แบบจำลองรัทเทอร์ฟอร์ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด: อิเล็กตรอน (สีเขียว) และนิวเคลียส (สีแดง)

แบบจำลองรัทเทอร์ฟอร์ด หรือ แบบจำลองอะตอมแบบดาวเคราะห์ (อังกฤษ: Rutherford model) คือแบบจำลองอะตอมที่คิดขึ้นโดยเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด โดยแปลความจากการทดลองของไกเกอร์-มาร์สเดนในปี ค.ศ. 1909 ซึ่งนำไปสู่การวิเคราะห์ปี 1911 ของรัทเทอร์ฟอร์ด ว่า แบบจำลองอะตอมแบบขนมปังลูกเกดของเจ. เจ. ทอมสัน นั้นไม่ถูกต้อง แบบจำลองใหม่ของรัทเทอร์ฟอร์ด[1]สร้างขึ้นจากผลลัพธ์จากการทดลอง มีคุณลักษณะใหม่คือมีประจุที่เกาะกลุ่มกันอย่างหนาแน่นตรงใจกลางภายในพื้นที่ขนาดเล็กมาก ๆ เมื่อเทียบกับส่วนที่เหลือของอะตอม ซึ่งเป็นจุดที่รวมของมวลอะตอมเกือบทั้งหมดเอาไว้ (นั่นคือบริเวณนิวเคลียสอะตอม)

แบบจำลองรัทเทอร์ฟอร์ดยังไม่ได้สร้างทิศทางใหม่ในการอธิบายโครงสร้างอิเล็กตรอนของอะตอม เขาแทบไม่ได้พูดถึงแบบจำลองอะตอมก่อนหน้านี้ที่บอกถึงอิเล็กตรอนวิ่งวนรอบนิวเคลียสในลักษณะเหมือนดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ หรือวงแหวนรอบดาวเคราะห์ (เช่นดาวเสาร์) ความสนใจหลักของรัทเทอร์ฟอร์ดมุ่งไปที่มวลส่วนใหญ่ของอะตอมซึ่งอยู่ในแกนกลางที่เล็กมาก ๆ ทำให้มองเห็นภาพแบบจำลองแบบดาวเคราะห์ได้ชัดเจนกว่าที่เคยเป็นมา เช่น แกนกลางเป็นพื้นที่บรรจุมวลส่วนใหญ่ของอะตอม ในลักษณะเดียวกับที่ดวงอาทิตย์เป็นมวลส่วนใหญ่ของระบบสุริยะ ในภายหลังแบบจำลองรัทเทอร์ฟอร์ดได้รับการปรับแก้ให้ถูกต้องยิ่งขึ้นโดยนีลส์ บอร์

อ้างอิง[แก้]

  1. Akhlesh Lakhtakia (Ed.) (1996). "Models and Modelers of Hydrogen". World Scientific. ISBN 981-02-2302-1. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]