ข้ามไปเนื้อหา

เพลาข้อเหวี่ยง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพลาข้อเหวี่ยง (สีแดง) ลูกสูบ (สีเทา) กระบอกสูบ (สีน้ำเงิน) และล้อตุนกำลัง (สีดำ)

เพลาข้อเหวี่ยง (อังกฤษ: crankshaft) เป็นส่วนประกอบทางกลที่ใช้ในเครื่องยนต์ลูกสูบเพื่อแปลงการเคลื่อนที่แบบขึ้นลงให้กลายเป็นการหมุน มีลักษณะเป็นเพลาขับ โดยจะมีส่วนที่เรียกว่าข้อเหวี่ยง (crankpin) อยู่ 1 จุดหรือมากกว่าขึ้นอยู่กับจำนวนสูบของเครื่องยนต์[1] ข้อเหวี่ยงเหล่านี้จะเชื่อมต่อกับลูกสูบผ่านก้านสูบ (connecting rod)[2]

ข้อเหวี่ยงเรียกอีกอย่างว่า ข้อก้าน (rod bearing journals) ซึ่งข้อเหล่านี้จะหมุนอยู่ภายในปลายด้านใหญ่ของก้านสูบ

เพลาข้อเหวี่ยงส่วนใหญ่ในเครื่องยนต์สมัยใหม่จะอยู่ภายในเสื้อสูบ นิยมทำจากเหล็กกล้าหรือเหล็กหล่อ โดยใช้กระบวนการตี การหล่อ หรือการกลึง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "How the crankshaft works – All the details". How a Car Works (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 27 August 2022.
  2. "Definition of CRANKSHAFT". Merriam-Webster Dictionary (ภาษาอังกฤษ).