อายัมเจอมานี
อายัมเจอมานี (อินโดนีเซีย: ayam cemani) เป็นสายพันธุ์ไก่หายากจากประเทศอินโดนีเซีย ไก่พันธุ์นี้มียีนเด่นยีนหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะสร้างสีมากเกิน (หรือ ฟิโบรเมลาโนสิส; fibromelanosis) ทำให้ไก่แทบทั้งตัวเป็นสีดำ ตั้งแต่ขน จะงอยปาก ไปจนถึงอวัยวะภายใน ไก่เจอมานีเป็นที่นิยมมากสำหรับการชนไก่ในบาหลีเนื่องมาจากปริมาณกล้ามเนื้อน่องที่มีมากกว่าไก่พันธุ์อื่นทำให้ไก่พันธุ์นี้มีความไวกว่า[1]
ชื่อของไก่พันธุ์นี้มาจากภาษาอินโดนีเซีย ayam แปลว่า "ไก่" และ cemani ซึ่งมีที่มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า "ดำปลอด" หรือ "ดำถึงกระดูก"[2]
ไก่พันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์อินโดนีเซียโดยบริสุทธิ์ และมีที่มาจากเกาะชวา เข้าใจว่ามีการผสมพันธุ์ไก่สายพันธุ์นี้มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 เพื่อนำมาใช้ในทางไสยศาสตร์[3] รวมถึงมีการบรรยายถึงไก่ดำเหล่านี้โดยเจ้าอาณานิคมชาวดัตช์[4]
ราคาจำหน่ายของไก่อยู่ที่ขั้นต่ำ 45 ดอลลาร์สหรัฐ และสามารถพุ่งสูงถึง 500 สำหรับไก่โตเต็มวัย และอาจสูงได้ถีง 2,500 ในบางตัวที่พิเศษ มาตรฐานขั้นสุดยอดของไก่พันธุ์นี้คือมีจะงอยปาก ลิ้น หงอน และเหนียงที่เป็นสีดำ ส่วนเนื้อและอวัยวะภายในอาจมีสีดำถึงเทา ในขณะที่กระดูกนั้นไม่ได้มีสีดำตามที่มักเป็นที่เข้าใจกัน ภาวะสีดำนี้เกิดจากการแสดงออกทางพันธุกรรมที่เรียกว่าภาวะฟิโบรเมลาโนสิส[5] ภาวะเดียวกันนี้ยังสามารถพบได้ในไก่สายพันธุ์อื่นที่มีสีดำหรือน้ำเงิน เช่น พันธุ์ซิลกี[6][7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lukasiewicz, Monika (23 August 2014). "Meat quality and the histological structure of breast and leg muscles in Ayam Cemani chickens, Ayam Cemani × Sussex hybrids and slow‐growing Hubbard JA 957 chickens". Journal of the Science of Food and Agriculture. 95 (8): 1730–1735. doi:10.1002/jsfa.6883. PMID 25155871 – โดยทาง SCI.
- ↑ "Arti kata cemani - Kamus Besar Bahasa Indonesia (KBBI) Online". kbbi.web.id. สืบค้นเมื่อ 2020-07-08.
- ↑ Solly, Meilan (September 19, 2019), These Chickens Have Jet Black Hearts, Beaks and Bones, สืบค้นเมื่อ May 18, 2020
- ↑ Lukanov, H.; Genchev, A. (September 2013). "Fibromelanosis in domestic chickens" (PDF). Agricultural Sciences and Technology. 5 (3): 239–246.
- ↑ Shinomiya, Ai; Kayashima, Yasunari; Kinoshita, Keiji; Mizutani, Makoto; Namikawa, Takao; Matsuda, Yoichi; Akiyama, Toyoko (February 2012). "Gene Duplication of endothelin 3 Is Closely Correlated with the Hyperpigmentation of the Internal Organs (Fibromelanosis) in Silky Chickens". Genetics. 190 (2): 627–638. doi:10.1534/genetics.111.136705. PMC 3276631. PMID 22135351.
- ↑ Dorshorst, Ben; Molin, Anna-Maja; Rubin, Carl-Johan; Johansson, Anna M.; Strömstedt, Lina; Pham, Manh-Hung; Chen, Chih-Feng; Hallböök, Finn; Ashwell, Chris; Andersson, Leif (December 2011). "A Complex Genomic Rearrangement Involving the Endothelin 3 Locus Causes Dermal Hyperpigmentation in the Chicken". PLOS Genetics. 7 (12): e1002412. doi:10.1371/journal.pgen.1002412. PMC 3245302. PMID 22216010.
- ↑ Arora, G.; Mishra, S. K.; Nautiyal, B.; Pratap, S. O.; Gupta, A.; Beura, C. K.; Singh, D. P. (2011). "Genetics of hyperpigmentation associated with the Fibromelanosis gene (Fm) and analysis of growth and meat quality traits in crosses of native Indian Kadaknath chickens and non-indigenous breeds". British Poultry Science. 52 (6): 675–685. doi:10.1080/00071668.2011.635637. PMID 22221233. S2CID 25423912.