เรจออฟเดอะดรากอนส์
เรจออฟเดอะดรากอนส์ | |
---|---|
ผู้พัฒนา | เอโบกา, นอยส์แฟกทรี[a] |
ผู้จัดจำหน่าย | เพลย์มอร์ |
กำกับ | อังเฆล ตอร์เรส |
ออกแบบ | เอดัวร์โด เดปัลมา มาริโอ บาร์กัส |
โปรแกรมเมอร์ | ฮิเดนาริ มาโมโตะ |
ศิลปิน | บุงชิจิโร โอมะ |
แต่งเพลง | โทขิกาซุ ทานากะ |
เครื่องเล่น | อาร์เคด, นีโอจีโอ เออีเอส |
วางจำหน่าย | อาร์เคด นีโอจีโอ เออีเอส
|
แนว | ต่อสู้ |
รูปแบบ | |
ระบบอาร์เคด | นีโอจีโอ เอ็มวีเอส |
เรจออฟเดอะดรากอนส์[b] (อังกฤษ: Rage of the Dragons) เป็นเกมต่อสู้ตัวต่อตัวแบบแท็กทีม ค.ศ. 2002 ที่วางจำหน่ายสำหรับฮาร์ดแวร์นีโอจีโอโดยบริษัทเพลย์มอร์[1][2][3] เกมดังกล่าวได้รับการพัฒนาโดยบริษัทนอยส์แฟกทรีของญี่ปุ่น ซึ่งพัฒนาร่วมกันโดยเบรซซาซอฟต์ และได้รับการออกแบบเป็นส่วนใหญ่โดยทีมเอโบกาของเม็กซิโก[4] ในวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2020 ปิโกะอินเตอร์แอกทีฟได้รับทรัพย์สินทางปัญญาของเกมและแสดงความสนใจที่จะใช้มันในทางใดทางหนึ่ง[5][6] ส่วนพอร์ตสำหรับนินเท็นโด สวิตช์, เพลย์สเตชัน 4 กับเพลย์สเตชัน 5 และเอกซ์บอกซ์วัน กับเอกซ์บอกซ์ซีรีส์ มีกำหนดออกวางจำหน่ายในอนาคตโดยคิวยูไบต์อินเตอร์แอกทีฟ[7][8]
รูปแบบการเล่น
[แก้]เรจออฟเดอะดรากอนส์มีระบบแท็กทีมซึ่งผู้เล่นจะควบคุมตัวละครสองตัวและสามารถสลับระหว่างตัวละครตัวใดตัวหนึ่งระหว่างการเล่นเกม[9] ตัวละครที่ไม่ได้รับการควบคุมจะค่อย ๆ ฟื้นฟูพลังงานส่วนหนึ่งในขณะที่สมาชิกทีมอีกคนกำลังต่อสู้ ผู้เล่นสามารถทำคอมโบพิเศษที่ตัวละครทั้งสองโจมตีคู่ต่อสู้ในเวลาเดียวกันเพื่อเพิ่มความเสียหาย
มิเตอร์เสริมที่อยู่ด้านล่างของหน้าจอจะค่อย ๆ เต็มขึ้นเมื่อการโจมตีเชื่อมกับฝ่ายตรงข้าม และเมื่อมิเตอร์เต็มสามารถทำการเคลื่อนไหวพิเศษได้ (เช่น การตีโต้, ท่าไม้ตายสุดยอด ฯลฯ)
โครงเรื่องและตัวละคร
[แก้]มีตัวละครที่เล่นได้ทั้งหมดสิบสี่ตัวในเรจออฟเดอะดรากอนส์[10][11][12] ผู้เล่นสามารถเลือกจากหนึ่งในเจ็ดการจับคู่เริ่มต้น หรือสร้างการจับคู่ที่กำหนดเองด้วยชุดค่าผสมที่เป็นไปได้เกือบ 80 แบบ ผู้เล่นจะเห็นฉากจบที่ซ่อนอยู่หากพวกเขาจบทัวร์นาเมนต์แบบผู้เล่นคนเดียวด้วยการจับคู่บิลลีและจิมมี
- บิลลี (วิลเลียม ลูวิส): นักแข่งรถชื่อดังและเป็นผู้เชี่ยวชาญริวซุยเคน เขาไม่ได้เห็นจิมมีพี่ชายของเขาเลยนับตั้งแต่ที่มารายห์แฟนสาวของจิมมีเสียชีวิต พาร์ตเนอร์: ลินน์
- จิมมี (เจมส์ ลูวิส): หลังจากการเสียชีวิตของมารายห์ซึ่งเป็นแฟนสาวของเขา จิมมีก็ได้ละทิ้งน้องชายของเขาและกลายเป็นนักสู้ข้างถนนที่มีชื่อเสียงทั้ง เพื่อเงินและความตื่นเต้น เขากลับไปที่ซันไชน์ซิตีหลังจากรู้สึกถึงเสียงสะท้อนของวิญญาณมังกรที่ชั่วร้าย พาร์ตเนอร์: โซเนีย
- ลินน์ (ลินน์ เบเกอร์): ชาวอเมริกันเชื้อสายจีน ลินน์ได้รับการฝึกกับทั้งจิมมี และบิลลี ลูวิส เธอเป็นผู้เชี่ยวชาญริวซุยเคน พาร์ตเนอร์: บิลลี
- โซเนีย (โซเนีย โรมาเนนโก): โซเนียเป็นผู้ลอบสังหารที่มีทักษะสูง หลังจากทิ้งชีวิตของเธอในฐานะผู้ลอบสังหารไว้เบื้องหลัง เธอได้พบกับจิมมี ลี และตกหลุมรักเขา พาร์ตเนอร์: จิมมี
- ราเดล: ราเดลเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มสุดท้ายของกลุ่มนักล่ามังกรที่ยิ่งใหญ่ เขาได้พัฒนาทักษะของเขาเพื่อช่วยผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ พาร์ตเนอร์: แอนนี
- แอนนี (แอนนี มูรากามิ): แอนนี มูรากามิ เกิดในครอบครัวกายสิทธิ์โบราณ ในช่วงต้นชีวิตของเธอ หัวหน้าครอบครัวสังเกตเห็นว่าความสามารถทางจิตของเธอนั้นทรงพลังมาก เขาหวังว่าเธอจะมีบทบาทสำคัญในอนาคตของครอบครัวและโลก แม้เธอจะอายุน้อย แต่เธอก็ได้รับมอบหมายให้ช่วยราเดอล ค้นหาและเอาชนะโยฮันน์ แอนนีพร้อมกับแมวดำชื่อควี-ซี ได้เดินทางไปกับราเดล โดยออกจากบ้านและใช้ชีวิตแบบโดดเดี่ยวเป็นครั้งแรก ความแปลกใหม่ของโลกภายนอกได้ทำให้เธอหลงใหล พาร์ตเนอร์: ราเดล
- คัสแซนดรา: คัสแซนดราเติบโตมาในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า ที่นั่นเธอได้พบกับโอนิ อิโนมูระและทั้งสองก็สนิทกัน พวกเขาตระหนักว่าพวกเขาทั้งสองมีพลังที่แปลกประหลาดและเห็นกันและกันเหมือนพี่น้อง พวกเขาถูกบังคับให้ออกจากสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าหลังจากที่โอนิเผาที่นั่นลงไป หลังจากออกจากสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าพวกเขาก็เริ่มออกเดินทาง ในระหว่างการเดินทางโอนิถูกบังคับให้ต่อสู้ ซึ่งเป็นสิ่งกระตุ้นที่เขาไม่สามารถเพิกเฉยได้ ในระหว่างการต่อสู้ครั้งหนึ่ง โอนิได้รับบาดเจ็บสาหัส โดยทิ้งให้คัสแซนดราหาทางช่วยเหลือเขา เมื่อโอนิได้รับบาดเจ็บ คัสแซนดราจึงขอความช่วยเหลือจากอีไลแอส แพทริก อีไลแอสสังเกตเห็นพลังงานแปลก ๆ ที่ทั้งสองมีอยู่อย่างรวดเร็ว พวกเขาตกลงที่จะเดินทางด้วยกัน แต่มีเวลาอยู่ด้วยกันไม่นาน คืนหนึ่ง อีไลแอสสังเกตเห็นโอนิทำร้ายคัสแซนดราเพื่อสนองความหิวกระหายในการต่อสู้ พวกเขาถูกบังคับให้หนี โดยเดินทางต่อไปด้วยตัวเองอีกครั้ง พาร์ตเนอร์: โอนิ
- โอนิ: โอนิเดินทางไปทั่วโลกกับคัสแซนดราน้องสาวของเขา ด้วยความพยายามที่จะเรียนรู้ความจริงเบื้องหลังอดีตของพวกเขา เขาต่อสู้กับพลังของเขาและเรียกร้องอย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์: คัสแซนดรา
- เปเป (โฆเซ โรดริเกซ): โฆเซ "เปเป" โรดริเกซ เป็นนักสู้ชาวเม็กซิโก หลังจากพบม้วนคัมภีร์จากเทพเจ้าเกวตซัลโกอัตล์ ความสามารถในการต่อสู้ของเขาก็ก้าวหน้าขึ้นมาก พาร์ตเนอร์: ปูปา
- ปูปา (ปูปา ซัลเกย์โร): ปูปาเป็นเด็กสาวชาวบราซิลและเพื่อนของเปเป ซึ่งกำลังตามหาพี่ชายของเธอที่หายตัวไป เธอได้รับการฝึกกาโปเอย์รา และมักจะใช้ประแจเมื่อเธอต่อสู้ พาร์ตเนอร์: เปเป
- อลิซ (อลิซ แคร์โรล): อลิซเกิดในครอบครัวที่ร่ำรวยและมีชื่อเสียงในลอนดอน เมื่ออายุ 10 ขวบ โศกนาฏกรรมได้เกิดขึ้นกับครอบครัวของเธอ พ่อแม่ของเธอถูกสังหารอย่างเหี้ยมโหด ซึ่งทำให้อลิซอยู่ในอาการช็อก เมื่อเธอถูกพบ เธอถูกปกคลุมไปด้วยเลือด และไม่สามารถบอกผู้สอบสวนได้ว่าเกิดอะไรขึ้น บางคนที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนคดีฆาตกรรมสงสัยว่าอลิซตัวน้อยต้องรับผิดชอบ แต่พวกเขาไม่สามารถพิสูจน์ได้ เนื่องจากความสงสัยนี้ รวมถึงภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมที่ไม่แน่นอนของเธอ เธอจึงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจิตเวชเพื่อรับการสังเกต โดยแพทย์ไม่สามารถทำอะไรเพื่อเธอได้ อลิซจะยังคงอยู่ในโรงพยาบาลจนกระทั่งเธอจะได้พบกับอีไลอัส แพทริก โดยที่อีไลอัสรับรู้ได้ทันทีว่าอลิซถูกวิญญาณชั่วร้ายเข้าสิงและแพทย์ก็ไม่สามารถช่วยเธอได้ เขามุ่งมั่นที่จะช่วยเด็กสาว และนำเธอไว้ใต้ปีกของเขา ทั้งนี้ เธอปรากฏตัวอีกครั้งในการแฮกเกมสตรีตออฟเรจ 2 ของเซกา ที่มีชื่อตอนว่าเกิลส์แพราไดซ์ พาร์ตเนอร์: อีไลอัส
- อีไลอัส (อีไลอัส แพทริก): หลังจากการเสียชีวิตของครอบครัวเขา อีไลอัสได้อุทิศชีวิตเพื่อขจัดความชั่วร้าย เขาได้ศึกษากลยุทธ์การไล่ผีเพื่อกำจัดความชั่วร้ายที่เขาพบ พาร์ตเนอร์: อลิซ
- มร. โจนส์ (จอห์นนี ดี. โจนส์): มร. โจนส์ มีพื้นฐานมาจากคารีม อับดุล-จับบาร์ อย่างหลวม ๆ เขาเป็นคนคลั่งไคล้ดิสโก และดาราภาพยนตร์ที่พัฒนาเจี๋ยฉวนเต้าในแบบของเขาเอง พาร์ตเนอร์: คัง
- คัง แจ-โม: ในขณะทีเขาถูกเยาะเย้ยเรื่องขนาดของเขาเมื่อตอนที่เขายังเด็ก ในที่สุดเขาก็กลายเป็นนักมวยปล้ำที่มีชื่อเสียง เขามีความฝันที่จะเป็นนักแสดงในสักวัน รวมถึงเป็นเพื่อนสนิทกับ มร. โจนส์ พาร์ตเนอร์: มร. โจนส์
นอกจากนี้ ยังมีตัวละครบอสสองตัวในเกม ซึ่งผู้เล่นจะต่อสู้เมื่อตอนจบทัวร์นาเมนต์ผู้เล่นคนเดียว บอสเหล่านี้ไม่เหมือนกับตัวละครทั่วไป พวกเขาต่อสู้เพียงลำพัง โดยไม่มีคู่หู
- อะบูโบ (อะบูโบ ราโอ): อดีตนักสู้ผู้รุ่งโรจน์และอดีตสมาชิกแก๊งที่ปกครองนครซันไชน์ วันหนึ่ง เขาวางแผนที่จะโค่นล้มเจ้านายของเขา จนกระทั่งจิมมีและบิลลีบุกเข้าไปในเขตอิทธิพลของอันธพาล และเอาชนะพวกเขา ด้านชีวิตส่วนตัว เขาพ่ายแพ้ต่อพี่ชาย และรู้สึกขุ่นเคืองต่อเขานับแต่นั้นเป็นต้นมา
- โยฮัน: เป็นผู้นำลัทธิใต้ดินขนาดใหญ่ในนครซันไชน์ โยฮันยังเป็นอดีตศิษย์ของปู่ของลินน์ และผู้ครอบครองมังกรดำคนปัจจุบัน โดยตัวตนชั่วร้ายที่ถูกกำหนดให้สร้างหายนะต่อแผ่นดิน
การพัฒนาและการตลาด
[แก้]เดิมที บริษัทเอโบกาจินตนาการถึงเรจออฟเดอะดรากอนส์ว่าเป็นภาคต่อของดับเบิลดรากอนเวอร์ชันเกมต่อสู้นีโอจีโอที่วางจำหน่ายใน ค.ศ. 1995 อย่างไรก็ตาม บริษัทเอโบกาไม่สามารถใช้ทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับตัวละคร (ซึ่งซื้อโดยบริษัทที่ก่อตั้งโดยอดีตพนักงานของเทคนอสเจแปนอย่างมิลเลียน ซึ่งเป็นผู้พัฒนาดับเบิลดรากอนอัดวานซ์) ดังนั้น เรจออฟเดอะดรากอนส์จึงกลายเป็นการแสดงความเคารพต่อซีรีส์ดับเบิลดรากอน แทนที่จะเป็นภาคต่ออย่างเป็นทางการ[13][14][15][16] ตัวละครนำสองคนในเรจออฟเดอะดรากอนส์ ซึ่งคือบิลลีและจิมมี ใช้ชื่อเอี่ยวกับตัวเอกของซีรีส์ดับเบิลดรากอน ซึ่งคือบิลลี และจิมมี ลี ในขณะที่คังมีพื้นฐานมาจากเบอร์นอฟในดับเบิลดรากอน II: เดอะรีเวนจ์ และตัวละครที่เป็นบอสอย่างอะบูโบนั้นอ้างอิงจากอะโบโบในดับเบิลดรากอนดั้งเดิม ส่วนตัวละครที่สนับสนุนสองคนในภาคเรจ คือลินดา (ผู้ช่วยหญิงของอะบูโบ) และมารายห์ (แฟนสาวของจิมมี) ก็มีพื้นฐานมาจากตัวละครดับเบิลดรากอนเช่นกัน ขณะที่จิมมี, ลินน์, อีไลอัส และแอนนี ก็ปรากฏตัวในฐานะตัวละครรับเชิญในมาทริมีลี ซึ่งเป็นเกมต่อสู้ที่ผลิตโดยบริษัทนอยส์แฟกทรี และบังเอิญ บริษัทอัตลุสที่ผลิตซีรีส์เพาเวอร์อินสติงต์เดิม ได้เผยแพร่ดับเบิลดรากอนอัดวานซ์สำหรับมิลเลียน ซึ่งเกมดังกล่าวได้รับการออกแบบร่วมกันโดยมาริโอ บาร์กัส และเอดัวร์โด เดปัลมา ที่ต่อมาได้ทำงานในอุตสาหกรรมอนิเมะ[17] ส่วนซาวด์แทร็กแต่งโดยโทขิกาซุ ทานากะ ซึ่งเคยทำงานที่บริษัทเอสเอ็นเค และทำงานในโครงการอย่างเฟทัลฟิวรี: คิงออฟไฟเตอส์[18] นอกจากนี้ ก่อนการเปิดตัว นิตยสารฝรั่งเศสอย่างฮาร์ดคอร์เกมเมอส์ได้กล่าวถึงการรวมบิลลีและจิมมีจากดับเบิลดรากอนไว้ในเกมนี้[19]
การตอบรับ
[แก้]นิตยสารเกมไทป์ของสเปน ให้คำวิจารณ์เชิงบวกแก่เรจออฟเดอะดรากอนส์[20] และนิตยสารมันทลีอาร์เคเดียได้รายงานในฉบับเดือนกันยายน ค.ศ. 2002 ว่าเกมนี้เป็นเกมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอันดับหกในประเทศญี่ปุ่น[21] ส่วนโยชิฮิซะ คิชิโมโตะ ผู้สร้างดับเบิลดรากอนต้นฉบับกล่าวว่า "เขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรจออฟเดอะดรากอนส์"[22] ใน ค.ศ. 2012 นิตยสารคอมเพลกซ์ได้จัดอันดับ "ภาคต่อของเกมต่อสู้ดับเบิลดรากอนภาคแรก" นี้ในฐานะเกมต่อสู้ของบริษัทเอสเอ็นเคที่ดีที่สุดอันดับ 13 เท่าที่เคยสร้างมา[23] ส่วนเคิร์ต คาลาตา จากฮาร์ดคอร์เกมมิง 101 มองว่าเกมนี้เป็น "เกมที่ยอดเยี่ยมสำหรับทุกคนที่เป็นนักสู้ 2 มิติยุคปลาย และเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าด้วยการออกแบบตัวละครสุดเร้าใจและซาวด์แทร็กที่ยอดเยี่ยม"[9]
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Dossier: Neo Geo Y SNK — Lucha VS". GamesTech (ภาษาสเปน). No. 11. Ares Informática. July 2003. p. 57.
- ↑ "NEOGEO 20th Anniversary: NEOGEO Games All Catalog". Monthly Arcadia (ภาษาญี่ปุ่น). No. 119. Enterbrain. April 2010. pp. 12–22.
- ↑ "Title Catalogue - NEOGEO MUSEUM". SNK Playmore. 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-28. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
- ↑ Ryofu (July 2002). "Coming Soon: Rage of the Dragons". GamesTech (ภาษาสเปน). No. 1. Ares Informática. p. 32.
- ↑ Wong, Alistair (May 10, 2020). "Rage of the Dragons IP Acquired By PIKO Interactive". Siliconera. Enthusiast Gaming. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-06. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
- ↑ Mateo, Alex (May 11, 2020). "PIKO Interactive Acquires Rights to Rage of the Dragons Game - Publisher "currently working on plans" for 2002 fighting game". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-20. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
- ↑ Doolan, Liam (October 28, 2021). "Neo Geo Tag Team Fighter Rage Of The Dragons Is Coming To Switch — And the 'Breakers Collection' has been delayed". Nintendo Life. Nlife Media. สืบค้นเมื่อ 2021-10-29.
- ↑ Sal Romano, Sal Romano (October 29, 2021). "Neo Geo fighting game Rage of the Dragons coming to PS4, Xbox One, and Switch". Gematsu. สืบค้นเมื่อ 2021-10-29.
- ↑ 9.0 9.1 Kalata, Kurt (February 7, 2016). "Rage of the Dragons". Hardcore Gaming 101. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-21. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
- ↑ "Rage of the Dragons (レイジ・オブ・ザ・ドラゴンズ)". Monthly Arcadia (ภาษาญี่ปุ่น). No. 25. Enterbrain. June 2002.
- ↑ "Rage of the Dragons (レイジ・オブ・ザ・ドラゴンズ)". Monthly Arcadia (ภาษาญี่ปุ่น). No. 26. Enterbrain. July 2002.
- ↑ "Rage of the Dragons (レイジ・オブ・ザ・ドラゴンズ)". Monthly Arcadia (ภาษาญี่ปุ่น). No. 27. Enterbrain. August 2002.
- ↑ Master, Dojo (August 21, 2002). "Interview with Evoga Entertainment: Creators of Rage of the Dragons". Double Dragon Dojo. Konfiskated Teknologies Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-07. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
- ↑ "Entrevista con EVOGA Entertainment - Entrevista exclusiva con Ángel Torres, director de EVOGA Entertainment". Bonus Stage MX. May 3, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-30. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
- ↑ "EVOGA, eslabón entre SNK y México – #AtomixShow 069". Atomix (ภาษาสเปน). Prowell Media. August 26, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-10. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
- ↑ Baird, Scott (January 30, 2017). "15 Things You Didn't Know About Double Dragon - One of the most important video game series of all time is returning to consoles. What effect has Double Dragon had on the world?". Screen Rant. Valnet, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
- ↑ Marmot (February 4, 2013). "Entrevistando a Edo Haruma, dibujante mexicano en Japón (Parte 1/2)". RetornoAnime (ภาษาสเปน). KEM Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-08. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
- ↑ Greening, Chris (January 12, 2016). "Toshikazu Tanaka Interview: The King of Fighters". vgmonline.net. Video Game Music Online. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 5, 2016. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
- ↑ "Previews - Rage of the Dragon". HardCore Gamers (ภาษาฝรั่งเศส). No. 7. FJM Publications. June 2002. p. 17.
- ↑ Classic Kim Kapwham (August 2002). "Dossier - Rage of the Dragons". Gametype (ภาษาสเปน). No. 8. MegaMultimedia. pp. 20–21.
- ↑ "10". Monthly Arcadia (ภาษาญี่ปุ่น). No. 28. Enterbrain. September 2002.
- ↑ Leone, Matt (October 12, 2012). "The man who created Double Dragon". Polygon. Vox Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-29. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
- ↑ Jones, Elton (September 18, 2012). "The 25 Best SNK Fighting Games Ever Made: 13. Rage of the Dragons". Complex. Complex Networks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-27. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.