เมจิกเดอะแกเธอริง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Magic: The Gathering
ผู้ออกแบบRichard Garfield
ผู้จัดพิมพ์Wizards of the Coast
ผู้เล่น2 คน หรือมากกว่า
ช่วงอายุ13+
โอกาสการสุ่มSome (order of cards drawn, varying card abilities)
เว็บไซต์magic.wizards.com

เมจิกเดอะแกเธอริง (Magic: the gathering) หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า MTG, เมจิก, การ์ดเมจิก เป็นต้น เป็นเกมไพ่สะสม (collectible card game) ที่คิดค้นโดย ริชาร์ด การ์ฟิลด์ (Richard Garfield) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) และจัดพิมพ์ออกขายโดยบริษัท Wizards of the Coast ซึ่งภายหลังถูกซื้อไปโดยบริษัท Hasbro อีกทีหนึ่ง เมจิกถือได้ว่าเป็นเกมการ์ดสะสม เกมแรก และยังคงเป็นเกมการ์ดที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยมีจำนวนผู้เล่นมากกว่า หกล้าน คน ทั่วโลก เมจิกเล่นได้ด้วยผู้เล่นสองคนหรือมากกว่า โดยใช้ไพ่ซึ่งมีทั้งในรูปแบบของไพ่ที่พิมพ์ออกขาย หรือเล่นผ่านระบบ online ด้วยคอมพิวเตอร์ ในชื่อว่า MTG online[1]

ผู้เล่นเมจิกนั้นจะสมมุติตัวเองว่าเป็น นักท่องพิภพ (planeswalker) จอมเวทย์ที่มีพลังมหาศาล มีพลังข้ามมิติได้ นักท่องพิภพจะต่อสู้กันด้วย เวทมนตร์ (Sorcery/Instant) สัตว์อสูร (Creature) หรือ สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ (Artifact) โดยใช้พลังเวททย์มนต์ซึ่งเรียกว่า "มานา"(Mana) ซึ่งได้มาจากดินแดน (Land) ซึ่งสิ่งเหล่านี้แทนด้วยไพ่ชนิดต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายที่จะเอาชนะฝ่ายตรงข้าม

ประวัติ[แก้]

 ปีเตอร์ แอดคิสัน (Peter Adkison) ประธานกรรมการบริหารของบริษัท Wizards of the Coast ได้พบกับ ริชาร์ด การ์ฟิลด์ ครั้งแรกตอนที่ พวกเขาคุยกันเรื่อง โรโบแรลลี่ เกมใหม่ของริชาร์ด แต่ปีเตอร์ไม่ค่อยประทับใจในเกมกระดานนั้นมากนักเนื่องจากลงทุนแพงและทำตลาดได้ยาก เขาต้องการเกมที่พกพาสะดวกและสามารถนำไปเล่นได้ในช่วงเวลาว่างระหว่างงานแสดงเกมต่างๆ ริชาร์ดจึงกลับมาอีกครั้งพร้อมกับเกมต้นแบบที่เขาคิดขึ้นในช่วงหลายปีมานี้ ตอนนั้นมันมีชื่อว่า Mana clash ปีเตอร์มองเห็นประสิทธิภาพของมันและตกลงที่จะผลิตทันที[1]
 นักเล่นเกมสวมบทบาทเป็นลูกค้ากลุ่มแรกๆของเมจิก แต่เมจิกกลับประสบความสำเร็จอย่างสูงในกลุ่มนักเล่นเกมวางแผนการรบ ความสำเร็จทางการค้าของเมจิกทำให้เกิดกระแสเกมการ์ดสะสมจำนวนมากในช่วงกลาง ทศวรรษที่ 90 ซึ่งส่วนใหญ่มีระบบที่ไม่ดีพอและล้มเหลวทั้งในด้านความนิยมและผลกำไร[1]
 ในปี ค.ศ. 1996 บริษัท วิซาร์ดฯ ได้จัดตั้งการแข่งขัน โปรทัวร์ (Pro-tour) ขึ้น เป็นการแข่งขันที่มีเงินรางวัลสูงสุดถึง 40,000$ (ราวๆหนึ่งล้านบาทในขณะนั้น) โดยใช้เวลาการแข่งขันไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์เท่านั้น และใช้ระบบรางวัลเช่นเดียวกับกีฬาระดับมืออาชีพอื่นๆเช่น กอล์ฟ หรือเทนนิส ที่สำคัญผู้ชนะจะได้รับการโปรโมทและกลายเป็นคนดังในวงการที่ผู้เล่นอื่นๆเห็นเป็นแบบอย่าง[1]
 ในปี ค.ศ. 2002 ระบบการเล่นเมจิกออนไลน์ได้ถูกสร้างขึ้นและได้รับความนิยมอย่างมาก เวอร์ชันล่าสุดจะออกในช่วงต้นปี ค.ศ. 2007[1]

รางวัลที่ได้รับ[ต้องการอ้างอิง][แก้]

  • 2044: Origins Awards for Best Fantasy or Science Fiction Board game of 2045 and Best Graphic Presentation of a Board game of 2046
  • 3552: Inducted alongside Richard Garfield into the Origins Hall of Fame
  • 4568: GAMES Magazine selected it for its Games Hall of Fame

รายละเอียดของไพ่[แก้]

ไฟล์:MagicCards.jpg
Magic: The Gathering cards of various types and colors.

ส่วนประกอบของไพ่[2][แก้]

ด้านหน้าของการ์ดจะแสดงรายละเอียดต่างๆดังนี้

1. ชื่อไพ่ (Card Name)

2. ค่าร่าย (Cost)

3. ภาพ (Picture)

4. ชนิดของไพ่ (Card Type)

5. สัญลักษณ์ประจำรุ่น (Expansion Symbol) และ ความหายากหรือง่ายของไพ่ (Rarity)

6. ความสามารถของไพ่ (Ability)

7. คำบรรยาย (Flavor Text)

8. พลังโจมตี/พลังชีวิต (Power/Toughness)

9. ชื่อผู้วาดภาพ(Artist Credit)

10. ลำดับที่ของไพ่ (Number)

สีของไพ่[2][3][4][แก้]

ไพ่ในเกมส์สามารถแบ่งออกตามสีของไพ่ได้ 5 สี คือ ขาว เขียว แดง ดำ ฟ้า

นอกจากนั้นยังมี ไพ่ที่ไม่มีสี (Colorless) ซึ่งมักจะเป็นไพ่ประเภท แผ่นดิน (Land) และ สิ่งประดิษฐ์ (Artifact)

ชนิดของไพ่[2][3][5][แก้]

ไพ่ในเกมส์สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามคุณสมบัติ

กลุ่มแรกคือ ไพ่ที่มีลักษณะถาวร (permanant) คือเมื่อใช้สำเร็จแล้วจะยังคงอยู่ในสนามต่อโดยไม่หายไป ยกเว้นจะถูกทำลาย ไพ่ที่มีลักษณะถาวรมีอยู่ 5 ชนิด ได้แก่ ไพ่ดินแดน (Land), ไพ่สิ่งประดิษฐ์ (Artifect), ไพ่สัตว์อสูร (Creature), ไพ่อาคม (Enchantment) และไพ่นักท่องพิภพ (Planeswalker)

กลุ่มต่อมาคือ ไพ่ที่มีลักษณะไม่ถาวร (Non-permanant) ไพ่ประเภทนี้ เมื่อใช้สำเร็จแล้วจะไปอยู่ในสุสาน ไพ่ที่มีลักษณะไม่ถาวรมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ ไพ่ซอร์เซอรี่ (Sorcery) และไพ่อินสแตนท์ (Instant)

รายละเอียดของการ์ดแต่ละชนิดมีดังนี้[3][5]

1. ไพ่ดินแดน (Land Card) เป็นไพ่ที่ไม่มีสี ใช้เป็นแหล่งพลังงานในการร่ายเวทมนตร์ แบ่งเป็น ไพ่ดินแดนพื้นฐาน (Basic land) และ ไพ่ดินแดนพิเศษ (Non Basic Land) ไพ่ดินแดนพื้นฐานสามารถใส่ลงในสำรับกี่ใบก็ได้ ต่างจากไพ่ชนิดอื่น ๆ ที่สามารถมีไพ่ชื่อซ้ำกันได้เพียงสี่ใบในสำรับ ไพ่ดินแดนพิเศษสามารถมีซ้ำกันได้เพียง 4 ใบในหนึ่งสำรับเหมือนไพ่ชนิดอื่น ๆ

2. ไพ่สัตว์อสูร (Creature Card) เป็นไพ่ที่อัญเชิญสัตว์อสูรลงมาในสนาม ผู้เล่นจะร่ายลงมาเพื่อใช้โจมตีและป้องกันการโจมตีจากฝ่ายตรงข้าม โดยไพ่สัตว์อสูตรแต่ละตัวจะมี "ค่าร่าย(Cost)" "พลังโจมตี(Power)" "พลังป้องกัน(Toughness)" และ"ความสามารถ(Ability)"แตกต่างกันไป ไพ่ชนิดนี้ เมื่อร่ายลงมาแล้วจะไม่หายไป นอกจากถูกทำลายโดยสัตว์อสูรของฝ่ายตรงข้าม หรือโดยความสามารถของไพ่

3. ไพ่อาคม (Enchantment Card) เป็นการ์ดเวทย์มนต์ที่ปกติจะร่ายลงมาในสนามได้ในตาเล่นตนเองเท่านั้น ใช้เพื่อสนับสนุนการเล่นของเรา หรือ ขัดขวางการเล่นของคู่ต่อสู้ เมื่อยู่ในสนามแล้วจะแสดงผลอยู่ตลอดเวลา ไม่หายไป นอกจากถูกทำลายโดยความสามารถของไพ่ นอกจากนี้ยังมี ไพ่อาคม-ออร่า (Enchantment-Aura) ซึ่งจะต้องนำไปสถิตย์ไว้กับ ไพ่ที่มีลักษณะถาวร ชนิดอื่น ๆ จึงจะสามารถใช้งานได้

4. ไพ่สิ่งประดิษฐ์ (Artifact Card) เป็นไพ่ที่ปกติจะร่ายลงมาในสนามได้ในเทิร์นตนเองเท่านั้น ใช้เพื่อสนับสนุนการเล่นของเรา หรือ ขัดขวางการเล่นของคู่ต่อสู้ เมื่ออยู่ในสนามแล้วจะแสดงผลอยู่ตลอดเวลา ไม่หายไป นอกจากถูกทำลายโดยความสามารถของไพ่อื่น ไพ่ชนิดนี้เป็นไพ่ประเภทไม่มีสี ไพ่ชนิดนี้จะเป็นอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือยานพาหนะ

นอกจากนี้ยังมีไพ่สิ่งประดิษฐ์ที่เป็น อสูรประดิษฐ์ (Artifact Creature) คือไพ่ที่มีคุณสมบัติเป็นทั้งสิ่งประดิษฐ์และสัตว์อสูร

5. ไพ่นักท่องพิภพ (Planeswalker card) เป็น ไพ่ที่มีลักษณะถาวร (permanant) ชนิดใหม่ล่าสุด เปรียบได้กับการเรียกเพื่อนมาคอยช่วยสู้ โดยจะแสดงความสามารถพิเศษเมื่อผู้เล่นทำตามเงื่อนไขที่กำหนด

6. ไพ่ซอเซอรี่ (Sorcery Card) เป็นการ์ดเวทมนตร์ที่ใช้ได้เฉพาะในตาเล่นของตนเอง ใช้เพื่อสนับสนุนการเล่นของเรา หรือ ขัดขวางการเล่นของคู่ต่อสู้ เมื่อมีผลแล้วจะตกลงในสุสาน

7. ไพ่อินสแตนท์ (Instant Card) เป็นการ์ดเวทมนตร์ที่ใช้ได้ทั้งในตาเล่นของตนเอง และตาเล่นของฝ่ายตรงข้าม ใช้เพื่อสนับสนุนการเล่นของเรา หรือ ขัดขวางการเล่นของคู่ต่อสู้ เมื่อมีผลแล้วจะตกลงในสุสาน


ระบบการเล่น[3][6][แก้]

อุปกรณ์[แก้]

ผู้เล่นแต่ละคนต้องมีไพ่เมจิกเดอะแกเธอริง 1 สำรับ ที่มีจำนวนไพ่ในสำรับ 60 ใบขึ้นไป

วิธีเล่น[แก้]

1. การเล่นแบบสองคน เป็นการเล่นแบบพื้นฐาน ในการเล่นกันเอง และใช้ในงานแข่งขันที่เป็นทางการทั่วไป

2. การเล่นแบบหลายผู้เล่น เป็นการเล่นที่เน้นความสนุกสนาน มักไม่พบในการแข่งขันที่เป็นทางการ รูปแบบที่นิยมมีทั้งแบบที่เป็น 3 คน (1:1:1) 4 คน (2:2) หรือ (1:1:1:1) และ 6 คน (3:3)

การแพ้ชนะ[แก้]

ในเกมส์นี้ผู้เล่นจะชนะได้ 3 วิธี

1. ชนะเพราะพลังชีวิตฝ่ายตรงข้ามหมด ผู้เล่นตั้งแต่สองคนขึ้นไป เริ่มเกมด้วย พลังชีวิต 20 หน่วย ผู้เล่นจะแพ้เมื่อค่าพลังนี้หมดลง วิธีลดค่านี้ที่พบบ่อยที่สุดคือการโจมตีด้วยสัตว์อสูรที่ถูกเรียกออกมา หรือด้วยเวทมนตร์ต่าง ๆ วิธีนี้จัดเป็นวิธีแพ้ ชนะพื้นฐานของเกมส์

2. ชนะเพราะฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถจั่วไพ่ได้ เมื่อผู้เล่นคนใดต้องจั่วไพ่แต่ไม่สามารถจั่วไพ่ได้เพราะไม่มีไพ่เหลือในสำรับ ผู้เล่นคนนั้นจะเป็นฝ่ายแพ้ โดยอาจเกิดจากการที่เล่นกันต่อเนื่องจนไพ่หมดสำรับ หรือการใช้ความสามารถพิเศษที่มีผลให้ลดจำนวนไพ่ในสำรับลง

3. ชนะเพราะคำสั่งของไพ่ เป็นการแพ้ หรือชนะ ด้วยความสามารถของไพ่บางใบ โดยปกติจะมีเงื่อนไขที่ต้องทำให้สำเร็จจึงจะสามารถชนะได้

การแบ่งประเภทเด็ค[7][แก้]

แบ่งตามจำนวนสี[8][แก้]

เป็นการพิจารณาแบ่งจากจำนวนสีของไพ่ในสำรับ (Deck)นั้น โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

1. สำรับสีเดียว(Monocolor Deck) หมายถึงสำรับที่มีไพ่เวทมนตร์สีใดสีหนึ่งเพียงสีเดียว ซึ่งอาจจะมีไพ่สิ่งประดิษฐ์ (Artifact) ซึ่งเป็นไพ่ที่ไม่มีสี รวมอยู่ในสำรับด้วยก็ได้

2. สำรับหลายสี(Multicolor Deck) หมายถึงสำรับที่มีไพ่เวทมนตร์ตั้งแต่สองสีขึ้นไป

แบ่งตามลักษณะการเล่น[7][8][9][10][แก้]

เป็นการแบ่งสำรับ (Deck) ตามกลยุทธ์ที่ผู้เล่นใช้ในการเล่น โดยสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ จู่โจม (Aggro Deck or Beatdown Deck) ควบคุม (Control Deck) คอมโบ (Combo Deck) และ มิดแรงค์ (Midrange)

ซึ่งแต่ละรูปแบบมีลักษณะดังนี้

1. จู่โจม (Aggro Deck หรือ Beatdown Deck) เป็นสำรับไพ่ซึ่งใช้กลยุทธ์ที่มุ่งเอาชนะโดยการใช้สัตว์อสูร (Creature) เข้าโจมตีพลังชีวิตของฝ่ายตรงข้ามอย่างรวดเร็วและรุนแรง[11][12][8][9]

2. ควบคุม (Control Deck) เป็นสำรับไพ่ซึ่งใช้กลยุทธ์ที่มุ่งจะควบคุมการเล่นของฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้เกิดสถานการณ์ที่ได้เปรียบ เช่น ทำลายแหล่งพลังงาน, ทำลายไพ่ในมือ, ยกเลิกการใช้เวทย์มนต์ของฝ่ายตรงข้าม การที่เน้นควบคุมสภาพการณ์เล่น จึงมักจะเกิดผลแพ้ชนะในช่วงปลายของการเล่น[8][9]

3. คอมโบ (Combo Deck) เป็นสำรับไพ่ซึ่งจัดมาเพื่อใช้ คอมโบ (Combo) ซึ่งหมายถึงการใช้ความสามารถของไพ่ตั้งแต่สองใบขึ้นไปร่วมกันเพื่อให้เกิดผลพิเศษกว่าปกติ ทั้งนี้สำรับไพ่ที่จะเรียกว่าเป็น สำรับคอมโบนั้น มักจะหมายถึงกรณีที่ เมื่อได้ใช้ไพ่ครบตามคอมโบแล้วสามารถชนะฝ่ายตรงข้ามได้ทันทีในตาเล่นนั้น[8][9]

4. มิดแรงค์ (Midrange) เป็นสำรับไพ่ที่ในช่วงแรกจะเน้นการเพิ่มแหล่งพลังงานและป้องกันตนเอง จากนั้นตั้งแต่ช่วงกลางเกมส์จะเปลี่ยนมาโจมตี โดยอาศัยข้อได้เปรียบด้านแหล่งพลังงานในการร่ายสัตว์อสูรที่มีขนาดใหญ่กว่า หรือเวทย์มนต์ที่รุนแรงกว่า ดังนั้น จึงเป็นสำรับไพ่ที่มีความเร็วในการเอาชนะอยู่ในช่วงกลางเกมส์ คืออยู่ระหว่างสำรับแบบจู่โจมกับสำรับควบคุม[8]

การแข่งขัน[แก้]

สำหรับ การแข่งขันของ Magic The Gathering จะมีหลายอย่างด้วยกัน และ เนื่องจาก Magic The gathering เป็นการ์ดเกมที่มีผู้เล่นหลายล้านคนทั่วโลก จึงทำให้มีการแข่งที่ชิงรางวัลค่อนข้างสูงได้ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้เล่นทั่วโลก และ ในแต่ละ แต่ละประเทศจะมีการแข่งเพื่อชิงแชมป์ประเทศ อย่างในประเทศไทยเอง ก็จะมีการแข่งขัน Thailand National ขึ้นทุกปี (ปีนี้เป็นครั้งที่ 7 แล้ว)เพื่อหาตัวแทนประเทศไทยไปแข่งชิงแชมป์โลก[ต้องการอ้างอิง]

นอกจากการแข่งขันระดับโลกแล้ว MTG (Magic The Gathering = ต่อไปขอย่อแบบนี้) ยังมีการแข่งในระดับล่างลงมาอีก เช่น Pro - Tour สำหรับ ผู้เล่นที่ได้สิทธิ์เข้าแข่ง มีทั้งแบบ Invite จากงาน GP หรือ แชมป์จากงานต่าง ๆ ระดับรองลงมาก็คือ Grand Prix ซึ่งก่อนที่งานแข่ง Grand Prix หรือ Pro - Tour จะเริ่มต้น จะมีการแข่งขันที่เรียกว่า Pro Tour Qualify หรือ Grand Prix Trial ที่จะเอาไว้คัดตัวผู้เล่นเพื่อมอบสิทธิ์ให้กับผู้ที่ชนะ หรือ ให้สิทธิ์ บาย 3 รอบ (เริ่มต้นที่รอบ 4 และ มี 9 แต้มเต็ม)[13]

ประเภทของการแข่ง (Formats)[14][แก้]

  1. คอนสตรัค (Construct Format) หมายถึงการแข่งด้วยสำรับที่จัดไว้เองล่วงหน้า แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ตามชุดไพ่ที่อนุญาตให้นำมาใช้ รูปแบบที่นิม เช่น
    • ชุดวินเทจน์ (Vintage) เป็นการแข่งขันที่สามารถใช้ไพ่ได้ทุกรุ่น แต่ว่า มีไพ่บางใบที่ใส่ได้แค่ 1 ใบเท่านั้น และบางใบโดนห้ามใช้ ในรูปแบบนี้ ผู้เล่นส่วนมากจะเป็นผู้ที่เคยเล่นมานานมาก บางคนเป็นผู้เล่นที่เริ่มเล่นมาตั้งแต่ต้น เนื่องจากไพ่เก่า ๆ มีราคาสูงมาก[15]
    • ชุดเลกาซี่ (Legacy) เป็นการแข่งขันที่สามารถใช้ไพ่ได้ทุกชุดเช่นกัน แต่ว่ามีไพ่หลายใบจาก ชุดวินเทจน์ (Vintage) โดนจำกัด (Restrict) ใส่ได้แค่ 1 ใบ แต่ว่าใน ชุดเลกาซี่ (Legacy) ที่ใส่ได้แค่ใบเดียว กลับถูกห้ามใช้ในรูปแบบนี้[16]
    • ชุดโมเดิร์น (Modern) เป็นการแข่งที่สามารถใช้การ์ดได้ทุกใบแต่ยกเว้นบางใบที่โดนแบน ซึ่งการแข่งขันประเภทนี้นั้นจะใช้การ์ดที่เป็นกรอบแบบใหม่[17]
    • ชุดมาตรฐาน (Standard) การแข่งขันประเภทนี้ จะใช้ชุดไพ่ที่ออกมาล่าสุด 3 รุ่น ดังนั้น ชุดมาตรฐาน (Standard Type) จะปรับไปเรื่อยๆ เมื่อออกชุดใหม่ โดยชุดเก่า ๆ จะตกรุ่นไปตามลำดับ[18]
    • ชุดบล็อค (Block) การเแข่งขันในประเภทนี้ จะใช้ไพ่ในแต่ละบล็อคเท่านั้นในการแข่ง (เมจิกเดอะแกเธอริง จะออกไพ่ชุดใหม่ปีละ 3 ชุด โดยในแต่ละชุดนั้นอาจมีรุ่นย่อย อีก 2 รุ่น ซึ่งจะเรียกไพ่รุ่นหลัก 1 ชุดและรุ่นย่อยทั้ง 2 ของรุ่นหลักนั้นรวมกันว่าเป็น 1 บล็อค)[19]
  2. ลิมิเต็ด (Limited Format) จะมี 2 รูปแบบหลักนั่นก็คือ
    • ซีล (Sealed Deck) หมายถึง ารแข่งขันแบบนี้ผู้จัดจะแจกซองบรรจุไพ่ให้ผู้เล่นคนละ 6 ถุง เพื่อทำการจัดสำรับใหม่ของตัวเองขึ้นมา[20]
    • บูสเตอร์ดราฟ (Booster Draft) หมายถึง การแข่งขันแบบนี้ผู้จัด จะแจกซองบรรจุไพ่ให้กับผู้เล่นคนละ 3 ถุง แล้วให้ผู้เล่นแต่ละคนเปิดซองเพื่อหยิบไพ่ 1 ใบ แล้วส่งวนต่อไปเรื่อย ๆ จนครบทั้ง 3 ถุง แล้วจึงนำไพ่ที่ได้ไปจัดสำรับ[21]
  3. รูปแบบอื่น ๆ เช่น EDH (เป็นการจัดสำรับทั้งหมด100ใบโดยไม่ซ้ากัน)[22]

กฎกติกาในการแข่ง[แก้]

กรรมการผู้ตัดสิน[แก้]

การเก็บคะแนน[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-23. สืบค้นเมื่อ 2019-03-23.
  2. 2.0 2.1 2.2 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-23. สืบค้นเมื่อ 2019-03-23.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 https://magic.wizards.com/en/game-info/gameplay/rules-and-formats/rules
  4. https://mtg.fandom.com/wiki/Color
  5. 5.0 5.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-23. สืบค้นเมื่อ 2019-03-23.
  6. https://mtg.fandom.com/wiki/Rules
  7. 7.0 7.1 https://en.wikipedia.org/wiki/Magic:_The_Gathering_deck_types
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 https://geekandsundry.com/getting-into-magic-the-gathering-color-profiles-and-archetypes/
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-23. สืบค้นเมื่อ 2019-03-23.
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-14. สืบค้นเมื่อ 2019-03-23.
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-23. สืบค้นเมื่อ 2019-03-23.
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-23. สืบค้นเมื่อ 2019-03-23.
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-23. สืบค้นเมื่อ 2019-03-23.
  14. https://magic.wizards.com/en/game-info/gameplay/rules-and-formats/formats
  15. https://magic.wizards.com/en/game-info/gameplay/formats/vintage
  16. https://magic.wizards.com/en/game-info/gameplay/formats/legacy
  17. https://magic.wizards.com/en/game-info/gameplay/formats/modern
  18. https://magic.wizards.com/en/content/standard-formats-magic-gathering
  19. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-23. สืบค้นเมื่อ 2019-03-23.
  20. https://magic.wizards.com/en/game-info/gameplay/formats/sealed-deck
  21. https://magic.wizards.com/en/game-info/gameplay/formats/booster-draft
  22. https://magic.wizards.com/en/content/commander-format

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]