ข้ามไปเนื้อหา

ฮายไลน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฮไลน์

ฮายไลน์ (มหานครนิวยอร์ก) (อังกฤษ: High Line (New York City)) เป็นสวนสาธารณะ 1.45-ไมล์ (2.33 กิโลเมตร) ในนิวยอร์ก ส่วนของทางรถไฟเดิมบรรทุกสูงของ เวสไซด์ไลน์ (West Side Line) พร้อมด้านตะวันตกล่างของแมนฮัตตันซึ่งได้รับการออกแบบและปลูกเป็นทางสีเขียว High Line เริ่มจากเดิมที่ถนนไฟรท์ยาร์ด 34 (Freightyard 34 Street) ใกล้ศูนย์ประชุมจาวิต (Javits Convention Center) ผ่านแถวของเชลซีเพื่อไปยังถนนกานเซวูท (Gansevoort Street) ในอำเภอเวสวิลเลจ (West Village) ฮายไลน์เดิมถูกสร้างขึ้นในต้นปี ค.ศ.1930 โดยศูนย์กลางทางรถไฟของนิวยอร์กเพื่อลดอุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดขึ้นตามถนนให้เหมาะสมกับระดับของทางและเพื่อใช้เป็นคลังสินค้าบริการรถบรรทุกของอาคารห้องปฏิบัติการเบลล์ (ปัจจุบันเป็นศิลปะชุมชนเวสเบธ (Westbeth )และโรงงาน Nabisco (ปัจจุบันเป็นตลาดเชลซี) ที่ได้รับบริการจากจุดรางแยกจอดรางรถไฟของสะพานและถูกใช้งานถึงปี ค.ศ. 1980

ใน ค.ศ. 1990 ทางรถไฟแห่งนี้ได้กลายเป็นที่รู้จักของเหล่านักสำรวจและนักผังเมืองรวมถึงชุมชนผู้อยู่อาศัยได้พบหญ้า พันธ์ุพืชชนิดหยาบ รวมทั้งไม้ดอกและต้นไม้ที่ผุดโตขึ้นมาตามรางรถไฟที่ถูกทิ้งร้าง โดยปี ค.ศ. 1999 เหล่าชุมชนได้ร่วมมือกันพัฒนาทางเดินสาธารณะใหม่ให้กับ High Line โดยเริ่มมีงบประมาณจัดสรรขึ้นในปี ค.ศ. 2004 โดยมีนายกเทศมนตรีของนิวยอร์กชื่อ Michael Bloomberg เป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญ ส่วนใต้ของ High Line ได้เปิดให้บริการขึ้นเป็นส่วนแรกเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 2009 โดยที่ส่วนกลางของทางยังอยู่ระหว่างการจัดแต่งและตรงส่วนเหนือยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะจัดการกับมันอย่างไร โดยที่ยังเป็นที่ถกเถียงระหว่างมหานครนิวยอร์กกับกรมการขนส่งนิวยอร์ก (MTA)

การพัฒนาขึ้นใหม่

[แก้]

ก่อนที่จะถูกปรับปรุงให้เป็นสวนสาธารณะ รางรถไฟสายนี้อยู่ในสภาพที่เกินจะเยียวยา ถึงแม้ยังมีโครงสร้างเหล็กคงเหลืออยู่ แต่พื้นที่ของรางนั้นได้ถูกปกคลุมไปด้วยเหล่าพืชพันธ์ต่างๆ หญ้ารก และต้นไม้ชนิดต่างๆ ตลอดสาย จนทำให้ถูกนาย Rudy Giuliani นายกเทศมนตรีของนิวยอร์กพิจารณาให้รื้อทิ้ง

ในปี ค.ศ. 1999 ประชากรผู้อยู่อาศัยในละแวกนั้นชื่อนายโรเบิร์ต แฮมมอนต์ กับนายโจชัว เดวิด รวมกลุ่มกับเพื่อนผู้พิทักษ์ High Line[1] เพื่อเป็นพลังผลักดันความคิดให้เปลี่ยน High Line เป็นทางสีเขียว หรือสวนสาธารณะยกระดับคล้ายกับ Promenade Plantée ของกรุง Paris

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2004 รัฐบาลของนิวยอร์กมุ่งมั่นให้เงินทุน 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อสร้างสวนสาธารณะโดยเสนอเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 2005 สหพันธ์การขนส่งของสหรัฐอเมริกาได้ตั้งคณะกรรมการออกใบรับรองการใช้ทางโดยอนุญาตให้แยกสาย High Line ออกจากระบบของทางเดินรถไฟเมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 2006 โดยมีนายกเทศมนตรี Michael Bloomberg เป็นประธานในพิธีทำเครื่องหมายเริ่มต้นการก่อสร้าง

โครงการนี้กำลังดำเนินการโดยบริษัทภูมิสถาปัตย์ที่ตั้งใน New York ของ James Corner Field Operations ร่วมกับ Piet Oudolf จากเนเธอร์แลนด์เป็นผู้ให้คำแนะนำในการเลือกใช้พันธ์ุพืช รวมกับสถาปนิกชื่อ Diller Scofidio กับ Renfro และยังได้รับความช่วยเหลือจาก Diane von Furstenberg สามีของเธอ Barry Diller รวมทั้งลูกๆ ของพวกเขา คุณ Alexander von Furstenberg คุณ Tatiana von Furstenberg และคุณ Philip Falcone ตลอดจนนายทุนนักพัฒนาโรงแรม คุณ Andre Balazs เจ้าของคฤหาสน์ Marmont ใน Los Angeles ก็ได้ร่วมสร้างโรงแรมระดับมาตรฐาน 337 ห้องไว้ที่ West 13 Street เทียบข้างกับทางสาย High Line [2]

ส่วนทางเดินส่วนใต้ของสวนสาธารณะ High Line นั้น เริ่มจากถนน Gansevoort ถึงถนนที่ 20 (20th Street) ถูกเปิดให้บริการแก่เป็นสาธารณะ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 2009 โดยทางส่วนใต้ของ High Line นี้ ประกอบไปด้วย บันได 5 แห่ง และลิฟท์เสริมอีกสองแห่งที่ ถนนที่ 16 (16th Street) กับถนนที่ 14 (14th Street) โดยลิฟท์นั้นถูกเปิดใช้งานในช่วงเดือนกรกฎาคมของปี ค.ศ. 2009

สวนแห่งนี้เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาชื่นชมเหล่าพันธ์พืชที่เกิดและโตขึ้นมาเองตามภูมิศาสตร์ของรางรถไฟที่ถูกทิ้งร้าง[3] โดยนักเที่ยวเหล่านั้นสามารถมองเห็นภาพทิวทัศน์ใหม่ แปลกตา และไม่คาดฝันอย่างวิวภาพแม่น้ำฮัดสัน (Hudson River) ทางเดินกรวดสลับคอนกรีตนั้นใช้เพื่อเชื่อมให้ทางเดินเป็นส่วนเดียวกับราง โดยใช้จังหวะของการเพิ่มและหด การสวิงและสลับจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งนึง รวมถึงการแบ่งเส้นคอนกรีตเชื่อมกับฮาร์ดสเคปที่มีการปลูกหญ้าเป็นฟอร์มขึ้นมา ดอกเลียทริส (Liatris) และดอกโคนฟลาวเวอร์ (Coneflower) โดยมีไม้พุ่มขึ้นมาแซมเล็กเล็กน้อย แต่ไม่ได้จำกัดไว้ว่ามีแต่ไม้พื้นเมืองของอเมริกา ตรงส่วนท้ายของ High Line ที่ฝั่ง Gansevoort มีป่าต้นเบิช (Birch) ขึ้นมาอย่างหลากหลาย ซึ่งป่าพวกนี้สามารถให้ร่มเงาได้ในช่วงบ่ายแก่ๆ และยังมีม้านั่งที่สร้างมาจากไม้ Ipe นำเข้ามาจากป่าที่ปลูกโดยกลุ่ม Forest Stewardship Council เพื่อเพิ่มความยั่งยืนให้แก่การใช้งาน รวมทั้งอนุรักษ์ระบบชีววิทยาที่หลากหลาย แหล่งน้ำ และระบบนิเวศน์ที่บอบบาง[4]

สวนสาธารณะแห่งนี้จะต่อเติมขึ้นมาจากด้านเหนือของ Gansevoort Street ลงมาถึงถนนที่ 30 (30th Street) โดยรางยกระดับจะเลี้ยวเข้าด้านตะวันตกอ้อมไปทางโปรเจกต์พัฒนาสนามของฮัดสัน (the Hudson Yards Development Project)[5] เพื่อไปยังศูน์ประชุมจาวิทส์ (Javits Convention Center) บนถนนที่ 34 (34th Street) แต่ในปัจจุบันนี้ ส่วนที่เหนือที่สุดของโครงงานจากถนนที่ 30 (30th Street) ถึงถนนที่ 34 (34th Street) นั้นยังถูกครอบครองโดยบริษัททางรถไฟ CSX อยู่

นายกเทศมนตรี Bloomberg ได้แถลงเอาไว้ว่าโปรเจกต์ High Line นั้นได้เป็นแรงผลักดันและเป็นจุดกำเนิดใหม่ของโครงการอื่นๆ ในละแวก โดยในปี ค.ศ. 2009 ได้มีโครงการอีก 30 โครงการเกิดขึ้นและอยู่ภายใต้การก่อสร้างในสถานที่บริเวณที่ใกล้เคียง [6]

พิพิธภัณฑสถาน

[แก้]

The Dia Art Foundation ได้พิจารณาแต่ปฏิเสธการเสนอสร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้นที่ถนน Gansevoortc แต่มี The Whitney Museum วางแผนที่จะสร้างขึ้นบนไซต์จากแบบดีไซน์ของ Renzo Piano แทนที่จะต่อเติมจากตึกเดิมในเมือง[7]

ในวรรณกรรม

[แก้]
  • In Walking the High Line (ISBN 978-3882437263) ช่างภาพชื่อ Joel Sternfeld ได้จัดเก็บสภาพของไม้ดอกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติระหว่างปี ค.ศ. 2000 และปี ค.ศ. 2001 ของ High Line ไว้ ในหนังสือเล่มนี้ยังมีเรียงความของ Adam Gopnik กับ John R. Stilgoe อยู่อีกด้วย[8]
  • The High Line is discussed in [[Al
  • สาย High Line ยังถูกกล่าวถึงใน Alan Weisman's The World Without Us โดยใช้เป็นตัวอย่างของการเกิดขึ้นมาใหม่ของธรรมชาติในพื้นที่ที่ถูกทอดทิ้งให้รกร้าง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "High Line History". Friends of the High Line. สืบค้นเมื่อ 2009-08-02.
  2. Ouroussoff, Nicolai (April 8, 2009). "Industrial Sleek (a Park Runs Through It)". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2009-04-09.
  3. "Planting Design". Friends of the High Line. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-02. สืบค้นเมื่อ 2009-08-02.
  4. "Wood on the High Line". Friends of the High Line. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-28. สืบค้นเมื่อ 2009-08-02.
  5. Topousis, Tom (December 8, 2006). "Rail Shot at Prosperity". New York Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-22. สืบค้นเมื่อ 2009-08-02.
  6. Poegrebin, Robin (June 8, 2009). "First Phase of High Line Is Ready for Strolling". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2009-07-08.
  7. Vogel, Carol (October 25, 2006). "Dia Art Foundation Calls Off Museum Project". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2009-07-08.
  8. Sternfeld, Joel; Stilgoe, John R.; Gopnik, Adam (2001). Walking the High Line. New York: Steidl/Pace/MacGill Gallery. ISBN 978-3882437263.