อัสซะลามุอะลัยกุม
อัสซะลามุอะลัยกุม (อาหรับ: ٱلسَّلَامُ عَلَيْكُمْ, ออกเสียง: [asːa.laː.mu ʕa.laj.kum]) เป็นคำทักทายภาษาอาหรับที่แปลว่า "ขอให้ความสันติสุขจงมีแด่ท่าน" คำว่า ซะลาม เป็นคำทักทายทางศาสนาในหมู่มุสลิม[1] และกลุ่มชนอื่นที่พูดภาษาอาหรับ เช่น อาหรับคริสเตียน[2] และมุสลิมโดยทั่วไป ในภาษาปากมักพูดแค่ส่วนแรกเท่านั้น (ซะลาม, "สันติ") คำตอบรับของคำทักทายคือวะอะลัยกุมุสซะลาม (وَعَلَيْكُمُ ٱلسَّلَامُ, [wa.ʕa.laj.ku.mu‿sːa.laː.mu]) "และขอให้ความสันติสุขจงมีแด่ท่านเช่นกัน" ประโยคสมบูรณ์ของคำทักทายนี้คือ อัสซะลามุอะลัยกุม วะเราะห์มะตุลลอฮิ วะบะเราะกาตุฮู (ٱلسَّلَامُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ ٱللَّٰهِ وَبَرَكَاتُهُ, [asːa.laː.mu ʕa.laj.kum wa.raħ.ma.tu‿ɫ.ɫaː.hi wa.ba.ra.kaː.tu.huː]) "ขอความสันติสุข ความเมตตา และความเป็นสิริมงคลจากพระองค์อัลลอฮ์จงมีแด่ท่าน"
รูปแบบไวยากรณ์
[แก้]คำทักทายส่วนใหญ่มักใช้รูปสรรพนามบุรุษที่สองพหูพจน์ชาย โดยสามารถเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ได้ เพื่อกล่าวถึงบุคคลที่เป็นรูปเอกพจน์ชายหรือหญิง รูปทวิพจน์ หรือรูปพหูพจน์หญิง ตามตัวอย่างด้านล่างนี้ (หมายเหตุ: ตามรูปแบบกฎการออกเสียงมาตรฐานของภาษาอาหรับคลาสสิก สระสุดท้ายมักไม่ออกเสียง):
เพศ | คำทักทาย | คำตอบรับ |
---|---|---|
เอกพจน์ ชาย |
ٱلسَّلَامُ عَلَيْكَ | وَعَلَيْكَ ٱلسَّلَامُ |
[as.sa.laː.mu ʕa.laj.ka] | [wa.ʕa.laj.ka‿s.sa.laː.mu] | |
อัสซะลามุอะลัยกะ | วะอะลัยกัสซะลามุ | |
เอกพจน์ หญิง |
ٱلسَّلَامُ عَلَيْكِ | وَعَلَيْكِ ٱلسَّلَامُ |
[as.sa.laː.mu ʕa.laj.ki] | [wa.ʕa.laj.ki‿s.sa.laː.mu] | |
อัสซะลามุอะลัยกิ | วะอะลัยกิสซะลามุ | |
ทวิพจน์ ทุกเพศ |
ٱلسَّلَامُ عَلَيْكُمَا | وَعَلَيْكُمَا ٱلسَّلَامُ |
[as.sa.laː.mu ʕa.laj.ku.maː] | [wa.ʕa.laj.ku.maː‿s.sa.laː.mu] | |
อัสซะลามุอะลัยกุมา | วะอะลัยกุมาสซะลามุ | |
พหูพจน์ ชาย |
ٱلسَّلَامُ عَلَيْكُمْ | وَعَلَيْكُمُ ٱلسَّلَامُ |
[as.sa.laː.mu ʕa.laj.kum] | [wa.ʕa.laj.ku.mu‿s.sa.laː.mu] | |
อัสซะลามุอะลัยกุม | วะอะลัยกุมุสซะลามุ | |
พหูพจน์ หญิง |
ٱلسَّلَامُ عَلَيْكُنَّ | وَعَلَيْكُنَّ ٱلسَّلَامُ |
[as.sa.laː.mu ʕa.laj.kun.na] | [wa.ʕa.laj.kun.na‿s.sa.laː.mu] | |
อัสซะลามุอะลัยกุนนะ | วะอะลัยกุนนัสซะลามุ |
ในศาสนาอิสลาม
[แก้]ในฮะดีษมีการกล่าวถึงวิธีการซะลามหลายแบบ จากรายงานของอะบูฮุร็อยเราะฮ์ว่า "เมื่อผู้ใดไปถึงยังที่ชุมนุม ก็จงให้'ซะลาม' และเมื่อต้องการจะปลีกตัวออกมาก็จงให้ 'ซะลาม' เช่นกัน เพราะใช่ว่าการให้ 'ซะลาม' ครั้งแรกนั้นจะมีความพิเศษ (ควรกระทำ) มากกว่าการให้ 'ซะลาม' ครั้งหลัง" (ฮะดีษฮะซันที่บันทึกในญาเมียะอ์ อัตติรมีซี)[3]
- รายงานจากฮะดีษบางส่วน ศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า "ผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะควรให้ซะลามแก่ผู้ที่เดิน ผู้ที่เดิน (ควรให้ซะลาม) แก่ผู้ที่นั่ง และกลุ่มคนที่น้อยกว่า (ควรให้ซะลาม) แก่กลุ่มคนที่มากกว่า" (เศาะฮีฮ์ อัลบุคอรี, 6234; มุสลิม, 2160)[4]
นอกจากฮะดีษแล้ว ยังมีวิธีการซะลามในอัลกุรอานด้วย โดยแนะนำให้ซะลามก่อนเข้าบ้าน จากโองการที่ว่า: "...เมื่อพวกเจ้าเข้าไปในบ้านก็จงกล่าวซะลามให้แก่ตัวของพวกเจ้าเอง เป็นการคำนับอันจำเริญยิ่งจากอัลลอฮ์ เช่นนั้นแหละ อัลลอฮ์ทรงชี้แจงโองการทั้งหลายให้เป็นที่ชัดแจ้งแก่พวกเจ้าเพื่อพวกเจ้าจะได้ใช้สติปัญญาพิจารณา" (อันนูร 24:61).[5]
ประโยคนี้ปรากฏในอัลกุรอาน 7 ครั้ง แต่ละครั้งจะเป็นรูป ซะลามุนอะลัยกุม (อาหรับ: سَلَامٌ عَلَيْكُمْ) ในภาษาอาหรับคลาสสิกมักเขียนในเอกสารตัวเขียนอัลกุรอานและฮะดีษช่วงต้นเป็น ٱلسَّلَٰمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَتُ ٱللَّٰهِ وَبَرَكَٰتُهُ ในแบบร็อสม์มักเขียนเป็น السلم علىکم ورحمٮ الله وٮرکٮه
وَإِذَا جَآءَكَ ٱلَّذِينَ يُؤْمِنُونَ بِآيَاتِنَا فَقُلْ سَلَامٌ عَلَيْكُمْ ۖ كَتَبَ رَبُّكُمْ عَلَىٰ نَفْسِهِ ٱلرَّحْمَةَ ۖ أَنَّهُۥ مَنْ عَمِلَ مِنكُمْ سُوٓءًۢا بِجَهَالَةٍۢ ثُمَّ تَابَ مِنۢ بَعْدِهِۦ وَأَصْلَحَ فَأَنَّهُۥ غَفُورٌۭ رَّحِيمٌۭ
“และเมื่อบรรดาผู้ศรัทธาต่อบรรดาโองการของเราได้มาหาเจ้า (มุฮัมมัด) ก็จงกล่าวเถิดว่า ‘ขอความปลอดภัยจงมีแด่พวกท่านเถิด! พระเจ้าของพวกเจ้าได้กำหนดการเอ็นดูเมตตาไว้บนตัวของพระองค์ว่า ผู้ใดในหมู่พวกเจ้ากระทำความชั่วโดยไม่รู้แล้วเขาสำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัวหลังจากนั้น และปรับปรุงแก้ไขแล้ว แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเอ็นดูเมตตา”
- ซูเราะฮ์อัลอะอ์รอฟ (7) อายะฮ์ 46:
وَبَيْنَهُمَا حِجَابٌۭ ۚ وَعَلَى ٱلْأَعْرَافِ رِجَالٌۭ يَعْرِفُونَ كُلًّۢا بِسِيمَاهُمْ ۚ وَنَادَوْا۟ أَصْحَابَ ٱلْجَنَّةِ أَن سَلَامٌ عَلَيْكُمْ ۚ لَمْ يَدْخُلُوهَا وَهُمْ يَطْمَعُونَ
“และระหว่างพวกเขานั้นมีกำแพงกั้น และบนส่วนสูงของกำแพงนั้นมีบรรดาชายกลุ่มหนึ่ง ซึ่งพวกเขารู้จัก (พวกนั้น) ทั้งหมด ด้วยเครื่องหมาย ของพวกเขา (ชาวสวรรค์) และพวกเขาได้เรียกชาวสวรรค์ (โดยกล่าวว่า) ‘ขอความปลอดภัยจงมีแด่พวกท่านเถิด!’ โดยที่พวกเขา ยังมิได้เข้าสวนสวรรค์ ทั้ง ๆ ที่พวกเขาก็ปรารถนาอย่างแรงกล้า”
- ซูเราะฮ์อัรเราะอด์ (13) อายะฮ์ 24:
سَلَامٌ عَلَيْكُم بِمَا صَبَرْتُمْ ۚ فَنِعْمَ عُقْبَى ٱلدَّارِ
“(พร้อมกับกล่าวว่า) ‘ความศานติจงมีแต่พวกท่าน เนื่องด้วยพวกท่านได้อดทน’ มันช่างดีเสียนี่กระไรที่พำนักบั้นปลายนี้!”
- ซูเราะฮ์อันนะหล์ (16) อายะฮ์ 32:
ٱلَّذِينَ تَتَوَفَّاهُمُ ٱلْمَلَائِكَةُ طَيِّبِينَ ۙ يَقُولُونَ سَلَامٌ عَلَيْكُمُ ٱدْخُلُوا۟ ٱلْجَنَّةَ بِمَا كُنتُمْ تَعْمَلُونَ
“บรรดาผู้ที่มะลาอิกะฮ์เอาชีวิตของพวกเขาโดยที่พวกเขาเป็นคนดี พลางกล่าวว่า ‘ศานติจงมีแด่พวกเจ้า! จงเข้าไปในสวนสวรรค์เนื่องจากสิ่งที่พวกเจ้าได้กระทำไว้’”
- ซูเราะฮ์มัรยัม (19) อายะฮ์ 47:
قَالَ سَلَامٌ عَلَيْكَ ۖ سَأَسْتَغْفِرُ لَكَ رَبِّي ۖ إِنَّهُۥ كَانَ بِي حَفِيًّۭا
“เขา (อิบรอฮีม) กล่าวว่า ‘ขอความศานติจงมีแด่ท่าน! ฉันจะขออภัยโทษจากพระเจ้าของฉันให้แก่ท่าน แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงเมตตากรุณาแก่ฉันมาก’”
- ซูเราะฮ์อัลเกาะศ็อศ (28) อายะฮ์ 55:
وَإِذَا سَمِعُوا۟ ٱللَّغْوَ أَعْرَضُوا۟ عَنْهُ وَقَالُوا۟ لَنَا أَعْمَالُنَا وَلَكُمْ أَعْمَالُكُمْ سَلَامٌ عَلَيْكُمْ لَا نَبْتَغِي ٱلْجَاهِلِينَ
“และเมื่อพวกเขาได้ยินเรื่องไร้สาระ พวกเขาก็ผินหลังออกห่างไปจากมัน และกล่าวว่า ‘การงานของเราก็จะได้แก่เรา และการงานของพวกท่านก็จะได้แก่พวกท่าน ศานติแด่พวกท่าน เราจะไม่ขอร่วมกับพวกงมงาย’”
- ซูเราะฮ์อัซซุมัร (39) อายะฮ์ 73:
وَسِيقَ ٱلَّذِينَ ٱتَّقَوْا۟ رَبَّهُمْ إِلَى ٱلْجَنَّةِ زُمَرًا ۖ حَتَّىٰ إِذَا جَآءُوهَا وَفُتِحَتْ أَبْوَابُهَا وَقَالَ لَهُمْ خَزَنَتُهَا سَلَامٌ عَلَيْكُمْ طِبْتُمْ فَٱدْخُلُوهَا خَالِدِينَ
“และบรรดาผู้ยำเกรงพระเจ้าของพวกเขาจะถูกนำสู่สวนสวรรค์เป็นกลุ่ม ๆ จนกระทั่งเมื่อพวกเขามาถึงมัน และ ประตูทั้งหลายของมันจะถูกเปิดออก ยามเฝ้าประตูสวรรค์จะกล่าวแก่พวกเขาว่า ‘ความศานติจงมีแด่พวกท่าน! พวกท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ ดังนั้น จงเข้าไปในสวรรค์เป็นผู้พำนักอยู่ตลอดกาล’”
รูปแบบอื่น ได้แก่ ซะลามุนอะลา (سَلَامٌ عَلَىٰ) หรือคำว่า ซะลาม (سَلَام) ก็มีการกล่าวถึงในอายะฮ์อื่น ๆ ของอัลกุรอานด้วย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Sayings of the Messenger (s.a.w) - Sahih Al-Bukhari- www.Ahadith.net". www.ahadith.net. สืบค้นเมื่อ 2019-03-25.
- ↑ ""As-Salaamu-Alaikum" and "Wa-Alaikum-as-Salaam"". Ccnmtl.columbia.edu. สืบค้นเมื่อ 2013-07-27.
- ↑ Sheikh Muhammad Salih Al-Munajjid. "Is it mustahabb for one who gets up to leave a gathering to say salaam to those who are still sitting?". IslamQA.info.
- ↑ "As Salaamu Alaikom?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-20.แม่แบบ:Reliable source
- ↑ "Surat An-Nur [24:61] - The Noble Qur'an - القرآن الكريم". Quran.com. สืบค้นเมื่อ 2013-07-27.