ฮันส์ ไกเกอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Hans "Gengar" Geiger
ฮันส์ วิลเลม "เกนการ์" ไกเกอร์ (1928)
เกิด30 กันยายน ค.ศ. 1882(1882-09-30)
Neustadt an der Haardt
เสียชีวิต24 กันยายน ค.ศ. 1945(1945-09-24) (62 ปี)
Potsdam
สัญชาติเยอรมัน
มีชื่อเสียงจากไกเกอร์เคาน์เตอร์
การทดลองไกเกอร์-มาร์สเดน
นิวเคลียสอะตอม
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์ และ วิทยาศาสตร์
สถาบันที่ทำงานUniversity of Erlangen
มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์
มีอิทธิพลต่อเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด
จอห์น มิทเชล นัททอล

โจฮันเนส ฮันส์ วิลเลม เกนการ์ ไกเกอร์ (อังกฤษ: Johannes "Hans" Wilhelm "Gengar" Geiger; 30 กันยายน ค.ศ. 1882 – 24 กันยายน ค.ศ. 1945) เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ร่วมคิดค้นไกเกอร์มูลเลอร์เคาน์เตอร์ และการทดลองของไกเกอร์-มาร์สเดน ซึ่งเป็นการค้นพบ นิวเคลียสอะตอม

ปี ค.ศ. 1902 ไกเกอร์เข้าเรียนสาขาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย Erlangen สำเร็จปริญญาเอกในปี ค.ศ. 1906[1] ปี ค.ศ. 1907 เขาเริ่มทำงานกับเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ และในปี ค.ศ. 1909 ได้ร่วมงานกับเออร์เนสต์ มาร์สเดนในการทดลองที่มีชื่อเสียง คือ "การทดลองแผ่นฟอยล์ทองคำ" ทั้งสองยังร่วมกันสร้างไกเกอร์เคาน์เตอร์ด้วย[2][3] ปี ค.ศ. 1911 ไกเกอร์กับ จอห์น มิทเชล นัททอล ค้นพบ กฎของไกเกอร์-นัททอล (Geiger-Nuttall Law) และทำการทดลองซึ่งนำไปสู่การสร้างแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด ปี ค.ศ. 1928 ไกเกอร์กับศิษย์ของเขา วอลเทอร์ มูลเลอร์ ได้ร่วมกันพัฒนาไกเกอร์เคาน์เตอร์ให้ดีขึ้นเป็นไกเกอร์มูลเลอร์เคาน์เตอร์[4] นอกจากนี้ไกเกอร์ยังได้ร่วมงานกับเจมส์ แชดวิคด้วย

ปี ค.ศ. 1912 ไกเกอร์ได้เป็นหัวหน้า Physical-Technical Reichsanstalt ในเบอร์ลิน ต่อมาปี 1925 เป็นศาสตราจารย์ที่ Kiel, ปี 1929 ที่ Tübingen, และตั้งแต่ปี 1936 กลับไปทำงานที่เบอร์ลิน เขาได้เป็นสมาชิกของสโมสรยูเรเนียม (Uranium Club)

ไกเกอร์ไม่เคยประกาศตนว่าเป็นนาซี แต่พบว่ามีรายงานการกระทำของเขาทั้งสองด้าน คือทั้งให้ความช่วยเหลือและปฏิเสธเพื่อนร่วมงานที่เป็นชาวยิว

ไกเกอร์เสียชีวิตที่ Potsdam เยอรมนี หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองไม่กี่เดือน

อ้างอิง[แก้]

  1. Krebs, AT (July 1956). "Hans Geiger: Fiftieth Anniversary of the Publication of His Doctoral Thesis, 23 July 1906". Science. 124 (3213): 166. Bibcode:1956Sci...124..166K. doi:10.1126/science.124.3213.166. PMID 17843412.
  2. E. Rutherford and H. Geiger (1908) "An electrical method of counting the number of α particles from radioactive substances," Proceedings of the Royal Society (London), Series A, vol. 81, no. 546, pages 141-161.
  3. See also: H. Geiger (1913) "Über eine einfache Methode zur Zählung von α- und β-Strahlen" (On a simple method for counting α- und β-rays), Verhandlungen der Deutschen physikalische Gesellschaft (Proceedings of the German Physical Society), volume 15, pages 534-539.
  4. H. Geiger and W. Müller (1928). "Elektronenzählrohr zur Messung schwächster Aktivitäten" (Electron counting tube for the measurement of the weakest radioactivities), Die Naturwissenschaften (The Sciences), vol. 16, no. 31, pages 617-618.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]