ข้ามไปเนื้อหา

เสาแห่งความอัปยศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสาแห่งความอัปยศ
เสาอัปยศที่ฮ่องกง

เสาแห่งความอัปยศ (อังกฤษ: Pillar of Shame) เป็นหมู่ประติมากรรมโดยศิลปินชาวเดนมาร์ก Jens Galschiøt เพื่อระลึกถึงผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์เฉพาะในประวัติศาสตร์ ประติมากรรมแต่ละชิ้นมีความสูง แปด เมตร (26 ฟุต) และทำมาจากบรอนซ์, ทองแดง หรือ คอนกรีต

ประติมากรรมแรกของเขาตั้งขึ้นที่งานประชุมขององค์การนอกรัฐบาล FAO ในโรม ประเทศอิตาลี เมื่อปี 1996 นับจากนั้นมาได้มีการตั้งเสานี้ในเมืองอื่น ๆ ทั้งนครวิกตอเรีย ฮ่องกง; อักตียัล ประเทศเม็กซิโก และ บราซิลเลีย ประเทศบราซิล งานชิ้นที่ห้ามีการวางแผนไว้ว่าจะตั้งที่เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี วางแผนแล้วเสร็จในปี 2002[1] แต่มีปัญหาหลายประการ จึงล้มเลิกโครงการนี้ไปก่อน[2]

เสาแห่งความอัปยศ ฮ่องกง

[แก้]

เสาแห่งความอัปยศ (จีน: 國殤之柱; ยฺหวิดเพ็ง: gwok3 soeng1 zi1 cyu5; พินอิน: Guóshāng zhī Zhù; แปลตรงตัว: "martyrs' pillar") ในฮ่องกง เป็นประติมากรรมทองแดง ตั้งขึ้นครั้งแรกในสวนสาธารณะวิกตอเรียเมื่อปี 1997 ในวาระการระลึกถึงการครบรอบแปดปีการสังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี 1989 ประติมากรรมนี้แสดงศพ 50 ร่างในรูปที่ถูกฉีกขาดและบิดเบี้ยว เพื่อแทนผู้ที่เสียชีวิตในการปราบปรามของรัฐบาล ในเดือนถัด ๆ มา ได้มีการย้ายประติมากรรมไปจัดแสดงตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วฮ่องกง เริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยจีนฮ่องกง และไปสิ้นสุดที่ มหาวิทยาลัยซิตีฮ่องกง

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 1998 เนื่องในวาระครบรอบเก้าปีของการสังหารหมู่ ได้มีการย้ายประติมากรรมกลับมายังสวนสาธารณะวิกตอเรียเพื่อทำพิธีจุดเทียนไว้อาลัย ในเช้าวันก่อนห้นาพิธีได้มีศิลหินเอาถังใส่สีสีแดงสองถังไปสาดใส่เสา อ้างว่า "เลือดของผองชน คือเลือดของเราเหมือนกัน"[3]

ในวันที่ 24 และ 25 กันยายน 1998 สมาพันธ์นักศึกษามหาวิทยาลัยฮ่องกง (HKUSU) ได้จัดการลงคะแนนเสียงเพื่อขอรับประติมากรรมนี้มาตั้งที่มหาวิทยาลัยฮ่องกงในระยะยาว ผลการลงคะแนนอยู่ที่มีผู้สนับสนุนที่ 1,629 จาก 2,190 เสียง[4] ประติมากรรมนี้จึงได้ย้ายมาตั้งที่ Haking Wong Podium อีกครั้งในวันที่ 3 ธันวาคม 1998 ก่อนจะย้ายไปตั้งที่งานจุดเทียนระลึกเหตุสังหารหมู่ครบ 10 ปีที่สวนวิกตอเรียอีกครั้ง ในปี 1999[5] และก็ย้ายกลับมาที่มหาวิทยาลัยอีกหลังเสร็จพิธี ทั้งนี้โดยที่ฝ่ายลริหารของมหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นผู้สนับสนุนให้ทำ[5][6]

ในวันที่ 30 เมษายน 2008 เสาแห่งความอัปยศถูกทาเป็นสีส้มในฐานะส่วนหนึ่งของ The Color Orange เพื่อเรียกร้องความสนใจให้แก่ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศจีน แต่ด้วย Galschiøt ถูกปฏิเสธห้ามเข้าฮ่องกง กลุ่ม Hong Kong Alliance in Support of Patriotic Democratic Movements in China จึงเป็นผู้ทำการทาสีส้มแทนโดยที่เขาไม่ได้มาร่วมงานด้วย

การรื้อถอน

[แก้]

ตามข้อมูลของสื่อในฮ่องกง มหาวิทยาลัยฮ่องกงได้ทำการกั้นเสาแห่งความอัปยศและพื้นที่โดยรอบในวันที่ 22 ธันวาคม 2021 และเมื่อเวลาใกล้เที่ยงคืน มหาวิทยาลัยได้ส่งยามและคนงานไปยังพื้นที่เสา[7] รวมถึงมีการเตรียมรถบรรทุกและเครนสำหรับการรื้อถอนเสา[8] ยามที่ล้อมรอบเสาได้พยายามป้องกันไม่ให้สื่อเข้าใกล้และถ่ายวิดีโอขณะรื้อถอน[9][10] ในเช้าวันที่ 23 ธันวาคม 2021 ก็ไม่พบประติมากรรมนี้อยู่อีกต่อไป[11] มหาวิทยาลัยอ้าง่วาประติมากรรมจะถูกนำไปเก็ยรักษาที่ Kadoorie Centre[12] Galschiøt ได้แสดงความตกใจในข้อความสาธารณะในวันเดียวกัน โดยเรียกฮ่องกงว่าเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน และเขาจะขอเรียกเงินชดเชยหากไม่ส่งประติมากรรมนี้คืนมาแก่เขา[13] ในวันที่ 24 ธันวาคม 2021 มหาวิทยาลัยจีนฮ่องกง (CUHK) และมหาวิทยาลัย Lingnan University ได้ทำการรื้อถอนอนุสรณ์ต่อการสังหารหมู่ที่เทียนอันเหมินในวิทยาเขตของตนตามเช่นกัน[14][15][16]

หลังการรื้อถอน Galschiøt ได้รับคำร้องขอมากกว่า 40 ฉบับให้ทำแบบจำลองของประติมากรรม เขาจึงตัดสินใจเพิกถอนการคุ้มครองสิทธิทางการค้าในผลงานชิ้นนี้ ทำให้ใครก็ตามสามารถทำชิ้นงานลอกเลียนได้ ภายใต้ข้อบังคับแค่ว่ารายได้ทั้งหมดต้องถูกมอบให้กับขบวนการสนับสนุนประชาธิปไตยของฮ่องกงเท่านั้น[17]

เสาแห่งความอัปยศ ที่อื่น ๆ

[แก้]

เสาแห่งความอัปยศยังมีที่สถานที่เหล่านี้:

อ้างอิง

[แก้]
  1. The Pillar of Shame in Berlin. Aidoh.dk. Retrieved on 17 January 2015.
  2. The Pillar of Shame in Berlin – a Memorial for the Victims of Nazi Terror. Aidoh.dk. Retrieved on 16 November 2010.
  3. Chu, Prisca & Luk, Mandy (5 June 1999). Artist adds `personal touch' to Pillar, The Standard
  4. Lam Wan Rhonda (17 May 1999). "Students to erect Pillar of Shame permanently", The Standard
  5. 5.0 5.1 "Pillar of Shame still without a home"". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 3 June 1999. สืบค้นเมื่อ 11 October 2022.
  6. Staff reporter and agencies (6 June 1999) "Campus war of words over pillar", The Standard
  7. "港大拆國殤之柱? 校方突用圍板、白布封起 帶頭盔工程人員到場". HK01. 22 December 2021. สืบค้นเมื่อ 22 December 2021.
  8. "國殤之柱遭白幕圍封 吊臂車駛入港大 疑為移走工程作準備". 東方日報. 22 December 2021. สืบค้นเมื่อ 22 December 2021.
  9. "Hong Kong memorial to victims of Tiananmen Square dismantled". France 24. 23 December 2021. สืบค้นเมื่อ 14 January 2022.
  10. "港大深夜突襲圍封國殤之柱 保安:不要影、不清楚、不知道". YouTube.
  11. Grundy, Tom (2021-12-22). "University of Hong Kong removes Tiananmen Massacre monument in dead of night". Hong Kong Free Press HKFP (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-22.
  12. "'Pillar of Shame' removed from HKU campus". The Standard.
  13. "Pillar of Shame: Hong Kong's Tiananmen Square statue removed". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-12-23. สืบค้นเมื่อ 2021-12-23.
  14. "RTHK News More June 4 artwork removed from universities". Radio Television Hong Kong.
  15. "Two more Hong Kong universities tear down Tiananmen Massacre monuments in early hours of Fri". Hong Kong Free Press.
  16. "Two Hong Kong universities remove Tiananmen artworks after Pillar of Shame dismantled". The Guardian.
  17. Hagemann-Nielsen, Frederik (2 January 2022). "Dansk kunstner bag fjernet skulptur i Hongkong ophæver copyrighten efter storm af henvendelser" [Danish artist behind removed sculpture in Hongkong relinquish copyright after storm of inquiries]. DR (ภาษาเดนมาร์ก). สืบค้นเมื่อ 3 January 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. The Pillar of Shame in Rome – at the FAO Summit, 1996. Aidoh.dk. Retrieved on 16 November 2010.
  19. The Pillar of Shame in Mexico, 1999 – A memorial of the Acteal massacre. Aidoh.dk. Retrieved on 16 November 2010.
  20. The Pillar of Shame in Brazil, 2000 – A memorial of the Eldorado massacre. Aidoh.dk. Retrieved on 16 November 2010.
  21. Danish Pillar of Shame finds Permanent Site in Northern Brazil, Press release, 23-04-00. Aidoh.dk. Retrieved on 16 November 2010.