เหตุระเบิดในบาหลี พ.ศ. 2545
เหตุระเบิดในบาหลี พ.ศ. 2545 Bali Bombing 2002 | |
---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ การก่อการร้ายในประเทศอินโดนีเซีย | |
อนุสรณ์สถานเหตุระเบิดบาหลี (Bali Bombing Memorial) หรือ อนุสรณ์สถานกราวด์ซีโร่ (Groud Zero Memorial) ตั้งอยู่ตรงไนท์คลับที่เป็นจุดเกิดเหตุ | |
สถานที่ | กูตา, เมืองเด็นปาซาร์, จังหวัดบาหลี, อินโดนีเซีย |
วันที่ | 12 ตุลาคม 2002 23:05 ICST (UTC+08:00) |
เป้าหมาย | ไนท์คลับ 2 แห่ง ที่มีลูกค้าเป็นชาวตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ และ สถานกงสุลสหรัฐอเมริกาประจำเมืองเด็นปาซาร์ |
ประเภท | ระเบิดพลีชีพ, คาร์บอมบ์ |
อาวุธ | IED |
ตาย | 204 (รวมผู้ก่อการระเบิดพลีชีพ 2 คน) |
เจ็บ | 209 |
ผู้ก่อเหตุ | ญะมาอะห์ อิสลามียะห์ and อัลกออิดะฮ์[1][2] |
เหตุจูงใจ | ตอบโต้สงครามต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐอเมริกา และ การมีส่วนร่วมของออสเตรเลียในการปลดปล่อยเอกราชของติมอร์ตะวันออกจากอินโดนีเซีย |
เหตุระเบิดในบาหลี พ.ศ. 2545 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ในย่านท่องเที่ยวกูตา (Kuta) บนเกาะบาหลีของประเทศอินโดนีเซีย การโจมตีดังกล่าวเป็นพฤติการณ์ก่อการร้ายครั้งนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย ซึ่งสังหารประชาชนไป 202 คน (ชาวออสเตรเลีย 88 คน และพลเมืองอินโดนีเซีย 38 คน)[3] และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 240 คน
เหตุโจมตีดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการจุดระเบิดสามลูกด้วยกัน ลูกที่หนึ่งเป็นอุปกรณ์ติดกับเป้สะพายหลังซึ่งมือระเบิดพลีชีพนำติดตัวไปด้วย ลูกที่สองเป็นคาร์บอมบ์ขนาดใหญ่ ซึ่งทั้งสองลูกนั้นถูกจุดระเบิดในหรือใกล้กับไนท์คลับที่ได้รับความนิยมในกูตา ส่วนระเบิดลูกสุดท้าย เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กกว่ามาก ซึ่งจุดระเบิดนอกสถานกงสุลสหรัฐอเมริกาในเด็นปาซาร์ (Denpasar) แต่เคราะห์ดีก่อให้เกิดความเสียหายเพียงเล็กน้อยกับสถานที่เท่านั้น
สมาชิกหลายคนของกลุ่มญะมาอะห์ อิสลามียะห์ กลุ่มอิสลามหัวรุนแรง ถูกพิพากษาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิด โดยมีสามคนถูกตัดสินประหารชีวิต อาบู บาการ์ บาชีร์ (Abu Bakar Bashir) ผู้นำทางจิตวิญญาณที่ถูกกล่าวหาของญะมาอะห์ อิสลามียะห์ ถูกตัดสินว่ามีความผิดและรับโทษจำคุกสองปีครึ่ง อย่างไรก็ดี บาชีร์รับโทษเพียง 18 เดือน เพราะเขาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ดังกล่าว ปัจจุบันบาชีร์กำลังรับโทษ 15 ปีจากการช่วยจัดตั้งและหาทุนแก่ค่ายฝึกจีฮัด เมื่อคนที่จะมาเป็นมือระเบิดเข้าหาเขา และแสดงความปรารถนาของพวกเขาอันคลุมเครือในการที่จะปฏิบัติการจีฮัดบนเกาะบาหลี ตามรายงานว่า เขาไม่ทราบว่าผู้ติดตามวางแผนโจมตีด้วยระเบิดขนาดใหญ่ หรือเห็นชอบต่อการกระทำนั้น แม้ว่าเขาจะสนับสนุนสิทธิของพวกเขาในการดำเนินการจีฮัดตามแต่พวกเขาเห็นสมควร การขาดความรู้โดยตรงต่อปฏิบัติการวางระเบิดของบาชีร์เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เขาหลีกเลี่ยงโทษหนักได้ถึงสองครั้ง โดยได้รับโทษจำคุกเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น หลังถูกตั้งข้อหาเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย[4]
วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 มีการประหารชีวิตสามคนด้วยชุดยิง และวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553 ดัลมาติน (Dulmatin) ซึ่งเชื่อกันว่าอยู่เบื้องหลังการจุดระเบิดระเบิดลูกหนึ่งที่บาหลีด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ ถูกสังหารโดยตำรวจอินโดนีเซียในกรุงจาการ์ตา[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2014.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ AFP (6 October 2003). "'Al-Qaeda financed Bali' claims Hambali report". Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 5 July 2016.
- ↑ "Bali death toll set at 202". BBC News. 19 February 2003.
- ↑ "Bashir's release a cause of great pain". The Age. Melbourne. 15 June 2006. สืบค้นเมื่อ 19 September 2006.
- ↑ "Bali bomber mastermind Dulmatin killed in shoot-out". 9 March 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2017. สืบค้นเมื่อ 5 April 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Remember Bali: a memorial website