที่ 16
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Britannica concise encyclopedia ภาคภาษาไทย เล่ม 2 G-O. Encyclopaedia Britannica. กรุงเทพฯ: มีเดีย แม็กเน็ท. 2008. ISBN 978-974-8072-60-9.
- ↑ Rholetter, Wylene (2018). Written Word in Medieval Society. Salem Press Encyclopedia.
- ↑ "Differences between Parchment, Vellum and Paper". National Archives (ภาษาอังกฤษ). 15 สิงหาคม 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2021.
- ↑ Wight, C. "M - Glossary for the British Library Catalogue of Illuminated Manuscripts". www.bl.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 ตุลาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พยัญชนะตัวแรกของเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ “หนังสือกำหนดเทศกาล”
- เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจากยุคกลาง, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ธันวาคม 2008