ข้ามไปเนื้อหา

เฉิงตู เจ-20

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฉิงตู เจ-20
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทเครื่องบินขับไล่ล่องหนหลากบทบาท
ชาติกำเนิด จีน
บริษัทผู้ผลิตเฉิงตู แอร์คราฟท์ อินดัสทรี กรุ๊ป (CAC)
สถานะประจำการ
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศกองทัพปลดปล่อยประชาชน
จำนวนที่ผลิต8 (ต้นแบบ) 20+ ล็อตการผลิตแรก[1]
ประวัติ
เริ่มใช้งานมีนาคม พ.ศ. 2560
เที่ยวบินแรกมกราคม พ.ศ. 2554

เฉิงตู เจ-20 (อังกฤษ: Chengdu J-20) เดิมอยู่ในชื่อโครงการ J-XX ซึ่งริเริ่มในทศวรรษที่ 1990 เริ่มทำการทดสอบการบินในช่วงปลายปี 2010 เริ่มเข้าประจำการในกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนในเดือนมีนาคม 2017 โดยจะเป็นเครื่องบินขับไล่หลากบทบาท เช่นเดียวกับ เอฟ-35 ของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา

เจ-20 เป็นเครื่องบินรบในยุคที่ 5 ที่มีเทคโนโลยีล่องหน (Stealth) เช่นเดียวกับ เอฟ-22 แร็พเตอร์,เอฟ-35 ไลท์นิ่ง 2 ของสหรัฐอเมริกา และ ซุคฮอย ที-50 ของรัสเซีย โดย เจ-20 จะสามารถบรรทุกอาวุธและเชื้อเพลิงได้มากกว่า เอฟ-22 พิสัยทำการและจำนวนอาวุธจึงมีมากกว่าเครื่อง เอฟ-22 ทำให้ภารกิจของเครื่องบิน เจ-20 มีความหลากหลายมากกว่าไปตามความสามารถในการบรรทุกที่มากกว่าและพิสัยการบินที่ไกลกว่า

เจ-20 พัฒนาโดยบริษัท เฉิงตู แอร์คราฟท์ อินดัสทรี กรุ๊ป (อังกฤษ: Chengdu Aircraft Industry Group) (CAC) โครงสร้างยานมีความคล้ายคลึงกับ เอฟ-35 ค่อนข้างมากขณะที่ขนาดลำตัวมีขนาดใหญ่กว่า เอฟ-22 ไม่มาก ใช้เครื่องยนต์แบบ Saturn117s ที่ผลิตในรัสเซียจำนวน 2 เครื่อง และระบบเรดาห์เป็นแบบ Active Electronically Scanned Array (AESA)

รายละเอียด เฉิงตู เจ-20

[แก้]
  • ลูกเรือ 1 นาย
  • ความยาว 21.2 เมตร
  • ความยาวจากปลายปีกหนึ่งสู่อีกปลายหนึ่ง 13.01 เมตร
  • ความสูง 4.69 เมตร
  • พื้นที่ปีก 73 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 17,000 กิโลกรัม
  • น้ำหนักพร้อมอาวุธ 25,000 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 37,000 กิโลกรัม
  • ความจุเชื้อเพลิง 12,000 กิโลกรัม
  • เครื่องยนต์ 2 เครื่องยนต์ของFWS-10 และ AL-31F และ 2 เครื่องยนต์ของ WS-15 (อยู่ในระหว่างการพัฒนา)
  • ความเร็วสูงสุด 2,450 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • พิสัยทำการ 5,500 กิโมเมตร พร้อมถังเชื้อเพลิงภายนอก 2 ถัง
  • รัศมีทำการรบ 2,200 กิโลเมตร
  • เพดานบินปกติ 20,000 เมตร
  • g limits ​+9/-3
  • อัตราแรงขับต่อน้ำหนัก 0.92

เครื่องบินที่เทียบเท่า

[แก้]
  1. "6th J-20 Stealth Fighter Rolls Out". Popular science. 2014-12-23. สืบค้นเมื่อ 2014-12-24.