ข้ามไปเนื้อหา

เขตชูคา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตชูคา

ཆུ་ཁ་རྫོང་ཁག (ซองคา)
เขต
แผนที่แสดงเขตชูคาในภูฏาน
แผนที่แสดงเขตชูคาในภูฏาน
ประเทศ ภูฏาน
เมืองเอกพันท์โชลลิง
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,991 ตร.กม. (769 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2005)
 • ทั้งหมด74,387 คน
 • ความหนาแน่น37 คน/ตร.กม. (97 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+6 (BTT)
ทิวทัศน์เมืองในเขตชูคา
เมืองเอกพันท์โชลลิง

เขตชูคา (ซองคา: ཆུ་ཁ་རྫོང་ཁག་) เป็นหนึ่งใน 20 เขตของประเทศภูฏาน มีเมืองเอกคือ พันท์โชลลิง ซึ่งเป็นประตูเชื่อมระหว่างอินเดียและภาคตะวันตกของภูฏาน ชูคาเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการเงินของภูฏาน เป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศ เป็นที่ตั้งของสถานีไฟฟ้าพลังงานน้ำและเขื่อนทาลา ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และเป็นเขตที่มีมูลค่า GDP สูงที่สุดในประเทศ อีกทั้งยังมีโรงงานอุตสาหกรรมที่เก่าแก่ที่สุดหลายแห่ง อาทิ บริษัท Bhutan Carbide Chemical จำกัด (BCCL) และ บริษัท Bhutan Boards Products จำกัด (BBPL)

ภาษา

[แก้]

ภาษาหลักที่ใช้ในการสื่อสารคือ ภาษาซองคา ซึ่งพูดโดยชาวงาลอบที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือ และชาวชาร์คอปที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของเขต ส่วนภาษา Lhokpu จะใช้ในกลุ่มชาว Lhop ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยบริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของชูคาตามแนวเขตแดนกับเขตซัมชิ

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

เขตชูคาประกอบด้วย 11 เขต หรือ gewog[1]

  • Bjacho Gewog
  • Bongo Gewog
  • Chapcha Gewog
  • Dala Gewog
  • Dungna Gewog
  • Geling Gewog
  • Getena Gewog
  • Logchina Gewog
  • Metakha Gewog
  • Phuentsholing Gewog
  • Sampheling Gewog

สิ่งแวดล้อม

[แก้]

สภาพแวดล้อมในชูคาค่อนข้างแตกต่างจากเขตอื่นๆ เพราะตามแนวเขตแดนกับเขตซัมชินั้นไม่ได้ถูกจัดอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวน ถึงแม้ว่าพื้นที่ทางภาตใต้ของภูฏานส่วนใหญ่จะเป็นป่าสงวนก็ตาม แต่ในช่วงปี ค.ศ. 1960 พื้นที่ป่าสงวนเหล่านั้นมีการบุกรุกเพิ่มมากขึ้นไม่สามารถควบคุมได้ [2][3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Chiwogs in Chukha" (PDF). คณะกรรมการการเลือกตั้ง, รัฐบาลภูฏาน. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-02. สืบค้นเมื่อ 2011-07-28.
  2. "Parks of Bhutan". Bhutan Trust Fund for Environmental Conservation online. Bhutan Trust Fund. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-02. สืบค้นเมื่อ 2011-03-26.
  3. "The Organisation". Bhutan Trust Fund for Environmental Conservation online. Bhutan Trust Fund. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-29. สืบค้นเมื่อ 2011-03-26.