ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าหญิงดีนา บินต์ อับดุลฮะมีด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เจ้าหญิงดีนา บินต์ อับดุลฮะมีด (อาหรับ: دينا بنت عبد الحميد; ประสูติ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2472 สิ้นพระชนม์ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562) เป็นอดีตพระบรมราชินีและพระอัครมเหสีพระองค์แรกในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน เป็นพระมารดาในเจ้าหญิงอิลา บินต์ ฮุซัยน์

เจ้าหญิงดีนา บินต์ อับดุลฮะมีด
ชารีฟา
เจ้าหญิงดีน่าในปีพ.ศ. 2493
สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน
ดำรงพระยศ19 เมษายน พ.ศ. 2498 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2500 (2 ปี 66 วัน)
ก่อนหน้าสมเด็จพระราชินีไซน์
ถัดไปสมเด็จพระราชินีอาลียา
ประสูติ15 ธันวาคม พ.ศ. 2472
กรุงไคโร, ประเทศอียิปต์
ชารีฟาดีน่า บินต์ อับดุลฮะมีด
สิ้นพระชนม์21 สิงหาคม พ.ศ. 2562 (89 ปี)
กรุงอัมมาน, ประเทศจอร์แดน
ฝังพระศพพระราชวังรักฮาดาน
พระสวามี
พระบุตรเจ้าหญิงอิลา
ราชวงศ์ฮัชไมต์ (อภิเษกสมรส)
พระบิดาชารีฟอับดุลฮะมีด บิน มุฮัมมัด อับดุลอะซีซ อัลเอาน์
พระมารดานางฟะฮ์รียะฮ์ บะรอฟ
ศาสนาศาสนาอิสลาม

พระประวัติ

[แก้]

พระชนม์ชีพในวัยเยาว์

[แก้]

เจ้าหญิงดีน่า บินต์ อับดุลฮะมีดแห่งจอร์แดน ประสูติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2472 เป็นธิดาของชารีฟอับดุลฮะมีด บิน มุฮัมมัด อับดุลอะซีซ อัลเอาน์ กับนางฟะฮ์รียะฮ์ บะรอฟ[1] มีพระนามเดิมว่า ชารีฟาดีน่า บินต์ อับดุลฮะมีด ครอบครัวของพระองค์เป็นสมาชิกแห่งราชสกุลฮาชิม (ราชวงศ์ฮัชไมต์) ดังนั้นพระองค์จึงทรงมีสิทธิ์ในการใช้พระบรรดาศักดิ์ ชารีฟาแห่งเมกกะ ในฐานะที่ทรงเป็นลูกหลานของผู้สืบเชื้อสายจากฮะซัน อิบน์ อะลี ผู้เป็นหลานชายในศาสดามุฮัมมัด เจ้าหญิงดีน่ายังทรงเป็นพระญาติชั้นที่สามของสมเด็จพระเจ้าเฏาะลาลแห่งจอร์แดน พระสสุระ (พ่อสามี)ในอนาคตของพระองค์ นอกจากนี้ พระองค์ทรงสืบเชื้อสายมาจากตระกูลผู้ดีชั้นสูงของอียิปต์ ผ่านทางพระชนนี[2]

การศึกษา

[แก้]

เช่นเดียวกับบุตร - ธิดาคนอื่นๆของผู้ดีชนชั้นสูงอาหรับ เจ้าหญิงดีน่าทรงถูกส่งไปศึกษาต่อยังโรงเรียนประจำในประเทศอังกฤษ ต่อมาพระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาวรรณคดีอังกฤษจากวิทยาลัยเกอร์ตัน มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และสาขาสังคมศาสตร์จากวิทยาลัยเบดฟอร์ด กรุงลอนดอน[3]

การทำงาน

[แก้]

หลังจากทรงสำเร็จการศึกษา พระองค์ทรงสอนวรรณคดีและปรัชญาภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยไคโร ประเทศอียิปต์ ในขณะที่ทรงพำนักอยู่ในเขตชานเมืองที่ร่ำรวยกับพระชนกและพระชนนีของพระองค์[3] เจ้าหญิงดีน่าทรงมีพระสิริโฉมที่งดงาม ทรงมีการศึกษาระดับสูงและมีพระจริยวัตรที่ซับซ้อน พระองค์ทรงเป็นที่ชื่นชอบของคณะผู้ติดตามและเหล่าพระสหายของพระองค์หลายคน[4][5]

สมเด็จพระราชินี

[แก้]

อภิเษกสมรส

[แก้]
สมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์และสมเด็จพระราชินีดีน่าในวันพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2498

เจ้าหญิงดีน่ามีพระปฏิสันถารครั้งแรกกับสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน พระญาติห่างๆของพระองค์ ในปีพ.ศ. 2495 ณ กรุงลอนดอนที่บ้านของพระญาติจากอิรัก สมเด็จพระราชาธิบดีขณะนั้นยังทรงศึกษาอยู่ที่โรงเรียนฮาร์โรว์ ในขณะที่พระองค์ทรงกำลังศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยเกอร์ตัน มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และทรงกำลังศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์และทรงได้รับเกียรตินิยม[2][6] หลังจากทรงสำเร็จการศึกษาพระองค์เสด็จไปที่อียิปต์ซึ่งสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงพบพระองค์ที่เมืองมาดิหลังจากนั้น

ในปีพ.ศ. 2497 สมเด็จพระราชินีไซน์ พระราชชนนีในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ ผู้ทรงมีอิทธิพลสำคัญในช่วงต้นรัชกาลได้ทรงประกาศการหมั้นระหว่างสมเด็จพระราชาธิบดีและชารีฟาดีน่า บินต์ อับดุลฮะมีด การจับคู่กันของทั้งสองพระองค์ครั้งนี้ถือว่าสมบูรณ์แบบเนื่องจากเจ้าหญิงดีน่าทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งราชวงศ์ฮัชไมต์พระองค์หนึ่ง และทรงได้รับการศึกษาที่ดีที่สุดจากตะวันตก[7]

เจ้าหญิงดีน่าทรงเข้าพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระราชวังรักฮาดาน[8] โดยพระองค์ทรงมีพระชันษา 26 ปีและพระราชสวามีทรงมีพระชนมายุ 19 พรรษา[2]

เจ้าหญิงดีน่าทรงได้รับการสถาปนาขึ้นดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน ตามที่ผู้เขียน ไอซิส ฟาฮ์มี ผู้ขอพระราชทานสัมภาษณ์เจ้าหญิงดีน่าต่อหน้าพระพักต์พระราชสวามีของพระองค์ในวันอภิเษกสมรส สมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์รับสั่งอย่างชัดเจนว่าสมเด็จพระราชินีจะทรงไม่มีบทบาทใดๆทางการเมือง ซึ่งฟาฮ์มีได้ตั้งข้อสังเกตว่าสมเด็จพระราชาธิบดีทรงมีพระราชดำริที่จะทรงใช้พระราชอำนาจเหนือเจ้าหญิงดีน่าซึ่งมีพระจริยวัตรที่เข้มแข็งและแข็งแกร่ง รวมถึงสมเด็จพระราชินีไซน์ซึ่งทรงพระราชดำริแบบเดียวกันกับพระราชโอรสว่าเจ้าหญิงดีน่าจะทรงเป็นภัยต่อสถานะของพระองค์เองในอนาคต[9]

พระบุตร

[แก้]

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 พระองค์ทรงมีพระประสูติกาลเจ้าหญิงอิลา บินต์ ฮุสเซน พระราชธิดาพระองค์แรกในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดน[2] และเป็นพระบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระองค์

เจ้าหญิงแห่งจอร์แดน

[แก้]

ทรงหย่า

[แก้]

ในปีพ.ศ. 2499 ในขณะที่สมเด็จพระราชินีเสด็จพระราชดำเนินไปประทับพัก ณ ประเทศอียิปต์ สมเด็จพระราชาธิบดีมีพระราชประสงค์ที่จะทรงแยกทางจากพระองค์ สมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์น่าจะทรงทำเช่นนั้นเมื่อทรงได้รับการกระตุ้นจากพระราชชนนีของพระองค์[7] ทั้งสองพระองค์ทรงหย่ากันเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2500 ในช่วงเวลาที่ตึงเครียดระหว่างจอร์แดนและอียิปต์[10] และพระอิสริยยศของพระองค์ที่ถูกลดลงจากสมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดนเหลือเพียง เจ้าหญิงดีน่า อับดุลฮะมีดแห่งจอร์แดน

อดีตสมเด็จพระราชินีทรงไม่ได้รับอนุญาตให้พบกับพระธิดาของพระองค์ในบางครั้งหลังจากทรงหย่า[2]

เสกสมรสครั้งที่สอง

[แก้]

วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2513 เจ้าหญิงดีน่าทรงเสกสมรสกับเศาะลาห์ อัตตะอ์มะรี ผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยรบแบบกองโจรปาเลสไตน์ที่ได้กลายเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงในองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ แต่เขากลับถูกกักขังโดยชาวอิสราเอลในปีพ.ศ. 2525[11] ในปีต่อมาเจ้าหญิงดีน่าได้ทรงเจรจาแลกเปลี่ยนนักโทษที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์โดยปล่อยตัวพระสวามีของพระองค์และนักโทษอีก 8,000 คน[12]

สิ้นพระชนม์

[แก้]

เจ้าหญิงดีนา บินต์ อับดุลฮะมีด สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ณ กรุงอัมมาน สิริพระชันษา 89 ปี[13]

พระเกียรติยศ

[แก้]

พระอิสริยยศ

[แก้]

ชารีฟาดีน่า บินต์ อับดุลฮะมีด (15 ธันวาคม พ.ศ. 2472 – 19 เมษายน พ.ศ. 2498)

เฮอร์มาเจสตี้ สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน (19 เมษายน พ.ศ. 2498 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2500)

เฮอร์รอยัลไฮเนส เจ้าหญิงดีน่า อับดุลฮะมีดแห่งจอร์แดน (24 มิถุนายน พ.ศ. 2500 – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2513)

เจ้าหญิงดีน่า อับดุลฮะมีดแห่งจอร์แดน (7 ตุลาคม พ.ศ. 2513 – 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จอร์แดน

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า เจ้าหญิงดีนา บินต์ อับดุลฮะมีด ถัดไป
สมเด็จพระราชินีไซน์ อัล-ชาราฟ เฏาะลาลแห่งจอร์แดน
สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน
(2498 - 2500)
เจ้าหญิงมูนา อัลฮุซัยน์

อ้างอิง

[แก้]

[16] [17] [18] [19]

  1. Royal Ark
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Queen Dina". Cairo Times. 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2010. สืบค้นเมื่อ 1 October 2010.
  3. 3.0 3.1 Shlaim, p. 179-83
  4. Fahmy, Isis (2003). Around the World with Isis. Papadakis Publisher. p. 65. ISBN 9781901092493.
  5. King Hussein, Princess Dina and Princess Alia
  6. Great Britain and the East, Volume 71. 1955.
  7. 7.0 7.1 Dann, Uriel (1991). King Hussein and the Challenge of Arab Radicalism. Oxford University Press. p. 22. ISBN 0195361210.
  8. Paxton, J. (2016). The Statesman's Year-Book 1982-83 (ภาษาอังกฤษ). Springer. p. 752. ISBN 9780230271111.
  9. Fahmy, Isis (2006). Around the World with Isis. Papadakis Publisher. ISBN 1-901092-49-6.
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Sinai
  11. Greenberg, Joel (1996). "A Victory That Nips at Arafat's Heels". Cairo Times. สืบค้นเมื่อ 1 October 2010.
  12. Kanafani, Deborah (2008). Unveiled: how an American woman found her way through politics, love and obedience in the Middle East. USA: Free Press. ISBN 978-0-7432-9183-5.
  13. "Royal News". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-21. สืบค้นเมื่อ 2020-05-19.
  14. 14.0 14.1 Royal Ark
  15. Boletín Oficial del Estado
  16. "Queen Dina". Cairo Times. 1999. Archived from the original on 21 September 2010. Retrieved 1 October 2010.
  17. Fahmy, Isis (2003). Around the World with Isis. Papadakis Publisher. p. 65. ISBN 9781901092493.
  18. Dann, Uriel (1991). King Hussein and the Challenge of Arab Radicalism. Oxford University Press. p. 22. ISBN 0195361210.
  19. Sinai, Anne (1977). The Hashemite Kingdom of Jordan and the West Bank: a handbook. USA: American Academic Association for Peace in the Middle East. ISBN 0-917158-01-6.