ข้ามไปเนื้อหา

เรือกอนเตดีซาโวยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กอนเตดีซาโวยา
ประวัติ
ราชอาณาจักรอิตาลี
ชื่อกอนเตดีซาโวยา
เจ้าของอิตาเลียนไลน์
ท่าเรือจดทะเบียนFlag of Italy ราชอาณาจักรอิตาลี
อู่เรือCantieri Riuniti dell'Adriatico ตรีเยสเต, ราชอาณาจักรอิตาลี
เดินเรือแรก28 ตุลาคม 1931
Christenedเจ้าหญิงมารี-โจเซแห่งเบลเยียม
Maiden voyage30 พฤศจิกายน 1932
ความเป็นไปแยกชิ้นส่วนในปี 1950
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือเดินสมุทร
ขนาด (ตัน): 48,502 ตันกรอส
ความยาว: 248.25 เมตร (814.5 ฟุต)
ความกว้าง: 29.28 เมตร (96 ฟุต)
ความสูง: 35 เมตร (114.8 ฟุต)
กินน้ำลึก: 9.5 เมตร (31.2 ฟุต)
ระบบพลังงาน: กังหันไอน้ำ
ระบบขับเคลื่อน: ใบจักร 4 ใบจักร จำนวน 4 จักร
ความเร็ว: 27 นอต (50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 31 ไมล์ต่อชั่วโมง)
ความจุ:

ผู้โดยสารทั้งหมด 2,200 คน:

  • 500 ชั้นแรก
  • 366 ชั้นสอง
  • 412 ชั้นนักท่องเที่ยว
  • 922 ชั้นสาม
ลูกเรือ: 786 คน

กอนเตดีซาโวยา (อิตาลี: Conte Di Savoia; แปลว่าเคานต์แห่งซาวอย) เป็นเรือเดินสมุทรสัญชาติอิตาลีที่สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1932 โดยอู่ต่อเรือ Cantieri Riuniti dell'Adriatico เมืองตรีเยสเต[1]

กอนเตดีซาโวยา เดิมได้รับคำสั่งซื้อสำหรับสายการเดินเรือลอยด์ ซาโบโด (Lloyd Sabaudo) อย่างไรก็ตาม หลังจากการควบรวมกิจการกับสายการเดินเรือนาวีกาซีโอเนเจเนราเลอีตาเลียนา (Navigazione Generale Italiana) เรือก็สร้างเสร็จสมบูรณ์สำหรับสายการเดินเรืออีตาเลียฟลอตเตรีอูนีเต (Italia Flotte Riunite) ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่[1] และยังได้สร้างเรือ เอสเอส เร็กซ์ (SS Rex) ซึ่งเป็นเรือที่มีลักษณะคล้ายกันแต่มีขนาดที่ใหญ่กว่าเล็กน้อย สร้างเสร็จก่อน กอนเตดีซาโวยา เพียง 2 เดือน

กอนเตดีซาโวยา มีการตกแต่งและรูปลักษณ์ที่ทันสมัยกว่า เร็กซ์ และยังเป็นเรือลำแรกที่ติดตั้งตัวปรับเสถียรภาพไจโรสโคป

ประวัติ

[แก้]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1932 ได้เดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์ไปยังนครนิวยอร์ก[1] เรือลำนี้ไม่เคยสร้างสถิติการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก โดยทำความเร็วได้สูงสุดที่ 27.5 นอต (31.6 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในปี 1933[1]

กอนเตดีซาโวยา มีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มจำนวนผู้โดยสาร คือการติดตั้งไจโรสโคปขนาดใหญ่จำนวน 3 ตัว เพื่อต้านการเอียงของเรือ ได้รับการออกแบบมาเพื่อลดการเอียงของเรือ อันเป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในระหว่างการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสายการเดินเรืออื่นๆ ทั้งหมด แต่ในความเป็นจริงไจโรสโคปได้ทำให้เรือ "เอียงค้าง" อย่างน่ารำคาญเมื่อเรืออยู่บนขีดจำกัดสูงสุดของการเอียง[2]

ในปี 1931 เมลกีออร์เร เบกา (Melchiorre Bega) สถาปนิกชาวอิตาลี ได้รับมอบหมายให้ออกแบบแผนผังและการตกแต่งภายในของ กอนเตดีซาโวยา[3] เบก้า เป็นที่รู้จักกันดีในด้านการออกแบบร้านค้า ร้านกาแฟ และโรงแรมที่ทันสมัย[4]

กอนเตดีซาโวยา กำลังถูกแยกชิ้นส่วนในปี 1950

กอนเตดีซาโวยา ถูกดึงออกจากบริการสายการพาณิชย์ในปี 1940 เพื่อให้บริการในช่วงสงคราม[5] เรืออับปางลงในปี 1943 และแม้จะถูกกู้ขึ้นมาเพื่อสร้างใหม่ในปี 1945 แต่ต่อมาก็ถูกแยกชิ้นส่วนในปี 1950[5] [6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 (Dawson 2005, p. 108)
  2. "Italian Liner To Defy The Waves". Popular Mechanics. เมษายน 1931.
  3. Corradini, Nicola. "Melchiorre Bega - Architekt und Designer". ArchInform.net. archInform-Internationale Architektur-Datenbank. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2019.
  4. Savorra, Massimiliano (ตุลาคม 2017). "Il lusso borghese negli anni '30. I negozi di Melchiorre Bega (Bourgeois Luxury in the 1930s - The shops of Melchiorre Bega". Casabella. 2017 (878): 26–34. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2019.
  5. 5.0 5.1 (Dawson 2005, p. 245)
  6. "Italian Line - SS Conte Di Savoia". ssmaritime.com. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2023.

บรรณานุกรม

[แก้]