อาร์ชดยุกลูทวิช วิคทอร์แห่งออสเตรีย
อาร์ชดยุกลูทวิช วิคทอร์แห่งออสเตรีย (อังกฤษ: Archduke Ludwig Viktor of Austria, เยอรมัน: Erzherzog Ludwig Viktor von Österreich, พระนามเต็ม: ลูทวิช วิคทอร์ โยเซ็ฟ อันโทน, Ludwig Viktor Joseph Anton von Habsburg-Lorraine) ทรงเป็นอาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย และเจ้าชายแห่งฮังการี และนอกจากนี้ยังเป็นพระอนุชาในจักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 แห่งออสเตรียอีกด้วย
พระราชประวัติ
[แก้]อาร์ชดยุกลูทวิช วิคทอร์ ประสูติเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2385 ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เป็นพระโอรสองค์สุดท้องในอาร์ชดยุกฟรันทซ์ คาร์ลแห่งออสเตรีย และพระชายาเจ้าหญิงโซฟีแห่งบาวาเรีย เมื่อพระองค์ทรงพระเยาว์ สมเด็จพระจักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟ พระเชษฐาทรงขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย ซึ่งตอนนั้น พระองค์มีพระชันษาเพียง 6 ชันษา ระหว่างการปฏิวัติเสรีนิยมในฮังการี พ.ศ. 2391 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปยังสถานที่ที่พระราชวงศ์อิมพีเรียลทรงอพยพชั่วคราวไปอยู่ในเมืองอินส์บรูค พระองค์ทรงปลดปล่อยนักโทษที่ก้อกบฏในการปฏิวัติ ทั้งๆที่ทรงพระเยาว์ เมื่อทรงเจริญพระเยาว์ ก็ทรงเข้าประจำการทหาร โดยพระองค์ทรงเป็นหัวหน้าหน่วยประจำการรบ และนอกจากนี้ อาร์ชดยุกมักซีมีเลียน พระเชษฐา ที่ได้ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งเม็กซิโก ได้ทรงวางแผนไว่ว่า จะให้พระองค์เป็นองค์รัชทายาทสืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระเชษฐาธิราช แต่พระองค์ทรงปฏิเสธ อีกทั้งยังให้พระเชษฐาทรงช่วยในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลป์ลูทวิช วิคเทอร์ (Ludwig Viktor Art Collection) ซึ่งพระองค์ทรงมีความสนพระทัยในด้านศิลปะเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งสมเด็จพระเชษฐาทรงยอมช่วยเหลือ อีกทั้งยังมีพระบรมราชโองการให้สถาปนิกเฮนรี่ เฟอร์สเทล ออกแบบก่อสร้างพระราชวังให้พระองค์อีกด้วย โดยพระองค์พระราชทานนามพระราชวังส่วนพระองค์นี้ว่า พระราชวังเคลสเฮ็ม ซึ่งปัจจุบัน ตั้งอยู่ในเมืองซาร์สบูร์ก ประเทศออสเตรีย
ความรักร่วมเพศ
[แก้]ตอนแรกนั้น อาร์ชดัชเชสโซฟี พระมารดาทรงจัดหาเจ้าสาวของพระองค์ เพื่อในการอภิเษกสมรสให้ คือดัชเชสโซฟี ชาร์ลอตแห่งบาวาเรีย ซึ่งเป็นพระภาติกาในอาร์ชดัชเชสโซฟี และเป็นพระธิดาในเจ้าหญิงลูโดวิก้า และดยุกมักซีมีเลียน โยเซ็ฟแห่งบาวาเรีย แต่พระองค์ทรงปฏิเสธที่จะอภิเษกสมรสกับใครทั้งนั้น โดยพระองค์ทรงประกาศว่าจะไม่ทรงอภิเษกสมรสตลอดพระชนม์ชีพ และนอกจากนี้ ได้ทรงได้เปิดเผยว่า พระองค์ได้ทรงมีความสัมพันธ์ฉันคู่รักกับข้าราชบริพารในสำนักพระราชวังคนหนึ่ง ทำให้พระมารดาทรงกริ้วเป็นอย่างมาก ทำให้พระบรมวงศานุวงศ์ส่วนใหญ่ไม่ชอบพระองค์ และกลั่นแกล้ง ดูถูกพระองค์ต่างๆนาๆ สมเด็จพระจักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟ พระเชษฐาทรงเข้าช่วยเหลือพระองค์ โดยทรงแนะนำให้พระองค์ย้ายที่ประทับไปอยู่ในพระราชวังเคลสเฮ็ม ซึ่งเป็นพระราชฐานส่วนพระองค์ ที่สมเด็จพระจักรพรรดิมัคซีมีลีอาน พระเชษฐามีพระบรมราชโองการสร้างขึ้นให้ พระองค์จึงทรงประทับอยู่ที่นั่นจวบจนสิ้นพระชนม์
ช่วงสุดท้ายของพระชนม์ชีพ
[แก้]ในช่วงที่พระองค์ทรงประทับอยู่ในเมืองซาร์สบูร์กนั้น สมเด็จพระจักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟ พระเชษฐา มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งพระองค์เป็นนายกสภากาชาติแห่งออสเตรีย ซึ่งทรงคอยควบคุม ดูแลสภากาชาติ โดยพระองค์ทรงทำหน้าที่รักษาผู้เจ็บป่วย หรือทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากสมรภูมิโซลเฟริโน่ พระองค์จึงทรงเป็นบุคคลสำคัญของประชาชนในเวลาต่อมา เมื่อปีพ.ศ. 2444 มีการนำพระนามไปตั้งชื่อสะพานในเมืองซาร์สบูร์ก เพื่อถวายพระเกียรติยศสูงสุด และนอกจากนี้ยังมีการนำชื่อของพระองค์ไปตั้งที่ศูนย์การค้าในเมืองซาร์สบูร์กอีกด้วย (Erzherzog Ludwig Viktor Square)
อาร์ชดยุกลูทวิช วิคทอร์ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2462 สิริพระชันษาได้ 76 ชันษา พระศพของพระองค์ไม่ได้ถูกฝังไว้ที่วิหารฮาพส์บวร์ค รวมกับพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นๆ พระศพของพระองค์ถูกฝังไว้ที่พระราชฐานส่วนพระองค์ที่พระราชวังเคลสเฮ็ม
ราชตระกูล
[แก้]อาร์ชดยุกลูทวิช วิคทอร์แห่งออสเตรีย | พระชนก: อาร์คดยุคฟรานซ์ คาร์ลแห่งออสเตรีย |
พระอัยกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: เจ้าหญิงมาเรีย หลุยซ่าแห่งสเปน | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก: เจ้าหญิงมาเรีย เทเรซ่าแห่งทู ซิชิลีส์ |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งทู ซิชิลีส์ | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: อาร์คดัชเชสมารี แคโรไลน์แห่งออสเตรีย | |||
พระชนนี: เจ้าหญิงโซฟีแห่งบาวาเรีย |
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี: สมเด็จพระราชาธิบดีแม็กซีมีเลียนที่ 1 โจเซฟแห่งบาวาเรีย |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: ท่านเค้านท์เฟรเดอริก ไมเคิลแห่งซไวน์บรืคเคน-เบอร์เก็นเฟลด์ | |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: เค้านท์เตสมารี ฟรานซิสก้าแห่งซาล์สแบช | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี: เจ้าหญิงแคโรไลน์แห่งบาเดน |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: มาร์เกรฟคาร์ล ลุดวิกแห่งบาเดน | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: แลนด์กราวีนอามีลี่แห่งเฮสส์-ดาร์มสตัดท์ |
อ้างอิง
[แก้]- Kastl, Robert. Gay and Lesbian Life in Vienna
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Lieselotte von Eltz-Hoffmann: Ludwig Viktor (1842-1919) : Ein Gönner Salzburgs bei Archive.org
- Palais Erzherzog Ludwig Viktor เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน