ข้ามไปเนื้อหา

เพลงสุดท้าย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพลงสุดท้าย
กำกับพิศาล อัครเศรณี
เขียนบทวรรณิศา
นักแสดงนำพ.ศ. 2528
สมหญิง ดาวราย
บิณฑ์ บันลือฤทธิ์
วรรณิศา ศรีวิเชียร
จิระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา
ชลิต เฟื่องอารมณ์
เหี่ยวฟ้า
สมชาติ ลาละการ
พ.ศ. 2549
อารยา อริยะวัฒนา
วชรกรณ์ ไวยศิลป์
นิรุตติ์ ศิริจรรยา
สุมนต์รัตน์ วัฒนาเศลารัตต์
ปิยะ เศวตพิกุล
อำพล รัตน์วงศ์
โก๊ะตี๋ อารามบอย
เหี่ยวฟ้า
ผู้จัดจำหน่ายอัครเศรณีโปรดักชั่น (2528)
สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล , พระนครฟิล์ม (2549)
วันฉาย8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528
15 มิถุนายน พ.ศ. 2549
ความยาว100 นาที (2549)
ภาษาไทย
ต่อจากนี้รักทรมาน/เพลงสุดท้าย ภาค 2 (2530)
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

เพลงสุดท้าย เป็นภาพยนตร์ไทย จากบทประพันธ์เรื่องของ วรรณิศา กำกับโดย พิศาล อัครเศรณี เข้าฉายเมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 นำแสดงโดย สาวประเภทสอง "สมหญิง ดาวราย" นางโชว์ดาวเด่นชื่อดังจากทิฟฟานีโชว์ พัทยา ร่วมกับ บิณฑ์ บันลือฤทธิ์, วรรณิศา ศรีวิเชียร,จิระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา ,ชลิต เฟื่องอารมย์ และ เหี่ยวฟ้า

เพลงประกอบชื่อ เพลงสุดท้าย ร้องโดย สุดา ชื่นบาน (แทนเสียง สมหญิง ดาวราย) ประสบความสำเร็จอย่างสูงเช่นเดียวกับภาพยนตร์ จนมีภาคสอง ชื่อ รักทรมาน นำแสดงโดย สมหญิง อีกครั้ง ในบท สมนึก น้องชายของสมหญิงที่ตายไป กลับไปล่อลวงให้พระเอกต้องผิดหวังบ้าง ออกฉายเมื่อ พ.ศ. 2530

ต่อมาสร้างภาคแรกใหม่อีกครั้ง เข้าฉายเมื่อ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2549 นำแสดงโดย ไอศวรรยา อริยะวัฒนา, วชรกรณ์ ไวยศิลป์, นิรุตต์ ศิริจรรยา, สุมนต์รัตน์ วัฒนาเศลารัตต์, โก๊ะตี๋ อารามบอย และ เหี่ยวฟ้า

เรื่องราวของ สาวประเภทสอง ที่ผิดหวังในความรักจากชายหนุ่ม และเธอได้เลือกที่จะจบชีวิตลงบนเวทีที่ทำให้เธอเกิดในโลกของการแสดง ด้วยบทเพลงสุดท้ายของชีวิต

เรื่องย่อ ภาพยนตร์ พ.ศ. 2528

[แก้]

เรื่องย่อ ภาพยนตร์ พ.ศ. 2549

[แก้]

สมหญิง ดาวราย สาวประเภทสองที่ได้รับการยกย่องให้เป็นนักแสดงคาบาเร่ต์ดาวเด่นของ ทิฟฟานี่โชว์ที่พัทยา เนื่องจากเธอเพียบพร้อมไปด้วยคุณสมบัติที่มากกว่า นางโชว์ คนหนึ่งพึงจะมี ไม่ว่าจะเป็นหน้าตาท่าทาง กิริยามารยาทที่เป็นกุลสตรีทุกด้าน รวมถึงลีลาการแสดงในรูปแบบต่าง ๆ ที่ออกมาจากจิตวิญญาณอย่างแท้จริง สมหญิงมี มีความคิดฝังแน่นว่า ความรัก จะไม่มีวันเกิดขึ้นกับจิตใจของเธอเป็นอันขาด เพราะตัวอย่างชีวิตรักของเพศที่สามสอนให้สมหญิงได้เรียนรู้ว่า “ไม่มีรักแท้สำหรับเพศสีม่วง” นอกเสียจากความเจ็บปวดขื่นขมและผิดหวังเพียงอย่างเดียว เฉกเช่นชีวิตรัก ของ “ ประเทือง ” (ซ้อเทือง) กะเทยรุ่นใหญ่ เจ้าของทิฟฟานี่โชว์ ที่แม้จะสมบูรณ์พูนพร้อมไปเสียทุกอย่าง แต่ก็ยังไม่วายต้องทุรนทุรายเกือบตายเพราะความรัก เมื่อ บดินทร์ นักร้องหนุ่มหน้าม่าน ที่ซ้อเทืองเลี้ยงไว้ผละหนีจากอกช้ำ ๆ หลังจากได้กอบโกยทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาปรารถนาแล้ว บุญเติม นักร้องหนุ่มคนใหม่ของทิฟฟานี่โชว์ ได้รับการต้อนรับจากคนดูและเพื่อนร่วมคณะเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสมหญิงที่เห็นแววความสามารถของบุญเติม และเป็นผู้ชักชวนให้มาทำงานนี้ สมหญิงได้ให้ ความช่วยเหลือทุกอย่างแก่บุญเติมอดีตช่างซ่อมรถด้วยความเต็มใจอย่างยิ่ง เพราะเห็นว่าบุญเติมต้องทำงานส่งเสียตัวเองเรียนด้วย เป็นเหตุให้ซ้อเทืองและเพื่อนนางโชว์เริ่มซุบซิบกันว่า บุญเติมได้เข้ามาทำลาย ” เขื่อนกั้นหัวใจของสมหญิงลงแล้ว

แต่แล้วเมื่อ แม่อันเป็นที่รักและจุดยึดเหนี่ยวจิตใจของสมหญิงต้องมาเสียชีวิตลงอย่างไม่ คาดคิด แหล่งพักพิงหัวใจที่บอบช้ำของสมหญิงจึงอยู่ที่บุญเติมเรื่อยมา จนสุดท้ายสมหญิงแยกไม่ออกว่าหัวใจของตัวเองนั้นหลงรักบุญเติมมากน้อยเพียงใด วันเวลาผ่านไปก็ยิ่งทำให้บุญเติมกับสมหญิงคือ เงาตามตัวของกันและกัน แต่แทนที่เพื่อน ๆ นางโชว์จะดีใจไปกับสมหญิง ทุกคนกลับให้ความเป็นห่วง โดยเฉพาะซ้อเทืองที่เป็นห่วงสมหญิงมากกว่าใคร เพราะจากสมหญิงที่เคยร่าเริงคบหาสมาคมกับเพื่อน ๆ กลับกลายเป็นสมหญิงที่เฝ้ารอนับวันเวลาอย่างไร้จุดหมาย เมื่อบุญเติมต้องไปเรียนหรือไปค้างกับเพื่อน ๆ นักศึกษาที่กรุงเทพฯ

ในวันนั้น แม้ ว่าสมหญิงจะภาวนาให้มันเป็นเพียงฝันร้าย แต่มันก็คือความจริง...ความจริงอันแสนเจ็บปวด เมื่อบุญเติมเกี่ยวก้อย อรทัย น้องสาวสุดที่รักของสมหญิง มาสารภาพกับเธอว่า ทั้งสองมีความรักแท้ต่อกันและต้องการที่จะเดินทางไปเรียนหนังสือที่เมืองนอก ด้วยกัน สมหญิงเจ็บปวดรวดร้าว และต้องจำยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นต่อหน้าอย่างสุดแสนทรมาน โดยขอให้บุญเติม กลับมาเป็นเหมือนเดิม แต่บุญเติม ยืนยันที่จะไปเรียนต่อเมืองนอก สุดท้าย สมหญิงได้ส่งสร้อยคอที่บุญเติมซื้อให้คืนให้ทางจดหมาย โดย สมหญิงเคยพูดไว้เป็นปริศนาว่า ถ้าเมื่อใดที่สร้อยเส้นนี้หลุดออกจากคอ คือวันตายของเธอ บุญเติมคิดได้ จึงรีบขับรถไปหาสมหญิง แต่ไม่ทัน สมหญิง ได้ฆ่าตัวตาย ไปพร้อมการการแสดงบนเวทีของสมหญิงให้เรื่อง เพลงสุดท้าย

นักแสดงหลัก

[แก้]

ภาพยนตร์ไทย พ.ศ. 2528

[แก้]

ภาพยนตร์ไทย พ.ศ. 2549

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]